ช่องว่างของทิศทางการพัฒนา

10 ก.ย. 2559 | 01:00 น.
จากการศึกษาของ Deloitte Southeast Asia ("Deloitte") ร่วมกับ Business Families Institute @ Singapore Management University ที่ได้ทำการสำรวจธุรกิจครอบครัว 83 รายในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2013 จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 6 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสืบทอดกิจการ พบว่า ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเร่งด่วนและต้องการความช่วยเหลือในเรื่องของการพัฒนาครอบครัว โดยธุรกิจครอบครัวที่อยู่ในระยะการพัฒนาของกระบวนการจัดการสืบทอดธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงการฝึกอบรมทายาทรุ่นต่อไป ระบุว่าพวกเขาต้องการการฝึกอบรมและช่วยเหลือเพิ่มเติมในช่วงระยะสั้น (1-2 ปี) ในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาครอบครัว ได้แก่ พลวัตครอบครัว (ความขัดแย้งและการสื่อสาร) 67% ภาวะผู้นำของครอบครัวและการพัฒนาคนเก่งในครอบครัว 65% การกำกับดูแลครอบครัว (ธรรมนูญและสภาครอบครัว) 54% และการช่วยเหลือสังคม (การสร้างกลยุทธ์และความยั่งยืน) 34% (ภาพที่ 1)

[caption id="attachment_95766" align="aligncenter" width="500"] What type of training and support do you require for family-related issues in the short term What type of training and support do you require for family-related issues in the short term[/caption]

ทั้งนี้การพัฒนาคนเก่งในธุรกิจครอบครัวมักเริ่มภายในครอบครัวเจ้าของธุรกิจก่อน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพ่อแม่และครอบครัวขยาย การให้คำปรึกษาที่จำเป็นและการเข้าร่วม ทั้งนี้สามารถเสริมด้วยการฝึกอบรมและการช่วยเหลือจากภายนอก นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับว่าธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ยังมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในเรื่องของมุมมองระยะยาวเกี่ยวกับครอบครัวและการทำธุรกิจ เช่น จำเป็นต้องสร้างทักษะในการสื่อสารที่ดีภายในครอบครัวเจ้าของธุรกิจเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง และการพัฒนาโครงสร้างการกำกับดูแลครอบครัวและกลยุทธ์ยังอาจช่วยในการจัดการปัญหาความขัดแย้งได้

นอกจากนี้การส่งเสริมทักษะในเรื่องของภาวะผู้นำครอบครัวและการพัฒนาคนเก่งในครอบครัวจะสามารถช่วยในเรื่องการสืบทอดกิจการได้ด้วย ในการนี้ธุรกิจครอบครัวบางแห่งยังใช้การช่วยเหลือสังคมเป็นการพัฒนาความสามารถและถนัดในการเป็นผู้นำให้กับทายาทรุ่นต่อไปของพวกเขาด้วย

[caption id="attachment_95767" align="aligncenter" width="700"] คนรุ่นที่ 1 ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและการพัฒนาทรัพย์สินของครอบครัวในระยะสั้น (1-2 ปี) เป็นอันดับแรก คนรุ่นที่ 1 ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและการพัฒนาทรัพย์สินของครอบครัวในระยะสั้น (1-2 ปี) เป็นอันดับแรก[/caption]

จากการสำรวจยังพบว่าคนรุ่นที่ 1 กำลังสนใจการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการดูแลและการพัฒนาทรัพย์สินของครอบครัวอย่างยั่งยืน ขณะที่ทายาทรุ่นหลังกำลังสนใจสนับสนุนการก่อตั้งสำนักงานครอบครัว (family offices) โดยสำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการลงทุนเกี่ยวกับการฝึกอบรมพบว่า 83% ของคนรุ่นที่ 1 ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและการพัฒนาทรัพย์สินของครอบครัวในระยะสั้น (1-2 ปี) เป็นอันดับแรก (ภาพที่ 2) ขณะที่ทายาทรุ่นหลังระบุว่าพวกเขาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในเรื่องความจำเป็นในการฝึกอบรมอย่างเร่งด่วนในเรื่องของ กลยุทธ์ โครงสร้างและการก่อตั้งสำนักงานครอบครัว

ซึ่งจากข้อค้นพบนี้อาจกล่าวได้ว่าคนรุ่นผู้ก่อตั้งมักมุ่งเน้นไปที่การเติบโตในระยะยาวในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ทายาทรุ่นหลังยังกระตือรือร้นที่จะตั้งสำนักงานครอบครัวเพื่อรวมกลุ่มรูปแบบการลงทุนที่ครบถ้วนของครอบครัว (Investment Platform) ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่าทายาทรุ่นหลังให้ความสำคัญกับการก่อตั้งสำนักงานการลงทุนทรัพย์สินของครอบครัวเพื่อจัดการกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายและรวมถึงการลงทุนเพื่อทายาทรุ่นต่อไป ขณะที่การฝึกอบรมระยะกลาง (3-5 ปี) ก็ยังมีความจำเป็นอยู่เช่นกัน โดยสัดส่วนของคนแต่ละรุ่นกระจายเท่าๆกัน เช่นในเรื่องการลงทุนของครอบครัว (การรักษาและการเติบโตเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการฝึกอบรม) ซึ่งเรื่องนี้มักเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันเมื่อธุรกิจครอบครัวจำเป็นต้องรื้อหรือสร้างโครงสร้างใหม่ให้กับครอบครัวและธุรกิจเพื่อรักษาไว้ทั้งการเติบโตและความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ส่วน (ภาพที่ 2)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,190 วันที่ 8 - 10 กันยายน พ.ศ. 2559