‘บินไทย’เปิดศึกดัมพ์ราคาสู้โลว์คอสต์รูตญี่ปุ่น

17 พ.ค. 2559 | 07:30 น.
“บินไทย” โตเกียวสู้ศึกโลว์คอสต์เปิดเว็บไซต์ดัมพ์ราคาแข่งแจงมีขายเพียง5 ที่นั่งต่อเที่ยวบิน ยันยังรักษามาร์เก็ตแชร์ตลาดพรีเมียร์ได้ถึง 52% สูงกว่าคู่แข่งแต่มีจุดอ่อนที่เปลี่ยนแอร์คราฟต์บ่อย โดยจะผนึกททท.โปรโมตตลาดเลดี้และเอสเอ็มอี ทั้งเร่งตั้งจีเอสเอในอเมริกาขายโค้ดแชร์ 2 เมืองใหญ่แอล.เอกับนิวยอร์ก จ่อศึกษาแผนเปิดบินเข้าฮอนโนลูลูรับทัวร์ญี่ปุ่นบินเที่ยวปีละ 2 ล้านคน

นายนนท์ กลินทะ ผู้อำนวยการ สำนักงานญี่ปุ่น เกาหลี และสหรัฐอเมริกา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เผยว่า จากการแข่งขันของธุรกิจการบินในเส้นทางบิน กรุงเทพ-ญี่ปุ่น และญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ที่รุนแรงขึ้นจากการเปิดเส้นทางบินของสายการบินต้นทุนตํ่า อย่างไทยแอร์เอเซีย เอ็กซ์การบินไทยจึงได้ใช้กลยุทธ์ในการทำราคาแข่งแต่จะมีเพียง 4-5 ที่นั่งในแต่ละเที่ยวบินเท่านั้นโดยเป็นการขายผ่านเว็บไซต์เดือนละ 7 วัน แต่ขายทุกเดือน ยกเว้นช่วงไฮซีซัน แต่ถ้าเป็นช่วงโลว์ซีซันอาจจะเพิ่มเป็น 10 ที่นั่ง เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด

“ตั้งแต่มีสายการบินต้นทุนตํ่า เปิดบินพบว่านักท่องเที่ยวคนไทย จะนิยมใช้บริการการบินจากเมืองไทยเข้าญี่ปุ่น ทำให้ผู้โดยสารการบินไทยลดลงไปบ้างราว10-15% ส่วนการลงไปเล่นราคาบางเดือน

นายนนท์ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้พบว่าผู้โดยสารจากตลาดญี่ปุ่นเปลี่ยนไปจากที่เคยเดินทางเป็นกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่ได้หันมานิยมเดินทางเป็นกรุ๊ปเล็กๆ 3-4 คน การบินไทยได้ร่วมกับบริษัทนำเที่ยวในการทำแพ็กเก็จขายเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ซึ่งมีสัดส่วนถึง 18%ในขณะที่กรุ๊ปทัวร์มีเพียง 3% เท่านั้นอีกทั้งยังร่วมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการโปรโมตตลาดกลุ่มผู้หญิงมีการทำตั๋วแบบเลดี้แฟร์ การทำตลาดเฉพาะเจาะจง นชิ มาร์เกต็ จบั ตลาดกอล์ฟ มีแผนบุกตลาดเมดิคัลรวมถึงการเจาะตลาดเอสเอ็มอีให้มากยิ่งขึ้นโดยโฟกัสไปที่ตลาดคอร์ปอร์เรต หลังพบว่าคนญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในประเทศแถบอินโดจีน ลาว เวียดนาม เมียนมาและลงทุนด้านไอทีในประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก โดยจะขายเป็นเน็ตเวิร์กเซล

“ปัจจุบันการบินไทยให้บริการ 73เที่ยวบินต่อสัปดาห์หรือมีจำนวนที่นั่ง 2.5หมื่นที่นั่งต่อสัปดาห์ มีอัตราบรรทุกอยู่ที่75-80 % มีสัดส่วนการขายผ่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 18 % แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเส้นทางบินนี้คือ มีการเปลี่ยนแบบเครื่องบินบ่อย ทำให้โปรดักต์ไม่นิ่งเป็นปัญหากับผู้โดยสารที่ใช้บริการ โดยพบว่าคนญี่ปุ่นเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยปีละ 1.2 ล้านคน ขณะที่คนไทยมาเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 7 แสนคนต่อปี”

นายนนท์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับเส้นทางสหรัฐอเมริกาหลังยกเลิกบินเส้นทางกรุงเทพฯ-แอลเอไปแล้ว ในเร็ว ๆ นี้จะมีการแต่งตังตัวแทนขายหรือจีเอสเอโดยจะมุ่ง 2 เมืองหลักคือ นิวยอร์กกับลอสแองเจลิส ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างสัญญาโดยตั้งเป้าจะขายแบบโค้ดแชร์เที่ยวบินกับสายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์สและเจแปนแอร์ไลน์ บินเข้านาริตะ แล้วต่อเครื่องการบินไทยเข้ากรุงเทพฯหรือเส้นทางบินอื่นๆ ขณะที่เส้นทางบินเกาหลีหลังหยุดบินแอลเอ อัตราบรรทุกลดลงไปบ้าง

อย่างไรก็ดียังมีแนวคิดที่จะเสนอให้ฝ่ายบริหารพิจารณาเปิดเส้นทางบินใหม่เข้า ฮอนโนลูลู หลังพบว่าคนญี่ปุ่นไปเที่ยวปีละ 2 ล้านคนรองจากประเทศไทยซึ่งถ้าเราได้ส่วนแบ่งการตลาดแค่ 3% ก็ทำให้มีอัตราบรรทุกถึง 75% สำหรับเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 777 ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเร็วๆ นี้ ตลาดญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบเพราะเมืองฟุกุโอกะ ไม่ได้เสียหายสนามบินยังเปิดให้บริการปกติมีเพียงกรุ๊ปทัวร์จากเมืองไทยกว่า 900 คนที่เปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปเที่ยว โตเกียวนาโกยาแทน แต่ไม่ได้ยกเลิกการเดินทางนายนนท์กล่าวในที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,157 วันที่ 15 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559