สสส.หนุนสร้างนวัตกรรมชวนเด็กกินผัก พร้อมให้ทุนโรงเรียนสานงานโภชนาการ

02 ก.ย. 2559 | 02:35 น.
สสส.หนุนทำโครงการ “ยิ่งเท่ ยิ่งน่ารัก เพราะกินโปรตีน ผักและผลไม้” มุ่งส่งเสริมโภชนาการในเด็ก พบหลายโรงเรียนสร้างนวัตกรรมการ เรียนการสอน ช่วยนักเรียนเห็นคุณค่าการกินมา กขึ้น ผู้ทรงคุณาวุฒิแนะผลักดันให้เข้าสู่ระดับนโยบายเพื่อกระจายความรู้ ขณะที่สสส.พร้อมส่งเสริมโรงเรีย นที่ยังขาดโอกาส ให้ทุนนำไปทำงานด้านโภชนาการเด็ ก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพั ฒนา (EDF)  ได้จัดทำโครงการ ยิ่งเท่ ยิ่งน่ารัก เพราะกินโปรตีน ผักและผลไม้ เพื่อสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ เกิดการพัฒนาอาหารกลางวันที่มี คุณภาพแก่นักเรียน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 147 โรงเรียน จาก 10 จังหวัด คือภาคกลางและภาคตะวันตกที่ จ.ปทุมธานี  และประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร ภาคใต้ที่ จ.สงขลา พัทลุง กระบี่ และตรัง

โครงการนี้ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนนำร่องด้านกา รกินโปรตีน ผักและผลไม้ ผ่านการโครงงานและกิจกรรมเดิมขอ งโรงเรียน เช่น โครงการอาหารกลางวัน โครงการส่งเสริมสุขภาพ โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้เน้นกิจกรรมให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่สร้างสรรค์ มีโอกาสและกระบวนการเรียนรู้ที่ เกิดจากการฝึกคิดและปฏิบัติจริง

นางสาวจารุวัฒน์ บุษมาลี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพั ฒนา (EDF) กล่าวว่า โครงการ “ยิ่งเท่ ยิ่งน่ารัก เพราะกินโปรตีน ผัก และผลไม้” จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนเ ติบโตอย่างมีโภชนาการสมวัย และช่วยให้นักเรียนได้รู้จักพืช ผักและเมนูอาหารท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรมชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมาการ กินโปรตีน ผัก และผลไม้เพิ่มมากขึ้นในมื้อกลางวัน

ผลการดำเนินโครงการกว่า 15 เดือน พบว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการตื่น ตัว มีการบูรณาการความรู้เพื่อให้เด็ กคิด และทดลองทำโครงงานด้วยตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องโภชนาการและปร ะโยชน์ของการกินผักผลไม้ โรงเรียนหลายแห่งเกิดนวัตกรรมกา รเรียนการสอนเพื่อชักจูงให้เด็ กหันมากินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้การเล่านิทาน เพลง ละคร, จัดประกวดเมนูที่เอาผักผลไม้มาป รุงอาหาร, การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกา รเรียนรู้ โดยทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ การทำสวนหย่อมโดยปลูกผักผลไม้แท นไม้ดอกไม้ประดับ, มีการจัดทำปฏิทินการกินผักและผล ไม้ จนเกิดโรงเรียนต้นแบบด้านร้านค้า สหกรณ์สีเขียว เป็นต้น

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กล่าวว่า การแก้ไขโภชนาการในเด็กปัจจุบัน ควรมุ่งแก้ไขที่พฤติกรรมการกินม ากกว่าที่จะทำให้เด็กอ้วนน้อยลง แต่ควรนำโมเดลที่หลายหน่วยงานทำ แล้วประสบความสำเร็จ มาหาจุดร่วมที่ตรงกัน เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่านี่คือโมเ ดลที่ดีที่สุด จากนั้นก็ผลักดันเข้าสู่นโยบายร ะดับประเทศ เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายยอมรับ และอนุมัติงบประมาณไปยังท้องถิ่ น เพื่อโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้ รับโอกาสที่เท่าเทียม

“สำหรับโครงกายิ่งเท่ยิ่งน่ารัก ฯ ได้ผลดีและตอบโจทย์ได้เพียงส่วน หนึ่ง จึงควรถอดบทเรียน เพื่อนำไปทดลองทำในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป” อาจารย์สง่า กว่า

ขณะที่ รศ.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนสร้าง สรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้ คือกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนเมือง หรือหน่วยงานของภาครัฐเข้าไปไม่ ถึง และขาดทรัพยากรคน ขาดทุนทรัพย์ที่จะนำทำงานด้านกา รส่งเสริมด้านโภชนาการ จึงต้องหารรูปแบบที่เหมาะสม หรือโมเดลที่เข้ากับคนและพื้นที่ต่อไป

ดังนั้นการเปิดรับผู้รับทุน หรือการให้การสนับสนุนในปีต่อไป ของสสส. จึงมุ่งเน้นในกลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้าถึงทุนในการส่งเสริ มโภชนาการ ให้โอกาสคนที่ด้อยโอกาสได้เข้าถึ งความรู้และการสร้างโภชนาการสมวั ย ให้เด็กมีความรู้ทั้งประสบการณ์ ชีวิตและวิชาการ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ผู้บริหารโร งเรียนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มากน้อยเพียงใด

“สิ่งที่ผมเชื่อคือสภาพแวดล้อมข องโรงเรียนสามารถเปลี่ยนพฤติกรร มของนักเรียนได้ โรงเรียนควรทำโครงการ Project based learning หรือ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นฐาน ได้แก่ การเรียนรู้ด้านการลงมือทำและสา มารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง นักเรียนจะสนุกกับการมีโอกาสได้ คิดลงมือทำเอง ถ้าการดำเนินการได้ผลดีก็สามารถ นำไปใช้กับหลักสูตรอื่นๆ ได้ ซึ่งหากทำได้จะทำให้นักเรียนมีความรู้และมีทักษะแห่งความสำเร็จ รู้จักคิดให้รอบคอบ รู้หลักการทำงานร่วมกับผู้อื่น เสมือนในชีวิตจริง” อาจารย์อำนาจ กล่าว