บิ๊กตู่ตรวจเยี่ยมศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา 

22 มิถุนายน 2559
วันนี้(22 มิย.59)  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งที่ 2 (อู่ตะเภา) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีนายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการบริษัทฯ  พร้อมนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  ร.อ.มนตรี จำเรียง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ร.ท.เฉลิมพล อินทรวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง พร้อมฝ่ายบริการและช่างซ่อมบำรุง บริษัทการบินไทยให้การต้อนรับ

[caption id="attachment_64485" align="aligncenter" width="503"] นายกรัฐมนตรีได้ร่วมถ่ายภาพเซลฟี่กับบรรดาช่างซ่อมบำรุง การบินไทย นายกรัฐมนตรีได้ร่วมถ่ายภาพเซลฟี่กับบรรดาช่างซ่อมบำรุง การบินไทย[/caption]

ทั้งนี้ นายจรัมพร ได้สรุปถึงศักยภาพของศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาและความคืบหน้าของการพัฒนาศูนย์ซ่อมให้เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นนิคมอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งศูนย์ซ่อมแห่งนี้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 พื้นที่ 150 ไร่  มีขีดความสามารถในการซ่อมใหญ่(Heavy Maintenance) สำหรับเครื่องบินลำ ตัวกว้างแบบโบอิ้ง 747, 777 แอร์บัส เอ 330 และเครื่องบินลำตัวแคบแบบโบอิ้ง 737 โดย มีโรงซ่อมอากาศยาน(Hangar) ขนาดใหญ่สามารถนำเครื่องบินเข้าซ่อมบำรุงพร้อมกันได้ 3 ลำ ดำเนินการซ่อมเฉลี่ยปีละ 20 ลำ ทั้งนี้ ศูนย์ซ่อมอากาศยานดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรฐานได้รับการยอมรับในระดับสากลการบินไทย รวมทั้งมีความพร้อมที่จะสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการร่วมพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการขยายตัว การคมนาคมขนส่งทางอากาศในอานาตค ทั้งระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนออกจากศูนย์ซ่อมบำรุง นายกรัฐมนตรีได้ร่วมถ่ายภาพกับบรรดาช่างซ่อมบำรุง โดยช่างซ่อมบำรุงตะโกนให้กำลังใจในการทำงาน  พร้อมขอให้อยู่ต่ออีก 10 ปี โดยนายกรัฐมนตรีได้ชี้มาที่สื่อมวลชนที่ติดตามมาทำข่าว โดยบอกว่า ต้องบอกสื่อ เพราะเขาดูอยู่

จากนั้นนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมชมความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยพลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า การสร้างสนามบินต้องมองถึงอนาคต มีความเชื่อมโยงกับหลายแห่ง และอยากให้มีภาพลักษณ์ของสนามบินที่สะท้อนความเป็นวัฒนธรรมไทยด้วย

จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่ เชื่อมจังหวัดในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน รองรับการขนส่งระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก