4ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทย นโยบายการเงินลดเป้าจีดีพีปีหน้าเหลือ 3.2%

29 มิ.ย. 2559 | 05:00 น.
หากย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2559 จนถึงปัจจุบัน(22มิ.ย.59) คณะกรรมการนโยบายการเงิน(บอร์ดกนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในอัตรา 1.5%ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราต่อเนื่องจากเดือนธันวาคมปีก่อน โดยส่งสัญญาณมาอย่างต่อเนื่องในการติดตามและระมัดระวังความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงิน โดยเฉพาะจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือ Search For Yield ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน ประกอบกับเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงในระยะต่อไป อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ผลการลงประชามติในสหราชอาณาจักร(Brexit)และความเสี่ยงในภาคการเงินจีน

[caption id="attachment_65938" align="aligncenter" width="700"] ประมาณการ GDP ปี 2559 และ 2560 ประมาณการ GDP ปี 2559 และ 2560[/caption]

ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญเสี่ยง

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมกนง.(22มิ.ย.)ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม ซึ่งคณะกรรมการฯ ประเมินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องและเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปีตามคาด ในขณะที่ภาวะการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ตามคาด แต่การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวในระดับต่ำ

ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงมากกว่าคาด ในภาพรวมแรงส่งของอุปสงค์ ในประเทศและการท่องเที่ยวช่วยชดเชยการส่งออกสินค้าที่ปรับลดลง ทำให้เศรษฐกิจไทยมี แนวโน้มขยายตัว ในอัตราที่เท่ากับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยความเสี่ยงด้านต่ำยังมีอยู่จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจ ขยายตัวต่ำกว่าคาด และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่ยังเปราะบาง อย่างไรก็ดี ความกังวลด้านภัยแล้งลดลง และราคาสินค้าเกษตรบางรายการเริ่มปรับดีขึ้น

ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พฤษภาคมที่ปรับเป็นบวกมากขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เร่งขึ้น และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เริ่ม ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับสูงขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนภาวะการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำ การระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือนยังขยายตัวได้แม้ธุรกิจบางกลุ่มยังมีข้อจ่ากัดในการได้รับสินเชื่อ

กนง.ประเมิน4ปัจจัยต้องติดตาม

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังคงต้องติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพ การเงิน รวมทั้งพฤติกรรมSearch for yieldที่สูงขึ้น จากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน จึงจำเป็นต้องรักษาขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบาย (policy space) เพราะเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงในระยะต่อไป อาทิ1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง 2.ทิศทางการด่าเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก 3.ผลBrexit และ 4 ความเสี่ยงในภาคการเงินจีน ดังนั้นคณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่ จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ

นายจาตุรงค์ยังระบุถึง คณะกรรมการกนง.ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยโดยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปี 2560 มาอยู่ที่ 3.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.3% เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อย ตามการส่งออกสินค้าที่ปรับลดลง สำหรับปีปนี้จีดีพีมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเดิมที่ 3.1% โดยภาพรวมแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยวที่เข้ามาช่วยชดเชยการส่งออกสินค้าที่ปรับลดลง โดยปีนี้การส่งออกคาดว่าจะติดลบ 2.5% จากเดิมคาดติดลบ 2.0% และปี2560จะขยายตัวเป็น 0.0% จากเดิมที่คาดไว้ 0.1%(ดูตารางประกอบ)

ครึ่งปีแรกมติเป็นเอกฉันท์คงอาร์/พี1.5%ต่อปี

หากย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2559จนถึงปัจจุบัน(22มิ.ย.59) บอร์ดกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์เป็นครั้งที่ 4โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในอัตรา 1.5%ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราต่อเนื่องจากเดือนธันวาคมปีก่อน โดยที่การประชุมนัดแรก(3ก.พ.) บอร์ดกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5%ต่อปีพร้อมส่งสัญญาณมาอย่างต่อเนื่องในการติดตามและระมัดระวังความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงิน โดยเฉพาะจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือ Search For Yield ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน

ถัดมาบอร์ดกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งที่ 2 (23มี.ค.59)ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% ต่อปีโดยประเมินว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้และการฟื้นตัวมีลักษณะไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคส่วนแต่ภาวะการเงินยังอยู่ในระดับผ่อนปรนซึ่งเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนานโดยเฉพาะพฤติกรรมSearch for Yield รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชนและภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง

ขณะที่การประชุมครั้งที่ 3 (11พ.ค.59) บอร์ดกนง.มีมติเป็นฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ต่อปี ซึ่งการตัดสินนโยบายให้ความสำคัญเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ และการท่องเที่ยวซึ่งขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าซึ่งไม่รวมทองคำหดตัว และการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการขยายตัวเฉพาะในบางธุรกิจ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแรงลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากครัวเรือนภาคเกษตรได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโน้มไปด้านต่ำมากขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน

ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเปราะบาง นอกจากนี้ ในบางช่วงที่ผ่านมาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งบางสกุลอาจไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเท่าที่ควร ในระยะต่อไป ความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้าย ระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) รวมทั้งยังคงต้องติดตาม ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินโดยรวมจากพฤติกรรมSearch for yield) เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อดูแลให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเปราะบาง/ทิศทางนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก/ผลเบร็กซิท-/ภาคการเงินของจีน

Photo : Pixabay
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,169 วันที่ 26 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559