‘วันแมป’แก้ที่ทับซ้อน ก.ย.เสร็จพร้อมใช้ สกรีนเข้มก่อนออกโฉนด

21 ก.ค. 2559 | 05:00 น.
“บิ๊กตู่” เล็งใช้ “วันแมป” สะสางปัญหาระวางแนวเขตที่ดินรัฐทับซ้อน ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบรุกที่ป่ากรมที่ดิน-ป่าไม้-อุทยาน-ส.ป.ก. 4 หน่วยหนักสุด “อภินันท์” อธิบดีที่ดินลั่นดีเดย์ก.ย.นี้ แล้วเสร็จ เผยพื้นที่อ่อนไหวรอยต่อระหว่างที่เอกชนกับรัฐหนาวแน่ ด้านรัฐมนตรีเกษตรฯลงพื้นที่ปักป้ายที่บุกรุกสปก.

[caption id="attachment_73397" align="aligncenter" width="700"] คดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด[/caption]

จาก ผลพวงของการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ทั้งที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและนักลงทนหรือ เกิดจากเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่เข้าไปในเขตป่า อุทยาน ตลอดจน สปก.โดยใช้ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแนบท้ายที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างต่อเนื่องกระทั้ง รัฐบาลชุดพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า สะสางปัญหาการบุกรุกของนายทุน จนล่าสุดได้ใช้มาตรา 44 ไล่รื้อ และเรียกคืนที่ดินรัฐ อาทิ สปก. ป่าสงวน อุทยาน

ชูวันแมปสกัดรุกป่า

นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ อธิบดีกรมที่ดินเปิดเผย ถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่รัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1:4000 ของ คณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่รัฐของรัฐแบบบูรณาการมาตราตราส่วน 1:4000 ( One map ) โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานว่า จากการร่วมกันบูรณาการร่วมกันปรับปรุงระวางเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันและ ระหว่างเอกชนกับรัฐ ซึ่งล่าสุด มีความคืบหน้าไปกว่า90% และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้ หลังดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

เนื่องจากเป็นนโยบายรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบให้ทุกกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของรัฐต่อไปจะต้องใช้ระวางแผนที่ภาพถ่ายมาตรฐาน เดียวกันคือ 1:4000 เพื่อ แก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐและรัฐกับเอกชน โดยจะปูระวางทั้งประเทศ หากพื้นที่ไหน ไม่อยู่ในแผนที่ระวาง ก็จะกันออกมาและตรวจสอบต่อไป

อธิบดีทีดินกล่าวว่า วันแมพ จะมีความละเอียดคมชัด สามารถระบุพิกัดตำแหน่งที่ตั้งแปลงที่ดินแม่นยำ มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยมาก ขณะที่ที่ผ่านมา กรมป่าไม้ กรมอุทยาน จะใช้ระวางแนวเขตมาตราส่วน 1: 50000 ตามบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ซึ่งมีความหยาบ ทำให้ตำแหน่งที่ตั้งคลาดเคลื่อนเพราะ แค่ ไม่กี่ตารางเช็นต์ทำให้ คลาดเคลื่อนได้ 100-200 เมตร

ระวางไหนมีที่รัฐต้องชะลอ

นาย อภินันท์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายของกรมต่อเรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ที่เจ้าหน้าที่ต้องถือปฏิบัติ คือ 1 การออกเอกสารสิทธินับต่อจากนี้จะต้องไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะการเดินสำรวจออกโฉนด 2.ได้เพิ่มกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน 3. การกำหนดพื้นที่ต้องกำหนดเป็นระวางแผนที่ หากพบว่าระวางแผนที่ไหนมีที่ดินรัฐจะชลอ การออกเอกสารสิทธิออกไปก่อนทันที เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

ทั้งนี้4. การออกเอกสารสิทธิ์ แต่ละพื้นที่ จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อประกาศเขตดูแลตามมาตราส่วนดังกล่าว โดยคณะกรรมการแต่ละจังหวัดจะเพิ่มองค์ประกอบของประชาชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน หอการค้า ฯลฯ ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ ส่งข้อมูลหลักฐานแต่ละพื้นที่มายังกรม หากพบว่าทับซ้อนที่รัฐ ก็จะกันออกไว้ก่อน และ ก่อนออกเอกสารสิทธิ์จะต้องเปิดเวทีประชาคม หลักการใหญ่ๆ จะให้ ชาวบ้านตรวจสอบกันเองดูแลรักษาสิทธิ์ของพี่น้องประชานชา เอง หาก มีการโต้แย้ง และนำแผนที่ระวางมากางหากไม่ใช้ที่เอกชน ก็จะออกเอกสารสิทธิ์ให้ไม่ได้

ชักจูงเจ้าหน้าทุจริตโทษอาญา

สำหรับนโยบายที่ 2 หากเอกชนหรือชาวบ้านชักชวน ร่วมกัน หรือสนับสนุนเจ้าหน้าทุจริตออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ จะต้องถูกดำคดีอาญาทันที ซึ่งจะต่างจากก่อนหน้านี้ที่ต้อง ยึดตามหลักฐานที่ชัดแจ้งเท่านั้น เพราะ ที่ผ่านมาได้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาหลายทอด ก็ต้องรอหลักฐานชัดเจน ทั้งนี้ การดำเนินคดีเอาผิดทางอาญากับผู้ชักชวนเจ้าหน้าที่ ดังกล่าว กรมทีดิ่นได้ออกระเบี่ยบกรมที่ดินว่าด้วยการดำเนินคดีอาญากับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอาญาพ.ศ.2559 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา และล่าสุดได้เวียนแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศทราบแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบหาพยานหลักฐานบุคคลดังกล่าวภายใน 7 วัน

และให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน15วัน นับตั้งแต่แต่งตั้งกรรมการ และหากตรวจสอบแล้วพบหลัหกฐานความผิดให้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3วัน ซึ่งทั้งจำทั้งปรับ คดีอาญาในการริเริ่ม ปลอมแปลงเอกสารฐานความผิด

สลายปัญหาข้อพิพาท4หน่วยงาน

อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า ปัญหาการออกเอกสารสิทธิเป็นความสำคัญใครครอบครองจะเกิดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนตามไปด้วยแต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีพบว่ามีความบกพร่อง แม้จะ มีประมวลกฎหมายที่ดินแต่ต้องคำนึงถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป่าไม้ อุทยาน ที่ดินสงวนหวงห้ามตามมาติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ซึ่งมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะ ทำให้การประสานงานราบรื่นในการถือครองทีดิ่นของแต่ละฝ่าย ขณะเดียวกัน จะแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการบุกรุก ซึ่งก่อนที่ จะใช้วันแมพในช่วงปลายปีนี้ กรมได้สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฟังมุมสะท้อนของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ปปท. เพื่อร่วมบูรณาการไปพร้อมกัน เพื่อสร้างความสบายในกับผู้ได้เอกสารสิทธิ์และ ปกป้องพื้นที่สงวนหวงห้าม

"เป็นนโยบายรัฐบาลมีโครงการ วันแมพทำให้เขตที่ดินรัฐชัดเจน โดยจะยึดถึงแนวเส้นเขตแดนทำให้การดำเนินการตลอดจน ผู้ดูแลที่ดินรัฐ มี่ความชัดเจนขึ้นซึ่งกรมจะไม่เข้าไปก้าวล่วงใน ที่ดินของรัฐ หาก วันแมพ ระบุว่า ไม่ใช่ที่ดินที่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ ซึ่งหากใช้วันแมพทาบแล้วปรากฏว่าออกโฉนดทับเขตป่า ก็จะต้องเพิกถอนและเยียวยาให้หากเราออกเอกสารสิทธิ์ไปคาบเกียวป่าไม้ อุทยาน สปก." อนึ่งพื้นที่กรมป่าไม้ 73ล้านไร่ อุทยาน 26ล้านไร่ สปก1ประมาณ 2 ล้านไร่

เล็งยึด1.1แสนไร่ ที่ส.ป.ก.โคราช

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจประจำจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ ติดตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรร์ ไปติดป้ายบังคับที่ดินแปลงหมายเลข 8069 เนื้อที่ 535-2-11 ไร่ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พล.ต.ต. ชาลี เภกะนันทน์ อดีตนายตำรวจใหญ่เป็นผู้ครอบครอง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ต่อเรื่องนี้ นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส.ป.ก. เปิดเผยว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ให้เขตปฏิรูปที่ดินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2534 โดยในส่วนของอำเภอปากช่อง มีพื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน 311,064 ไร่ โดยจัดที่ดินให้เกษตรกรไปแล้ว 142,638 ไร่ (4,816 ราย 6,489 แปลง) สำหรับที่ดินแปลงหมายเลข 8069 เนื้อที่ 535-2-11 ไร่ ที่จะดำเนินการปิดคำบังคับในวันนี้ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พล.ต.ต. ชาลี เภกะนันทน์ เป็นผู้ครอบครอง และไม่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. จึงได้ฟ้องขับไล่ พล.ต.ต. ชาลี เภกะนันทน์ ต่อศาลเมื่อปี พ.ศ. 2552 และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 ว่าจำเลยเป็นผู้ถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต จาก ส.ป.ก. โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงพิพากษาจำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนสิ่งก่อสร้างขนย้ายวัสดุต่างๆ ออกไปจากเขตพื้นที่พิพาทและทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนสู่สภาพเดิม

อย่างไรก็ตามการดำเนินการปิดคำบังคับคดีนี้ เป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2559 ข้อ 1(3) ประกอบกับ ข้อ 6 ซึ่งนอกจากคดีดังกล่าวแล้วยังมีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ครอบครองที่ดินส่งมอบคืนให้แก่ ส.ป.ก. และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไปเพิ่มเติมอีก 3 แปลง คือ 1) นายชูเกียรติ ตั้งพงศ์ปราชญ์ ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,027-2-40 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2) บริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,434 -2-33 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี และ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และ 3) บริษัทรวมชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. เนื้อที่รวม 1,749-1-24 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี

นายสรรเสริญ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้จัดทำพื้นที่เป้าหมายที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป เสร็จแล้วกว่า 235 แปลง และได้ทยอยส่งแผนที่แนบท้ายที่จะใช้ไปปิดประกาศพื้นที่เป้าหมายไปยัง ส.ป.ก. จังหวัด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 กรกฎาคม นี้ และได้ทำ Road Map ของทั้ง 3 กรณี เพื่อแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินที่ผิดกฎหมาย (รายละเอียดดังเอกสารแนบ) โดยสรุปข้อมูล ณ ปัจจุบัน คือ

1. ขณะนี้ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 427แปลง เนื้อที่มากกว่า 432,000 ไร่

2. ที่ดินที่ได้จัดให้แก่เกษตรกรไปแล้ว แต่มีบุคคลไปกว้านซื้อจากเกษตรกร และครอบครองทำประโยชน์โดยผิดกฎหมาย และครอบครองที่ดินเกินกว่า 100 ไร่ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 20,000 ไร่

3. ที่ดินที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ครอบครองที่ดินส่งมอบคืนให้แก่ ส.ป.ก. แล้ว และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 10,000 ไร่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,175 วันที่ 17 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559