รอบด้านตลาดหุ้น by  Bualuang Securities  

13 ก.ค. 2559 | 04:45 น.
ภาพการลงทุนของตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวแข็งแกร่ง ขณะที่สภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกยังคงส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย โดยเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำตลอดปีนี้ ในขณะนี้ธนาคารกลางที่ใหญ่ของโลกหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคารกลางกลุ่มประเทศยุโรป (ECB) ธนาคารและกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการลงทุนทางธุรกิจและการบริโภคภายในประเทศเพื่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ หากไม่มีปัจจัยลบที่ไม่คาดคิด สภาพคล่องที่สูงขึ้นจะยังหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้ดีต่อไปจากปัจจุบันโดยเรายังคงมุมมองว่าดัชนีฯไทยจะขึ้นไปได้ถึงระดับ 1480-1500 จุดเนื่องจากเหตุผล:

1.ดัชนียังคงปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น-กลาง

2.เรามองว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นได้จากสภาพคล่องการเงินสูงเนื่องจากปริมาณเงินที่ถูกอัดฉัดเข้ามาเพิ่มขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลก

3.กระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะช่วยหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในรูปของสกุลเงินประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่เช่นกัน

4.โมเมนตัมของตลาดที่ขึ้นมารอบนี้ ปัจจุบันการปรับตัวขึ้นของตลาดสามารถไปในทิศทางเดียวกันกับเครื่องมือทางเทคนิค Continuation pattern

5.นับตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐ อียู และกลุ่มประเทศเอเชีย

แนวทางการลงทุน: ตลาดมีโอกาสจะปรับตัวขึ้นทะลุทำจุดสูงสุดใหม่โดยมีเป้าหมายที่ 1480-1500 จุด /แนวรับ 1460 จุด

รายงานพื้นฐาน BLS วันนี้

Tactical Idea Trade: เราแนะนำ Switching จาก BWG มาเข้า TPCH แทน พิจารณาจาก (1) Upside to fair value ของ TPCH อยู่ที่ 27% ขณะที่ BWG แรลรี่ขึ้นมาตามที่เราแนะนำจนเต็มมูลค่า (Fully valued) (2) คาดผลการดำเนินงานของ TPCH ปี 2016-17 เติบโต 480%-85% ขณะที่ BWG กำไรโต 24%-49% สะท้อนกำไรของ TPCH ครึ่งปีหลังโตสูง และกำไรรายไตรมาสจะโตต่อเนื่องสร้างจุดสูงสุดใหม่ไปจนถึงปี 2018 อิงสมมุติฐานยังไม่นับรวม PPA ใหม่ที่มีโอกาสได้เพิ่ม (3) BWG ที่เพิ่งจะเริ่มดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะฯคาดว่าตลาดอาจจะมีความกังวลเรื่อง Operational risk และ Cost Overrun ทำให้ราคาหุ้นมีความเสี่ยงถูกซื้อขายที่ Discount ได้ ขณะที่ TPCH มีประสบการณ์จากโรงไฟฟ้าฯที่เดินเครื่องแล้ว เราเชื่อว่าตลาดจะให้ Premium ที่สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจาก ROE ของ TPCH ที่ 23% พบว่าสูงกว่า BWG ที่ 15% (บนคาดการณ์โรงไฟฟ้าทั้งสองบริษัทฯเดินเครื่องแล้วตามสมมุติฐาน PPA ปัจจุบัน)

EGCO (+)/ GPSC(-) เราแนะนำ switch จาก GPSC ไปเข้า EGCO จาก 1) การเติบโตของกำลังการผลิต โดย EGCO คาดหวังการเติบโต 34% ใน 3 ปีนี้ ซึ่ง 70% ของโครงการในมือจะเริ่มดำเนินการในปีนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในด้านความล่าช้าของโครงการ ในขณะที่ 19% ของ GPSC จะเริ่มดำเนินการในปีนี้ และ 50% ในครึ่งปีหลังปีหน้า, 2) แนวโน้มของกำไร แม้ว่าจะเป็นช่วงโลว์ซีซั่นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ EGCO จะมีการดำเนินการโครงการ KN4 (930MW, COD ในเดือน มิ.ย.) ในขณะที่ GPSC มีโครงการ NNEG (125MW ถือสัดส่วน 30%) และ 3) ราคา PBV/ROE EGCO อยู่ที่ 0.11 เท่า ต่ำที่สุดในกลุ่ม ในขณะที่ GPSC อยู่ที่ 0.23 เท่า สูงที่สุดในกลุ่ม อีกทั้ง PEG ปีนี้ของ EGCO คิดเป็นแค่ 0.8 เท่าเทียบกับ GPSC ที่ 1.2 เท่า

กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) (+) ผลสำรวจการเปิดตัวโครงการใหม่จาก AREA ในเดือนมิ.ย. 2559 ตัวเลขการเปิดโครงการปรับตัวเพิ่มขึ้น 28% MoM ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดตัวเยอะแต่อัตราการจองก็ยังสมารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 1% MoM แสดงถึงสัญญานอุปสงค์อุปทานที่ยังดีอยู่ เราคาดการณ์การเปิดตัวในเดือน ก.ค. จะชะลอตัวลงเนื่องจากมีวันหยุดยาว และกลับมาคึกคักอีกครั้งในเดือน ส.ค.-ก.ย. สำหรับราคาหุ้น แม้ว่าภาพรวมของกลุ่มปรับตัวขึ้นมาซื้อขายกันที่ PE 2559 8.9x เรามองว่ายังมีอัพไซด์ที่จะปรับตัวขึ้นได้อีก 7% ไปซื้อขายกันที่ PE 2559 9.5x  สำหรับหุ้นในกลุ่มที่เราชื่นชอบเราเชื่อว่า ANAN และ LH ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อีก และอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจคือ SIRI เนื่องจากการเติบโตของกำไรในครึ่งปีหลังโดดเด่นจากยอด backlog ที่ส่วนมากจะเข้ามาในครึ่งปีหลังของปีนี้ อีกทั้งราคายังอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาปัจจุบันคิดเป็น PBV แค่ 0.95x

THCOM (-) เราประมาณการกำไรในไตรมาส 2/59 ที่ 535 ล้านบาทปรับตัวลดลง 7% YoY และ 24% QoQ โดยการปรับตัวที่ลดลงมาจากลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งที่เลิกใช้บริการดาวเทียมไทยคม 5 (คาดรายได้ที่หายไปประมาณ 600 บาท/ปี) และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายทางภาษี สำหรับในไตรมาส 3/59 คาดจะได้รับผลกระทบจากกรณีการยกเลิกบริการบางส่วนของ CTH ซึ่งเราตั้งสมมติฐานการลดลง 3 ใน 5 ของที่บริการอยู่ คิดเป็นรายได้ที่หายไปประมาณ 220 ล้านบาท/ปี เราปรับประมาณการกำไรสำหรับปีนี้ 6% และราคาเป้าหมาย 8% จากรายได้ที่หายไปดังกล่าว แต่ยังคงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 42 บาท เนื่องจาก มองถึงการฟื้นตัวของกำไรในอนาคตจากลูกค้ารายใหม่ (FG) ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 3/59 และคาดจะเป็นตัวทดแทนรายได้ที่หายไปได้อย่างเต็มตัวในปีหน้า อีกทั้งราคาหุ้นยังถือว่าน่าสนใจซื้อขายกันที่ PE ปี 2016 และ 2017 ที่ 10.6x และ 9.9x เทียบกับกลุ่มที่ 18.3x และ 15.9x ตามลำดับ

(+) IRPC เราเริ่มเห็นสัญญาณบวกเข้ามาหลังจากราคาหุ้นค่อนข้างโชว์ฟอมน่าผิดหวังในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ จากการปรับตัวดีขึ้นของ Fuel margin และการที่ผู้บริหารให้ความมั่นใจว่า UHV จะสามารถกลับมาเปิดได้ในเร็วๆนี้ โดยสัญญาณบวกดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นในช่วงสั้น สำหรับกำไรไตรมาส 2/59 เราคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มที่ดี ด้วยการเติบโตประมาณ 16% QoQ มาอยู่ที่ 3,500 ล้านบาท โดยเราปรับประมาณการกำไรสุทธิสำหรับปี 2016 ลงมา 17% อยู่ที่ประมาณ 10,700 ล้านบาท ซึ่งเรายังคงแนะนำ "ซื้อ" จากมูลค่าหุ้นปัจจุบันที่ยังคงถูก ราคาเป้าหมาย 5.40 บาท

(-) DTAC เรายังคงแนะนำ "ถือ" สำหรับ DTAC ที่ราคาเป้าหมาย 29 บาท จากการที่เรายังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากธุรกิจหลัก โดยล่าสุด DTAC รายงานกำไรหลักไตรมาส 2/59 ลดลงถึง 66% YoY และ 55% QoQ อยู่ที่ 539 ล้านบาท โดยเรามองว่าในครึ่งปีหลังยังคงเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับ DTAC ในการกลับมาเพิ่มสัดส่วนรายได้ในส่วนลูกค้าแบบ prepaid และหากทำไม่ได้ อาจส่งผลกระทบต่อกำไรหลักในช่วงครึ่งหลังของปี อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนจากการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ความเสี่ยงในธุรกิจยังคงค่อนข้างสูงสำหรับ DTAC

ที่มา:บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง