สธ.ตั้งเป้าดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 5.8 ล้านคนในปี 2561

19 มิ.ย. 2559 | 07:36 น.
กระทรวงสาธารณสุข จัดแผนปฎิบัติการแผนงานทันตสุ ขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2558-2561 ได้รับความเห็นชอบจากคณะรั ฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึ งการบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 50 หรือประมาณ 5.8 ล้านคน ภายในปี 2561 ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี และมีฟันใช้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า การดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่ งของการมีสุขภาพดีช่วยเสริมคุ ณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย  ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวั ยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มี ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่ างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่ องปากด้วย  ตามกระแสพระราชดำรัส“พระบาทสมเ ด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มี พระราชดำรัสด้วยความเป็นห่วงทุ กข์สุขของพสกนิกร ว่า "เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง"

โดยข้อมูลจากการสํารวจทันตสุ ขภาพระดับจังหวัดปี 2557 ผู้สูงอายุพบว่า มีฟันแท้ที่ใช้เคี้ยวอาหารได้ 20 ซี่ขึ้นไป เพียงร้อยละ 56.9  ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดแผนปฎิบัติการแผนงานทั นตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทย พ.ศ.2558-2561 ภายใต้แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู ้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึ งการบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากเพิ่ มขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรั ฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล  กล่าวต่อว่า กลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามแผนดั งกล่าว จะครอบคลุมทั้ง กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มรองคือผู้ที่มีอายุ 40- 59 ปี  ตามข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีเมื่อ ปี2558   โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ข้อ คือ 1.เพิ่มการเข้าถึงบริการทันตสุ ขภาพจากร้อยละ 34 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 50 หรือประมาณ 5.8 ล้านคน และอย่างน้อย 1 จังหวัดของทุกเขตสุขภาพ มีการพัฒนารูปแบบเพื่อแก้ปั ญหาสุขภาพในช่องปากผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบ  เช่น ฟันผุ แผล/มะเร็งในช่องปาก สภาวะน้ำลายแห้ง  ฟันสึก โรคปริทันต์ เป็นต้น

2.ศึกษาวิจัยและพัฒนานวตกรรม เพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ  มีการผลิตนวตกรรม เพื่อการรักษา การ ฟื้นฟู ป้องกันโรค และความผิดปกติทางทันตกรรม   3.พัฒนาบุคลากรและหลักสูตรด้ านทันตกรรมผู้สูงอายุทั้งระดั บปริญญาตรี หลักสูตรระยะสั้นร่วมกั บกระทรวงศึกษาธิการ  และ4.บริหารจัดการ พัฒนาระบบฐานข้อมูล การติดตามประเมินผลอย่างเป็ นระบบ   เพื่อบรรลุแผนในการทำงานคื อภายในปี 2561 ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี และมีฟันใช้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80