ลูกรักษ์ ประเพณีรับน้องศิลปกรรม มทร.ธัญบุรี รุ่นสู่รุ่น

23 ส.ค. 2559 | 08:24 น.
กว่า 13 ปีประเพณีกิจกรรม “ลูกรักษ์” ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กิจกรรมรูปแบบการรับน้องที่ได้ ผ่านการกลั่นกรองแนวคิดที่ เหมาะสมเพื่อให้เกิ ดความสวยงามและยึดหลักความสมั ครสมานสามัคคีของเหล่าบรรดารุ่ นน้องและรุ่นพี่ รวมถึงอาจารย์ ของทั้ง 12 สาขาวิชาที่สืบทอดกันมารุ่นต่ อรุ่นนับจนถึงปัจจุบัน

“ณัฐ” นายณัฐพล ศรสีดา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา นายกสโมสรนักศึกษาคณะศิ ลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า กิจกรรมการลูกรักษ์เป็นกิ จกรรมที่มีมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นกิจกรรมการรับน้องที่ สร้างสรรค์ ลูกรักษ์ หมายถึงลูกศิษย์อันเป็นที่รั กของครูบาอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ และองค์เทพ ประกอบด้วยกิจกรรม ช่วงเช้าเป็นพิธีมอบตัวเป็นศิ ษย์ของนักศึกษาใหม่ ซึ่งในพิธีนี้อาจารย์จะมอบลูกรั กษ์ให้แก่ลูกศิษย์ ต่อด้วยกิจกรรมการแห่ลูกรักษ์ การเคลื่อนขบวนไปสักการะบูชายั งสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยภายในขบวนประกอบไปด้วยเครื่ องสักการะบูชา พานขนมหวาน พานผลไม้ เมื่อแห่ไปรอบมหาวิทยาลัยแล้ว กลับมายังคณะเพื่อเข้าสู่พิธีสั กการะบูชาพระพุทธรูปประจำคณะฯ และองค์เทพประจำคณะ คือ องค์พ่อพระวิษณุ ทำพิธีถวายเครื่องสังเวย เมื่อเสร็จพิธีถวายเครื่องสั กการบูชา เข้าสู่กิจกรรมการโยนลูกรักษ์ ซึ่งทางสโมสรนักศึกษาได้จัดเตรี ยมคานลูกรักษ์ ซึ่งคานลูกรักษ์ต้องเป็นเสาคาน 4 เสา โดยข้นบนต้องนำตุงมงคลมัดไว้ เข้าสู่การโยนลูกรักษ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อริยา สุอังคะวาทิน คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นคนโยนลูกรักษ์ลูกแรก ต่อด้วยอาจารย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องอธิษฐานและสัญญาก่อนโยนไปยั งคาน ระหว่างนั้นวงดนตรีเล่ นเพลงมหาฤกษ์ มหาชัย โดนมีความเชื่อจากรุ่นพี่ว่าถ้ าโยนไม่ข้ามจะเรียนไม่จบ

ลูกรักษ์ ประเพณีรับน้อ “ภัส” นายฑีฆภัส สนธินุช นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์สโมสรนั กศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า ในการรับน้องของนักศึกษาเพื่ อให้รุ่นน้องเกิดความประทับใจกั บนักศึกษาใหม่ ที่เข้ามาเพื่อหล่อหลอมรวมเป็ นหนึ่งเดียว รู้จักสามัคคี ระหว่างที่ทำกิจกรรมทำให้นักศึ กษาทั้ง 12 สาขาวิชาเกิดความรักและภาคภูมิ ใจในมหาวิทยาลัยฯ การปลูกฝังที่ดีๆ จะทำให้ประเพณีการรับน้องสืบต่ อกันไป เกิดแต่สิ่งที่ดีต่อคณะและมหาวิ ทยาลัยฯ

เฟรชชี่สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ ไทยศึกษา “เดียร์” นายเผดิมพงษ์ ทองอุ่น เล่าว่า ในการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างที่ แห่ลูกรักษ์ ทำให้รู้จักสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในมหาวิทยาลัย ในการโยนลูกรักษ์ถ้าโยนลูกรักษ์ ไม่ข้ามจะเรียนไม่จบ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับ สำหรับตนเองในการโยนลูกรักษ์ คือการรวมตัวของคณะศิ ลปกรรมศาสตร์ที่พร้อมจะช่วยกั นรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ และการสร้างสายใยสัมพันธ์ระหว่ างคณะครูและนักศึกษา ซึ่งรุ่นพี่ยังป้อนขนมหวานให้กั บรุ่นน้อง เป็นความสัมพันธ์ที่ดี ในการเลือกเรียนดนตรีคีตศิลป์ ไทยศึกษา เป็นการรักษาชาติ

เฟรชชี่จากสาขาวิชานาฏศิลป์ ไทยศึกษา “กิ๊ก” นางสาวขนิษฐกานต์ ยินดี เล่าว่า ตื่นเต้นกับการรับน้องของคณะมาก สงสัยว่ากิจกรรมลูกรักษ์คืออะไร เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกดี ได้เข้าพิธีมอบตัวเป็นศิษย์ ได้เจอเพื่อต่างสาขาวิชา ซึ่งส่วนตัวในการโยนลูกรักษ์เป็ นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่ นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ต้องการโยนข้ามคานเป็นความมุ่ งมั่นที่สร้างศิลปะอย่างหนึ่ง เนื่องจากโยนลูกรักษ์ไปยั งคานเกิดเป็นตาข่ายหลากหลายสีเกิดเป็นศิลปะ เป็นการรับน้องใหม่ที่มาก ดีกว่าใช้ความรุนแรง แสดงออกด้วยการเคารพครูอาจารย์

ทางด้าน“ซาน” นางสาววรรณภา ชาดา เฟรชชี่จากสาขาวิชานาฏศิลป์ ไทยศึกษา เล่าว่า ในการรับน้องครั้งนี้เป็นการรั บน้องที่สร้างสรรค์ไม่มีความรุ นแรง และยังเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอั นดีงาม ทำให้รุ่นพี่และรุ่นน้องได้รู้ จักกันมากขึ้น ในการทำกิจกรรมสำนึกถึงความกตั ญญูต่อครูอาจารย์ ในการโยนลูกรักษ์แสดงถึงความมุ่ งมั่นที่จะสานต่อศิลปวัฒนธรรม ให้มีความดีงามและเจริญก้าวหน้ ายิ่งขึ้น

การโยนลูกรักษ์ของตนเองให้ข้ามเสาที่ตั้งไว้จนเกิดเป็ นสายใยถักทอประสานไปมาจาก 1 เส้น เป็น 2,3,4 จนเกิดเป็นโครงสร้างสานใยที่แน่นหนา สวยงามเกิดจากลูกรักษ์ทั้งหมดได้มาประสานเป็นหนึ่งเดียวคือนักศึกษาใหม่คณะศิลปกรรมศาสตร์