วันสตรีสากล “แรงงานหญิง” ขอเพิ่มสิทธิลาคลอด-วันลาเมื่อมีประจำเดือน

08 มี.ค. 2567 | 05:30 น.

วันสตรีสากล 2567 กลุ่มแรงงานหญิง ยื่นหนังสือขอเพิ่มวันลาคลอด เพิ่มสิทธิลาเมื่อมีประจำเดือน อุดหนุนงบแจกผ้าอนามัยฟรี ยกเลิกกฎหมายเลือกปฏิบัติ

วันที่ 8 มีนาคม 2567 กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง พร้อมเครือข่ายสตรี นัดรวมตัวยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องในวันสตรีสากล 2567 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องคุ้มครองไม่ให้ผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลหลากหลายทางเพศ ถูกกระทำรุนแรงหรือปฏิบัติไม่เป็นธรรม 6 ข้อ ประกอบไปด้วย

1.ให้รัฐบาลต้องรับประกันสิทธิลาคลอด 180 วัน โดยได้รับค่าจ้างตลอดการลา และจัดวันหยุดให้คู่ชีวิตทุกเพศลาเพื่อเลี้ยงลูกได้อย่างน้อย 30 วัน รวมถึงจัดให้มีสวัสดิการแม่และเด็กอย่างเหมาะสมถ้วนหน้า

2. รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องทำหน้าที่เป็น "หลักประกัน" สิทธิแรงงานของแรงงานหญิงและแรงงาน ทุกเพศ ด้วยการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

 

“กลุ่มแรงงานหญิง” ยื่นหนังสือเรียกร้อง เนื่องในวันสตรีสากล 2567
 

3. ยกเลิกนโยบาย กฎหมาย ธรรมเนียม ที่เลือกปฏิบัติต่อสตรีและผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น การตรวจครรภ์ก่อนเข้าทำงาน, การตีตราผู้ต้องการยุติการตั้งครรภ์เป็นคนบาปหรืออาชญากร, การตีตราผู้ขายบริการทางเพศ 

5. รัฐบาลและนายจ้างต้องเพิ่มสิทธิลาเมื่อมีประจำเดือน อย่างน้อยเดือนละ 2 วัน และเพิ่มวันลารับบริการอนามัยเจริญพันธุ์ทุกประเภท เช่น การยุติการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การตรวจครรภ์การฝากครรภ์ และการข้ามเพศ

6. รัฐบาลและนายจ้างต้องอุดหนุนงบประมาณการแจกจ่ายผ้าอนามัยฟรี ขยายบริการยุติการตั้ง ครรภ์ที่ปลอดภัยและบริการอนามัยเจริญพันธุ์อื่นๆ และจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะที่ถูก สุขลักษณะสำหรับแรงงานสตรี และแรงงานทุกเพศที่ทำงานบนท้องถนน 
 
 

ทั้งนี้เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้การยุติความรุนแรงทางเพศ เพศสภาพ เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายตามกับที่ขายตามหลักสิทธิพื้นฐานมนุษยชน

น.ส.ติมาพร เจริญสุข ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานสตรี ระบุว่าก่อนหน้านี้พ.ร.บ.เรื่องลาคลอดถูกบรรจุเข้าไปในสภาแล้ว ให้กลุ่มแรงงานมีหวัง ซึ่งไม่หวังที่จะได้วันหยุดถึง 180 วัน แต่ขอให้เป็นจุดเริ่มต้น ที่ไม่ใช่แค่ 98 วัน เพราะไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตร

“กลุ่มแรงงานหญิง” ยื่นหนังสือเรียกร้อง เนื่องในวันสตรีสากล 2567

น.ส.ชนฐิตา ไกรศรีกุล ตัวแทนกลุ่มฯ เปิดเผยว่า ได้ตระหนักในเรื่องของคำจำกัดความที่กว้างขึ้น ของคำว่าวันสตรี วันนี้จึงรวมถึงข้อเรียกร้อง ของทั้งกลุ่มสตรีและของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไว้ด้วยกัน 

" ยอมรับว่ารู้สึกผิดหวัง ที่ถูกกันไว้ไม่ให้เข้าใกล้ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากมีการ ประสานงานมาอย่างถูกต้อง ซึ่งที่จริงแล้ว ข้อเรียกร้องในวันนี้เป็นสิทธิ์ที่กลุ่มแรงงานสตรีควรจะได้ แต่ท่าทีการรับมือของเจ้าหน้าที่ เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น "