3 องค์กรยื่นหนังสือ สนช. หวั่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ละเมิดเสรีภาพการแสดงออก

26 พ.ค. 2559 | 10:51 น.
Breaking-News เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เครือข่ายพลเมืองเน็ต และไพรเวซี อินเตอร์เนชั่นแนล (Privacy International) ส่งจดหมายถึงนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และพลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิ สามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... โดยในจดหมายระบุถึงข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกั บร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวที่กำลั งเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ รองประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... หรือ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล" ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปแล้ว และกำลังเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)โดยทั้งสามองค์กรมี ความความกังวลอย่างยิ่งต่อเนื้อหาในบางมาตราของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่อาจปิดกั้นสิทธิที่จะมีเสรี ภาพในการแสดงออกทางอิเล็กทรอนิกส์และสิทธิในความเป็นส่วนตัวของประชาชนที่ได้รับการส่งเสริ มและการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี

“เรามีความกังวลอย่ายิ่งในมาตรา 14 ที่อาจถูกตีความเพื่อใช้ ลงโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาทและดำเนินคดีอาญากับผู้โพสต์ข้อมูลทางออนไลน์ที่ “ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ดังนั้น การแสดงความเห็นที่ไม่ได้ก่อให้ เกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศก็อาจมีความผิดอาญาได้”

นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมื องเน็ตกล่าวเสริมว่านอกจากนั้ นในส่วนของมาตรา 15 ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการ (Internet Service Providers) ต้องรับโทษเท่ากับผู้ กระทำความผิดตามมาตรา 14 หากผู้ให้บริการไม่สามารถพิสู จน์ได้ว่าตนไม่ได้ให้ความร่วมมื อ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มี การกระทำความผิด ซึ่งเป็นการผลักภาระในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์แก่ผู้ให้บริ การ และอาจทำให้ผู้ให้บริการเซ็นเซอร์ตนเอง (self-censor) เพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทษปรับ ถูกสั่งระงับหรือยุติการดำเนินกิจการ อันจะเป็นการไม่เคารพสิทธิ ในเสรีภาพการแสดงออกของผู้อื่น

ส่วนมาตรา 20 เปิดช่องให้ผู้มีอำนาจสั่งระงั บการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน แม้ว่าไม่ได้ขัดต่อกฎหมายใดก็ ตาม

“นอกจากนี้เราขอเสนอให้สภานิติ บัญญัติแห่งชาติพิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยุติการเอาผิดกับประชาชนและหน่วยงานที่รับโทษและต้องคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกั บคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จากการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิ ในความเป็นส่วนตัวอย่างสงบ เพราะถือเป็นการละเมิดพันธกรณี ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยตกลงไว้” นายอาทิตย์กล่าว

ข้อมูลพื้นฐาน

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน

(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 20 ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ (1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

(3) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(4) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรหนึ่ง (4) ให้มีจำนวนห้าคนซึ่งสองในห้าคนต้องมาจากผู้แทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

การยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ การไต่สวนคำร้อง และการทำคำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง อาจกระทำได้ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ ระยะเวลาและแนวทางการปฏิบัติสำหรับการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันภายใต้พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป