นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ Frontier Markets กล่าวว่า บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช ได้ร่วมลงนาม กรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ "Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma" โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งยังพัฒนาความร่วมมือในการนำ "นวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล" และ "นวัตกรรมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV" เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อไวรัส RSV ระดับรุนแรงในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในช่วง 2 ขวบปีแรกอีกด้วย เพราะการติดเชื้อไวรัส RSV และโรคหืดเป็นโรคมีความรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
กรอบความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่แนวทางการรักษา การปฏิบัติตัว การป้องกันโรค พร้อมดูแลอย่างใกล้ซิด ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามารับการปรึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรักษาอย่างแท้จริง และยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการดูแลรักษาแบบองค์รวมโดยสหสาขาวิชาชีพที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยให้การดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงและมีความแม่นยำกับผู้ป่วยแต่ละรายให้มากที่สุด เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างเครือข่ายการส่งต่ออย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ในงานวิจัยและสื่อความรู้ประเภทต่างๆ พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษาแก่ผู้ป่วยทุกช่วงวัยและผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กเล็กด้วย
ด้าน นายแพทย์นพรัตน์ พานทองวิริยะกุล ผู้บริหารโรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า กรอบความร่วมมือสูเครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ "Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma" มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหิดครบวงจรโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นอย่างมาก โดยการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจากไวรัส RSV เป็นสาเหตุหลักในการนอนโรงพยาบาลของเด็กเล็กในช่วงขวบปีแรก เชื้อระบาดหนักในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม หรือช่วงฤดูฝน
สำหรับการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงทารกนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหืดในวัยเด็กได้ โดยความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัส RSV ด้วยเช่นกัน ซึ่งเด็กที่ปลอดการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรกมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกต่ำกว่าเด็กที่เคยติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรก ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาโรค
ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้วางแผนในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกช่วงอายุ ด้วยการบริการและการให้การดูแลแบบครบวงจรผสานกับความเชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยเฉพาะประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก MOU SIGNING CEREMONY ในการรักษา อาทิเช่น โรคหอบหืดรุนแรง โดยการประเมินเฉพาะบุคคลเพื่อการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และการทำงานเป็นทีมให้การดูแลแบบสหสาขาวิชาซีพ (multidisciplinary teamwork ) พร้อมให้การดูแลอย่างครอบคลุม และรักษาอย่างตรงจุด
ศ.พญ.ดร. อรพรรณ โพชนุกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และหอบหืด ประจำศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิแพ้ โรงพยาบาล BNH และนายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคหืดประมาณ 4,000 รายต่อปี ลดลงจาก 5 ปีที่ผ่านมาที่สถิติสูงถึง 6,000 คน สัดส่วนเสียชีวิตจะเป็นผู้สูงอายุมากที่สุด 80% ซึ่งสถิติของผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับที่ไม่สามารถลดลงได้มากกว่านี้แล้ว เพราะมลภาวะทางอากาศเลวร้ายขึ้นทุกวัน แม้จะมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ มาช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นก็ตาม แต่ภาพรวมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ RSV คือ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็ก โดยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปที่นำมาใช้ไม่ใช่วัคซีน แต่ฉีดเพื่อจะเข้ามาช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดการติดเชื้อไวรัส RSV และใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันจะมีอายุการฉีด 30 วัน สามารทำลายเชื้อไวรัสได้ทันที
"โรคหอบหืดหรือโรคหืด เป็นกลุ่มหนึ่งของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ คนที่เป็นบางคนไม่รู้ตัว แต่จะสังเกตได้ว่าจะมีโรคอย่างอื่นปะปนมาด้วยอย่างเช่น แพ้อากาศ ไซนัส กรดไหลย้อน การนอนกรน นอนไม่หลับ ทางเดินหายใจอุดตันฉะนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัส RSV ให้มากที่สุดเพราะจะทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากยิ่งและมีโอกาสเสียชีวิต การรักษาทำได้ด้วยการใช้ยาควบคุมอาการอย่างยาพ่น หรือในอาการรุนแรงจะใช้ยาฉีดและวัคซีนภูมิแพ้ รวมทั้งการส่องกล้องจี้หลอดลมด้วยไฟฟ้า การรักษาคนไข้ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งโรคหอบหืด ภูมิแพ้ เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้"