จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี

11 ธ.ค. 2564 | 07:00 น.

รายงานพิเศษ : จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี มีกินมีใช้อย่างสุขสบาย

ข้าวฮาง อาหารที่คนรักสุขภาพ ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด 

“ตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นค่ะ มีเงินส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี 2 คน ปวส. 1 คน ถ้าเมื่อก่อน ส่งไม่ไหวแน่ ๆ” นางเกศนี ชุมปัญญา เกษตรกรศูนย์เรียนรู้บ้านหนองปลาดุก จ.สกลนคร หนึ่งในหมู่บ้านขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร กล่าว หลังจากสอบถามถึงรายได้จากการผลิตข้าวฮางจำหน่าย และจัดแสดงภายในงาน “39 ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ สืบสาน รักษา ต่อยอด เพื่อพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน” จัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฯ ภูพานฯ และยังบอกอีกว่า ได้เข้ามาอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เรื่องการแปรรูปข้าวฮางและทางศูนย์ฯ สนับสนุนให้รวมกลุ่มผลิตและจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำการตลาดจำหน่ายผลผลิต

จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี

“เราขายได้ราคาทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขได้และช่วยชาวบ้านขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น  เพราะกลุ่มจะรับซื้อข้าวจากสมาชิก ถ้าขายข้าวเปลือกจะได้กิโลกรัมละ 20 บาท แต่แปรรูปเป็นข้าวฮาง ขายได้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท” นางดวงตา ดากาวงศ์ เกษตรกรบ้านนาเลา ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อีกหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแปรรูปข้าวกล่าวยืนยัน

 “ตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นค่ะ มีเงินส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี 2 คน ปวส. 1 คน ถ้าเมื่อก่อน ส่งไม่ไหวแน่ ๆ” นางเกศนี ชุมปัญญา เกษตรกรศูนย์เรียนรู้บ้านหนองปลาดุก จ.สกลนคร หนึ่งในหมู่บ้านขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร กล่าว

หลังจากสอบถามถึงรายได้จากการผลิตข้าวฮางจำหน่าย และจัดแสดงภายในงาน “39 ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ สืบสาน รักษา ต่อยอด เพื่อพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน” จัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฯ ภูพานฯ และยังบอกอีกว่า ได้เข้ามาอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เรื่องการแปรรูปข้าวฮางและทางศูนย์ฯ สนับสนุนให้รวมกลุ่มผลิตและจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำการตลาดจำหน่ายผลผลิต

จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี

“เราขายได้ราคาทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขได้และช่วยชาวบ้านขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น  เพราะกลุ่มจะรับซื้อข้าวจากสมาชิก ถ้าขายข้าวเปลือกจะได้กิโลกรัมละ 20 บาท แต่แปรรูปเป็นข้าวฮาง ขายได้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท” นางดวงตา ดากาวงศ์ เกษตรกรบ้านนาเลา ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อีกหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแปรรูปข้าวกล่าวยืนยัน

ข้าวฮาง เป็นข้าวสารแปรรูปที่ผลิตตามภูมิปัญญาของชาวอีสานโดยนำข้าวเปลือกแช่น้ำ เพื่อกระตุ้นให้สารอาหารจากเปลือกข้าวซึมเข้าไปในเมล็ดข้าว จากนั้นนำมานึ่ง แล้วตากให้แห้งก่อนสีแบบกะเทาะเปลือก เป็นข้าวที่มีสารกาบา (GABA) ที่ช่วยเสริมสร้างความจำและมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ผู้ใส่ใจสุขภาพให้ความสนใจ

จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี

สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น ณ บริเวณบ้านนานกเค้า จ.สกลนคร เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย รูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม และภูมิประเทศ ในลักษณะ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” พร้อมให้บริการแก่ประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

จากข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮาง”สร้างรายได้ ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี

โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนงบประมาณ และติดตามการดำเนินงาน ทั้งเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน หารูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ให้ทันกับยุคสมัย เป็นไปตามพระราชประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เกษตรกรหลายร้อยชีวิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น 

“พระองค์ท่านให้ชีวิตใหม่กับพวกเรา เมื่อก่อนไม่มีโอกาสจับเงินแสน ทำนาทั้งปีขายข้าวได้แค่สองหมื่นบาทมากที่สุด  ตอนนี้รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ทุกครอบครัวมีใช้” นางดวงตา กล่าว