มทร.ธัญบุรี เดินหน้า Start Up จัดอบรมผู้ประกอบการใหม่

25 พ.ค. 2559 | 00:54 น.
[caption id="attachment_56077" align="alignnone" width="503"] มทร.ธัญบุรี เดินหน้า Start Up จัดอบรมผู้ประกอบการใหม่ นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน SMEs ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งนั้น จึงได้เห็นชอบให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานส่งเสริม SMEs ระยะเร่งด่วนปี 2558 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (4P) รวม 13 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นงานที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริหารจัดการงานส่งเสริม SMEs ให้มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ดำเนินงานสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และมีการสร้างกลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุนให้ SMEs สา มทร.ธัญบุรี เดินหน้า Start Up จัดอบรมผู้ประกอบการใหม่
นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน SMEs ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งนั้น จึงได้เห็นชอบให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานส่งเสริม SMEs ระยะเร่งด่วนปี 2558 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (4P) รวม 13 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นงานที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริหารจัดการงานส่งเสริม SMEs ให้มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ดำเนินงานสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และมีการสร้างกลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุนให้ SMEs สา[/caption]

นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน SMEs ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจให้เกิดความเข้มแข็งนั้น จึงได้เห็นชอบให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานส่งเสริม SMEs ระยะเร่งด่วนปี 2558 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (4P) รวม 13 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นงานที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริหารจัดการงานส่งเสริม SMEs ให้มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ดำเนินงานสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และมีการสร้างกลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุนให้ SMEs สามารถเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตได้ตามวงจรธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงจัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) โดยทางมหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า โครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2559 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Start Up ราชมงคลธัญบุรี) เพื่อนำผู้ที่มีความสนใจจะประกอบธุรกิจ หรือผู้ที่เริ่มประกอบธุรกิจ นำมาเข้าสู่กระบวนการ พัฒนาศักยภาพ ซึ่งจะจัดให้มีนักวินิจฉัย ที่ปรึกษา การฝึกอบรม กิจกรรมส่งเสริมการตลาด กลุ่มเป้าหมายที่สามารถเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) จะต้อง อยู่ในสาขาภาคการผลิต หรือ ภาคการบริการ และต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างการศึกษา หรือ ใกล้จบการศึกษา หรือ จบการศึกษาไปแล้ว ทั้งประเภทการศึกษาภาคปกติ หรือ ภาคพิเศษ หรือ การฝึกอบรมต่างๆ บุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้เริ่มประกอบธุรกิจ หรือ เคยดำเนินธุรกิจมาแล้วแต่ปัจจุบันไม่ได้ดำเนินธุรกิจนั้นๆ หรือ บุคคลที่ตกงาน หรือ ไม่มีงานประจำทำอยู่ วิสาหกิจชุมชน หรือ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผู้ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน แต่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี นับถึงวันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยหากผู้ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบันดังกล่าวมีการจดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจเป็นนิติบุคคล จะต้องเป็นนิติบุคคลที่ยังไม่ได้ มีการจดทะเบียนเป็นผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
แนวความคิดในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในมุมมองของ มทร.ธัญบุรี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ “3S” ที่รัฐมุ่งส่งเสริม Start-Up SMEs Social Enterprise โดย Strat –Up ที่รัฐเน้นส่งเสริม 6 กุล่มหลัก ได้แก่ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) การเงิน (Fintech) การเกษตร (Agritech) การศึกษา (Edtech) การบริการ (Service) และ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Internet of things) สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ Start-Up ของ มทร.ธัญบุรี ประกอบด้วย การอบรมขั้นต้น 18 ชั่วโมง ได้แก่ พื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการ Digital Marketing กฎหมายที่ควรรู้ ฯลฯ การอบรมเชิงลึก 30 ชั่วโมง ได้แก่ การจัดทำแผนธุรกิจ กลยุทธ์ด้านต่างๆ ในการทำธุรกิจ กรณีศึกษาต่างๆ ฯลฯ และการบ่มเพาะ 4 – 6 เดือน ได้แก่ Coaching กลยุทธ์เชิงลึก การจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ การรับทุนสนับสนุน จาก Venture Capital ฯลฯ ซึ่งทาง มทร.ธัญบุรี ได้ดำเนินการมาถึงขั้นการอบรมผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) 2559 ระยะที่ 1 (Phase 1) ซึ่งจัดการอบรมให้กับนักศึกษา ประชาชา ที่ยังไม่มีธุรกิจ และที่มีธุรกิจ ทั้งหมด 7 รุ่น เพื่อทำการขั้นเลือกผู้ประกอบการใหม่เข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) 2559 ระยะที่ 2 (Phase 2) ต่อไป

ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร ผู้เข้าอบรมผู้ประกอบการใหม่โครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และ นวัตกรรม 2559 เล่าว่า เมื่อทราบว่าทางมหาวิทยาลัยมีโครงการดังกล่าวจึงสนใจเข้าร่วม เนื่องจากตนเองมีความสนใจในการริเริ่มเป็นผู้ประกอบการใหม่ สำหรับธุรกิจของตนเอง คือ “น้ำดื่มเกสรบัว” โดยเกสรบัวมีสรรพคุณทางยา มากมายเช่น การต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ โดยตัวสินค้ามีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ หรือ ผู้ที่สนใจทางสายบุญ ในการซื้อไปถวายพระ ในการเข้าอบรมโครงการครั้งนี้ “มองเห็นความชัดเจนของธุรกิจที่กำลังจะเริ่ม” ขอบคุณทางโครงการที่จัดโครงการอบรมขึ้นมา

ทางด้าน นางสาวพราววดี ทุมรัตน์ ผู้ประกอบการใหม่ในการทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพสำหรับยืดอายุผักผลไม้ เล่าว่า ธุรกิจที่ตนเองจะริเริ่มคือพลาสติกห่อหุ้มผักผลไม้ ยืดระยะเวลารักษาและเพิ่มอายุการเก็บรักษา 3 วัน 18 ชั่วโมงที่ได้เข้าร่วมโครงการ “ส่วนตัวมีความรู้ทางด้านตัวสินค้า แต่ยังขาดความรู้ทางด้านธุรกิจ” ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ตนเองคิดว่าธุรกิจของตนเองต้องได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการของ Star Up ของรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน

นายณัชพล ศิริพันธ์ และ นายจักรพันธ์ ลาดสูงเนิน เล่าว่า เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี ซึ่งในการเรียนมีการสอนการเขียนแผนธุรกิจ ตอนนั้นคิดว่าจะนำแผนธุรกิจที่เขียนมาต่อยอด บวกกับรัฐบาลมีโครงการ Star Up เป็นโครงการที่ดีมาก เหมือนเป็นช่องทางแหล่งข้อมูล และแหล่งลงทุน สำหรับธุรกิจที่จะทำ คือ เครื่องสำอางจากว่านตาลเดี่ยว โดยว่านตาลเดี่ยวมีงานวิจัยรองรับ ทำเป็นเซรั่มและโทนเนอร์ ว่านตาลเดี่ยวเป็นสมุนไพรไทย ถ้าได้รับการสนับสนุนจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่ง สำหรับการอบรมในครั้งนี้ได้รับความรู้มากมาย “วิธีการนำเสนอและช่องทางของธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ” สามารถนำไปปรับใช้ในธุรกิจได้

นางสาวกฤตตวัน กินรมย์ เล่าว่า ปัจจุบันคนไทยหันมาสนใจทางด้านสุขภาพมากขึ้น สินค้าทางด้านสุขภาพจึงมาแรง ตนเองจึงอยากผลิตสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงสนใจในการทำธุรกิจนำผักและผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงพยาบาล โดยสินค้าของตนเองเน้นคุณภาพ น้ำผลไม้ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด โดยผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด โดยใช้ตัวเครื่องมือที่สามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการ ในการอบรมวันนี้ทำให้ “เข้าใจและทราบลำดับขั้นตอนในการทำแผนธุรกิจ เห็นช่องทางการตลาด”