รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได นวัตกรรมช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้น-ลงบันได

22 มิ.ย. 2559 | 09:55 น.
“รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได” ผลงานบุคลากรจาก 3 สถาบันร่วมวิจัยคิดค้น นำโดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ผศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู พ.ต.นพ.ธง พงษ์หาญยุทธ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พร้อมด้วย พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุลวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ผนึกกำลังคิดค้นร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประดิษฐ์คิดค้นร่วมกับแพทย์ และพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า “PMK:Electric Power Wheelchair Upstairs”
พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี เผยว่า การนำรถเข็นไฟฟ้าแบบขึ้น-ลงบั นได เป็นผลงานวิจัยอีกผลงานหนึ่ง ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยขึ้นและลงบันได โดยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้ องออกแรงมากและมีผู้ดูแลแค่เพี ยงคนเดียว เหมาะสำหรับผู้ป่วยหลายประเภทเช่น หลอดเลือดสมอง บาดเจ็บทางสมอง บาดเจ็บไขสันหลัง หรือบาดเจ็บไขสันหลังที่ทำให้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางร่ างกายทำให้ไม่สามารถเดินได้ สำหรับผู้ป่วยรายนี้เป็ นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้กล้ ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อที่ ต้นแขนและต้นขาก่อน โดยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคกล้ ามเนื้ออ่อนแรง(Muscular Dystrophy) ซึ่งจะทำให้ระยะแรกกล้ามเนื้ อขาอ่อนแรงไม่สามารถยืนเดินได้ จำเป็นต้องใช้รถเข็นตลอดชีวิต ประกอบกับผู้ป่วยรายนี้มีบ้านพั กเป็นห้องแถวโดยชั้นล่ างประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่บนชั้ นสองตลอดเวลา ถ้ามีรถเข็นประเภทนี้จะทำให้ผู้ ป่วยสามารถสามารถลงมาชั้นล่ างและใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับสั งคมได้ดียิ่งขึ้น ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า “รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได” นี้ได้พัฒนาจากรุ่นที่แรกจนมาถึ งรุ่นปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ตัวรถเข็นไฟฟ้า ชุดคานจับยึด และรถตีนตะขาบ สำหรับตัวรถตีนตะขาบจะใช้ ดีซีมอเตอร์ (DC Motor) ขนาด350 วัตต์ 24 โวลต์ แกนมอเตอร์ด้านหน้ายึดติดกับเกี ยร์บล็อก (Gear Box) ขนาดอัตราทด 1:50 สายพานเป็นแบบเหล็กยึดติดกั บยางเพื่อให้ยึดเกาะบันได มีแบตเตอรี่ 2 ชุด ชุดละขนาด 24 โวลต์ต่ออนุกรม ส่วนระบบความปลอดภัยเมื่อนำผู้ ป่วยขึ้นลงบันไดถ้าแบตเตอรี่หมด เราสารมารถ กดสวิตซ์เพื่อเปลี่ยนมาใช้ แบตเตอรี่ชุดที่ 2 ได้ทันที และในช่วงเริ่มต้นจะจับตัวผู้ป่ วยเอียงประมาณไม่เกิน 35 องศาลงมาพร้อมกับรถเข็นไฟฟ้ าและอยู่บนรถตีนตะขาบ เมื่อรถเข็นเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ตัวผู้ป่วยจะอยู่ในลักษณะท่านั่ งบนตัวรถเข็นไฟฟ้าแบบท่านั่ งปกติ

“รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได” เกิดจากความร่วมมือทางการแพทย์ เพื่อนำมาใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โทร.0-2549-4746