“บ้าน” ความต้องการที่สุดของผู้ป่วยระยะท้าย: กรณีศึกษาสิงคโปร์และมาเลเซีย

02 มิ.ย. 2559 | 14:37 น.

ยศ วัชระคุปต์ และวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ประเทศไทยมีการดูแลผู้ป่ วยระยะท้ายของชีวิตด้วยรูปแบบ “ประคับประคอง” ในบางโรงพยาบาลมาเป็ นระยะเวลาหนึ่ง แต่สำหรับผู้ป่วยระยะท้ายของชี วิตมักจะต้องการอยู่ “บ้าน” ที่ตนเองคุ้นเคยมากกว่านอนอยู่ ที่โรงพยาบาล การให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที ่บ้านกลับยังไม่มีการดำเนิ นการอย่างเป็นระบบ

กรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียจะช่วยให้เราเข้ าใจและเล็งเห็นความสำคั ญของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ ายของชีวิต “ที่บ้าน” มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ แก่ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว ช่วยให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดทางกาย มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และหากจากไปจะรู้สึกสุขสงบกว่ าต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาลซึ่ งเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย

หลายประเทศได้ตระหนักถึ งความสำคัญของการดูแลผู้ป่ วยระยะท้ายของชีวิตที่บ้านและจั ดให้มีบริการที่เรียกว่า home hospice มานานแล้วรวมถึงประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียที่ให้บริการนี้ มากว่า 25 ปีแล้ว องค์กรที่ดำเนินงาน home hospice ในสองประเทศนี้เป็นองค์กรการกุ ศลที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้ จ่ายหรือคิดในจำนวนที่ไม่ มากจนเป็นภาระแก่ผู้ป่ วยและครอบครัว ทั้งนี้ การให้บริการดูแลที่บ้านของทั้ งสองประเทศมีรูปแบบที่คล้ายคลึ งกัน แต่ได้รับความร่วมมือในการสนั บสนุนด้านทรัพยากรบุ คคลและการเงินจากภาครั ฐและเอกชนที่แตกต่างกันตามบริ บทและความพร้อมของแต่ละประเทศ

HCA Hospice Care (HCA) เป็นหนึ่งในองค์กรการกุศล 8 แห่งในประเทศสิงคโปร์ ที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะท้ ายที่บ้าน

HCA ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 hospice care ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Intermediate and Long-Term Care (ILTC) Services ที่อยู่ภายใต้การกำกับดู แลของหน่วยงาน Agency for Integrated Care (AIC) ก่อตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุข

HCA ให้บริการ 3 ประเภท คือ การให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน การให้บริการผู้ป่วยที่ศูนย์ของ HCA แบบเช้าไปเย็นกลับ และการให้บริการที่มีกลุ่มเป้ าหมายคือเด็ก (อายุไม่เกิน 19 ปี)

ส่วน Hospis Malaysia เป็นองค์กรการกุศล (NGOs) ในประเทศมาเลเซียที่ก่อตั้งในปี 1991 ให้บริการดูแลผู้ป่วยในเขตเมื องกัวลาลัมเปอร์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การให้บริการของ Hospis Malaysia เน้นดูแลที่บ้านเป็นหลัก และทุกวันอังคารผู้ป่ วยสามารถมาพบปะพูดคุยกันที่ศู นย์ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลที่บ้ านได้พักผ่อนในวันนั้นด้วย

เงื่อนไขการรับผู้ป่วยและการให้ บริการของทั้งสองแห่งจะคล้ายกัน คือ ผู้รับบริการต้องป่วยด้ วยโรคมะเร็งหรือโรคที่ต้ องการการดูแลแบบประคับประคอง และมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องมีใบนำส่ งจากแพทย์ หลังจากรับเรื่องแล้ว ภายใน 1-2 วัน ศูนย์ก็จะจัดทีมแพทย์ และพยาบาลไปเยี่ยมบ้านและประเมิ นอาการผู้ป่วย และนำข้อมูลการประเมินผู้ป่ วยมาจัดทำตารางการเยี่ยมบ้าน ซึ่งในการไปเยี่ยมบ้าน พยาบาลจะพูดคุยสอบถามเกี่ยวกั บสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และครอบครัวหรือผู้ดูแล เมื่อมีคำถามต้องปรึกษาแพทย์ก็ จะโทรคุยกับแพทย์ประจำศูนย์ทั นที ในกรณีต้องใช้ยา พยาบาลก็มียาติดกระเป๋าไปด้วย แต่จะต้องปรึกษาแพทย์ผ่ านทางโทรศัพท์ก่อนตัดสินใจให้ยา เมื่อพยาบาลกลับมาที่ศูนย์ก็ จะนำกรณีของผู้ป่วยทุ กรายมาประชุมติดตามผลทุกกรณีไป ทั้งสององค์กรมีศูนย์อุปกรณ์ให้ ผู้ป่วยสามารถยืมไปใช้ได้ และคืนอุปกรณ์เมื่อผู้ป่วยเสี ยชีวิต

จากการติดตามลงพื้นที่ร่วมกับ Hospis Malaysia ได้ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจำนวน 7 คน ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นโรคมะเร็ง ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางและอยู่กั บผู้ดูแล (คู่สมรส ลูกหลาน คนรับใช้) มีเพียง 1 รายที่ไม่มีญาติต้องอยู่ ในสถานสงเคราะห์ของวัด การลงพื้นที่พบว่าผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจในการอยู่บ้านที่มี พยาบาลมาเยี่ยมให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีเบอร์โทรด่วน 24 ชั่วโมง ที่สามารถติดต่อพยาบาลได้เมื่ อถึงเวลาฉุกเฉิน

ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่ างมากในการให้การสนับสนุน ในประเทศสิงคโปร์ รัฐให้เงินอุดหนุนแก่ชาวสิ งคโปร์ในการขอรับบริการดูแลที่ บ้าน โดยรัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ องค์กรการกุศลเป็นรายหัวของผู้ รับบริการ เงินอุดหนุนขึ้นอยู่กับระดั บรายได้ครอบครัวของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถครอบคลุมได้ประมาณร้ อยละ 80 ของค่าใช้จ่าย ส่วนที่เหลือนั้นองค์กรการกุศลรับผิดชอบเองโดยได้ มาจากการระดมทุนและเงินบริจาค

ทั้งนี้ ผู้ที่บริจาคเงินให้แก่องค์ กรการกุศลเหล่านี้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึงร้ อยละ 250 รัฐให้เงินสนับสนุนปีละ 200 เหรียญแก่ครอบครัวผู้ป่วยสำหรั บใช้ในการอบรมเพื่อมาเป็นผู้ดู แล สิ่งสำคัญมากของระบบในสิงคโปร์ คือ การมีผู้ทำงานด้านสังคมหรือที่ เรียกว่า social worker ที่ช่วยทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้ นจนจบในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่ วยและครอบครัว และการจัดการเรื่องเงินช่วยเหลื อ

กรณีของประเทศมาเลเซียนั้น รัฐไม่ได้ให้การสนับสนุ นทางการเงินและไม่จัดระบบการดู แลแบบประคับประคอง  Hospis Malaysia ใช้เงินบริจาคจากภาคเอกชน รวมทั้งการหารายได้จากการจัดกิ จกรรม เช่น วิ่งมาราธอน มาอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรับบริจาคยาที ่ไม่ใช้แล้วจากคนไข้ และนำไปแจกจ่ายให้ผู้ป่วยคนอื่ นใช้ การทำงานของ Hospis Malaysia เป็นระบบมาก ตั้งแต่กระบวนการหารายได้ การจ้างแพทย์และพยาบาล การจัดระบบยา การติดตามผู้ป่วยและการประเมิ นคนทำงานทุกคน หลักคิดที่สำคัญของผู้บริหารคือ องค์กรต้องเป็นมืออาชีพ ไม่ได้ต้องการคนจิตใจดีแต่ ทำงานไม่มีประสิทธิผล ผลงานขององค์กรต้องเห็นเป็นรู ปธรรมเพื่อให้ผู้บริจาคยินดีที่ จะสนับสนุนต่อไป ความก้าวหน้าขององค์กรตลอด 25 ปี เป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จหนึ่ งขององค์กรนี้

แม้ว่าประเทศไทยยังไม่มีการให้ บริการดูแลแบบประคับประคองที่บ้ าน แต่ก็คงยังไม่สายเกินไปที่ เราจะเริ่มสร้างระบบนี้ขึ้นมา และการที่เราเพิ่งเริ่มก็มีข้ อดีอย่างหนึ่งคือเราสามารถเรี ยนรู้จากประสบการณ์ของ ประเทศที่พัฒนามานานแล้ว ทำให้เราสามารถเลือกระบบและรู ปแบบการให้บริการที่เหมาะสมกั บบริบทของไทย บทบาทขององค์กรการกุศลในการดู แลแบบประคับประคองอาจเป็นทางเลื อกหนึ่งสำหรับประเทศไทย