ดุสิตโพลชี้ประชาชนไม่เห็นด้วยตั้งศูนย์ปราบโกงฯ

19 มิ.ย. 2559 | 07:49 น.
ตามที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ประกาศห้ามกลุ่ม นปช. จัดตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติทั่วประเทศ พร้อมกำชับจะดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดหากยืนยันจะเดินหน้าต่อไป ในขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวให้เหตุผลว่า เป็นการตั้งขึ้นเพื่อเน้นรณรงค์ให้ประชาชนออกมาลงประชามติให้มากที่สุดโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,233 คน สำรวจระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติที่จัดตั้งโดยแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

อันดับ 1 ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดูแล 76.64%
อันดับ 2 อาจขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่น่าจะจัดตั้งได้ 74.45%
อันดับ 3 เป็นเกมการเมือง สร้างกระแส ต้องการกดดันรัฐบาล 71.29%
อันดับ 4 มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อาจเกิดปัญหาหรือความวุ่นวายตามมาภายหลัง 63.50%
อันดับ 5 หากมีการจัดตั้งขึ้นจริงขอให้คำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ 52.80%
2. ประชาชนคิดว่าจะมีการโกงการลงประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 หรือไม่

อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 52.11%
เพราะ  ต้องรอดูสถานการณ์ ความคิดเห็นของแต่ละคนแตกต่างกัน   การเมืองไทยไม่มีอะไรแน่นอน ฯลฯ
อันดับ 2 มี 35.21%
เพราะ  เป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย มักจะมีการโกงเกิดขึ้นเสมอ ขั้นตอนการลงประชามติอาจมีช่องโหว่การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่มี 12.68%
เพราะ  เชื่อมั่นในการควบคุมดูแลของ คสช. มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจัดการ มีการป้องกันอย่างเข้มงวด            การตรวจสอบการทำงานอย่างเป็นระบบ ชัดเจน ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไร?  การลงประชามติจึงจะไม่มีการโกงเกิดขึ้น

อันดับ 1 ประชาชนต้องออกมาใช้สิทธิ ป้องกันคนสวมสิทธิ 85.40%
อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส ตรวจสอบได้  80.05%
อันดับ 3 มีระบบการตรวจสอบที่ดี รอบคอบ รัดกุม มีบทลงโทษเด็ดขาด 78.10%
อันดับ 4 รณรงค์สร้างจิตสำนึก รวมทั้งกระตุ้นให้ทุกคนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการลงประชามติ 71.53%
อันดับ 5 ทุกคนต้องยึดหลักความถูกต้อง ซื่อสัตย์ สุจริต 70.56%

4. ประชาชนจะช่วยให้การลงประชามติโปร่งใสได้อย่างไร?

อันดับ 1 ต้องออกไปใช้สิทธิและตัดสินใจด้วยตนเอง 82.24%
อันดับ 2 ช่วยภาครัฐดูแลสอดส่อง เป็นหูเป็นตา 79.32%
อันดับ 3 ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบที่กำหนดไว้ 68.61%
อันดับ 4 ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ มติที่เป็นเอกฉันท์ 62.04%
อันดับ 5 มีวิจารณญาณ ไม่ตกเป็นเครื่องมือหรือหลงเชื่อใครง่ายๆ 56.69%
5. ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะสามารถดำเนินการเรื่องการลงประชามติ ได้อย่างโปร่งใสมากน้อยเพียงใด?

อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น 36.67%
เพราะ  ดูจากการทำงานที่ผ่านมา น่าจะสามารถจัดการได้ดี ทุกฝ่ายน่าจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เป็นเรื่องสำคัญของบ้านเมือง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 35.70%
เพราะ  จากข่าวสารที่เผยแพร่ออกมา ทำให้ไม่ค่อยมั่นใจต่อการจัดการลงประชามติ  ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงานได้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เชื่อมั่น 17.36%
เพราะ  เป็นเกมการเมือง ที่ผ่านมาการเลือกตั้งในทุกระดับก็มักมีการทุจริตเกิดขึ้นเสมอ อาจมีการกำหนดผลไว้ล่วงหน้า  ฯลฯ
อันดับ 4 เชื่อมั่นมาก 10.27%
เพราะ  การลงประชามติมีความสำคัญต่อบ้านเมือง ต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้า รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้ มีการวางแผนเตรียมการเป็นอย่างดี มีความเด็ดขาด ฯลฯ
6. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณี การลงประชามติ

อันดับ 1 ควรเปิดโอกาสและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย 78.59%
อันดับ 2 การดำเนินการต่าง ๆ ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ 75.67%
อันดับ 3 หากมีการทุจริต ควรมีบทลงโทษที่รุนแรง เด็ดขาด  64.96%
อันดับ 4 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ นำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่ายแก่ประชาชน 61.07%
อันดับ 5 ควรเคารพการตัดสินใจของประชาชน ยอมรับผลที่ออกมา 53.53%