สธ. ให้ทุกพื้นที่เข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้ซิกา

05 ก.ย. 2559 | 09:37 น.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ทุกจังหวัดเข้มข้นมาตรการเฝ้ าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้ซิกา เผยขณะนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิ ตจากโรคนี้ และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ลูกน้ำยุงลาย ในรูปแบบประชารัฐ ตามมาตรการ 3 เก็บ 5 ส. ป้องกัน 3 โรค จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2559

นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมทางไกล กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ เพื่อเน้นย้ำมาตรการสำคัญของ 3 โรคที่นำโดยยุงลาย คือ ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาะโรคไข้ซิกา ว่า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ติดเชื้ อไวรัสซิกาหรือโรคไข้ซิกา ตั้งแต่ต้นปี 2559 จนถึงขณะนี้พบผู้ป่ วยประปรายในทุกภาค ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วน 4 จังหวัดที่ต้องดำเนินการควบคุ มโรคอย่างเข้มงวด ได้แก่ เชียงใหม่ จันทบุรี เพชรบูรณ์ และบึงกาฬ ผู้ป่วยหายเป็นปกติ ไม่มีรายงานพบเด็กทารกแรกคลอดศี รษะเล็ก และผู้ป่วยกลุ่ มอาการทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้ องกับเชื้อไวรัสซิกาแต่อย่างใด

ในวันนี้ ได้กำชับให้ทุกจังหวัด โดยเฉพาะ 4 จังหวัดที่พบผู้ป่วยรายใหม่ รวมทั้ง 10 จังหวัดที่เคยพบผู้ป่วย  ให้ดำเนินการเข้ม 3 มาตรการ คือ 1.การป้องกันโรค เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดระดมพลั งประชาชนและทุกหน่วยงานในพื้นที่ ในรูปแบบประชารัฐ ร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุ งลายอย่างต่อเนื่องทุกวันศุกร์ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลายป้องกัน 3 โรค คือไข้เลือดออก โรคไข้ซิกา และโรคชิคุนกุนยา ตามมาตรการ 3 เก็บ 5 ส. อย่างเข้มข้นจนถึงสิ้นเดือนตุ ลาคม 2559 2.การควบคุมโรคในพื้นที่บ้านผู้ ป่วย รัศมี 100 เมตรรอบบ้าน และระดับตำบล โดยพ่นสารเคมีกำจัดยุ งตามมาตรการอย่างเข้มข้น กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุ งลายให้หมดภายใน 5 วัน และติดตามเฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ ป่วยรายใหม่จนครบ 28 วันจึงถือว่าปลอดโรค โดยในจังหวัดที่พบผู้ป่วย ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็ นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อควบคุมกำกับการดำเนิ นงานตามมาตรการของกระทรวงสาธารณ สุขอย่างเคร่งครัด และ3.การเฝ้าระวังโรค เน้นการค้นหาผู้ป่วย 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ผื่น ปวดข้อ ตาแดง กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กทารกแรกคลอดศีรษะเล็กผิ ดปกติ และผู้ป่วยอาการทางระบบประสาท

นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ได้ติดตามสถานการณ์และการดำเนิ นการจากทุกพื้นที่ทั่ วประเทศแบบเรียลไทม์ทุกวัน ในการสื่อสารไปสู่สาธารณชนขอให้ ยึดจากข้อมูลที่มาจากส่ วนกลางเป็นหลักเพื่อไม่ให้ ประชาชนเกิดความสับสน โดยมอบให้รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่สื่ อมวลชนในระดับกรม และรองปลัดกระทรวงสาธารณสุ ขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ในระดับกระทรวง