ศิลปะใต้ท้องทะเล ‘เกาะเต่า’

13 พ.ค. 2559 | 07:00 น.
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธรรมชาติใต้ท้องทะเล ถูกทำลายลงอย่างน่าใจหาย การออกมารณรงค์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อป้องกันผลกระทบรบกวนจากปะการังฟอกขาวรุนแรงในปี 2559 ที่คาดว่าจะเสียหายถึง 80% อันเกิดจากการรบกวนธรรมชาติรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งสมอลงแนวปะการัง ไม่ทิ้งขยะลงทะเล โดยเฉพาะพลาสติกหรือแม้แต่เศษอาหาร ตกปลา เลี้ยงอาหารปลา และจับสัตว์น้ำมาเล่นในเขตอุทยานทางทะเลต่างๆ ก็เป็นเรื่องของการปลุกจิตสำนึกที่ดี

[caption id="attachment_51713" align="aligncenter" width="700"] วาเลครี กูร์ตาร์ วาเลครี กูร์ตาร์[/caption]

ขณะเดียวกัน ณ โลกใต้ทะเล "เกาะเต่า" แหล่งดำน้ำเลื่องชื่อของฝั่งอ่าวไทย ทั้งการดำน้ำตื้น (Skin Diving) และดำน้ำลึก (Scuba Diving) มีเรื่องการอนุรักษ์ดีๆ ที่น่าชื่นชม กับการรังสรรค์ศิลปะใต้ท้องทะเล ของ "วาเลครี กูร์ตาร์" (Valérie Goutard) หรือ "วาล" (Val) ศิลปินประติมากรรมสำริดชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงด้านประติมากรรมอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ ได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติ จึงได้ผลิตชิ้นงาน ศิลปะที่มีต่อธรรมชาติและทะเลภายใต้ชื่อ "Ocean Utopia – Underwater Evolutionary Sculptures by Val" ขึ้นเป็นครั้งแรก

[caption id="attachment_51717" align="aligncenter" width="700"] วาเลครี กูร์ตาร์ วาเลครี กูร์ตาร์[/caption]

ผลงานชิ้นนี้ "วาล" ได้ร่วมกับ " New Heaven Reef Conservation Program (NHRCP)" โครงการอนุรักษ์ทางทะเลที่มุ่งวิจัยและฟื้นฟูแนวปะการัง เพื่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแนวปะการัง ซึ่งเจ้าตัวมองว่าเป็นโครงการที่สร้างศิลปะและช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติโดยไม่แสวงหากำไร

[caption id="attachment_51712" align="aligncenter" width="700"] วาเลครี กูร์ตาร์ วาเลครี กูร์ตาร์[/caption]

ผลงาน "Ocean Utopia" จัดว่าเป็นงานศิลปะ ที่ผสมผสานกันระหว่างสำริด คอนกรีต และปะการังไว้ด้วยกัน โดยจัดว่าเป็นประติมากรรมขนาดอนุสาวรีย์ ที่ผสมผสานผลงาน 3 สิ่งดังกล่าวเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งตั้งอยู่ในเขตสงวนและคุ้มครอง เพื่อการเก็บรักษา และการฟื้นฟูแนวปะการังทางตอนใต้ของเกาะเต่า ถือเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งยังช่วยเพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมในสังคม รวมถึงเป็นการช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมและความสวยงามทางธรรมชาติของเกาะเต่า

หลัง "Ocean Utopia" ใช้เวลาเตรียมงานมานานเกือบปี ในการสร้างสรรค์ศิลปะสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ที่เชื่อมโยงมนุษย์กับปะการัง ปัจจุบันผลงานดังกล่าวได้ถูกนำไปติดตั้งใต้น้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งการคาดหวังของเจ้าตัวในอนาคตว่า " ศิลปะที่เราสร้างขึ้นจะสามารถฟื้นฟูแนวปะการังที่มีได้เป็นอย่างดี"

[caption id="attachment_51714" align="aligncenter" width="500"] โครงการปะการังเทียม โครงการปะการังเทียม[/caption]

ด้านนายสเปนเซอร์ อาร์โนลด์ หัวหน้าโครงการปะการังเทียม New Heaven Reef Conservation Program (NHRCP) สะท้อนมุมมองว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิเปลี่ยน ประกอบกับคนส่วนใหญ่รบกวนและทำร้ายธรรมชาติมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้แนวปะการังทั่วโลกได้รับความเสียหายจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทย แต่ด้านของเกาะเต่ายังโชคดีที่แนวปะการังยังค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากชาวประมงที่นี่เลือกใช้เชือกแทนการใช้สมอเรือโยนลงทะเลจนก่อให้เกิดแนวปะการังเสียหาย ดังนั้นจึงอยากให้นักท่องเที่ยวทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติไว้"

[caption id="attachment_51715" align="aligncenter" width="500"] โครงการปะการังเทียม โครงการปะการังเทียม[/caption]

ใครมีแพลนไปดำน้ำแถวเกาะเต่า ลองสังเกตดีๆ อาจจะเห็นศิลปะโลกใต้ทะเลของวาล ที่เธอได้สร้างประติมากรรมขนาดอนุสาวรีย์ ที่กำลังจะกลายเป็นบ้านหลังใหม่ขนาดใหญ่ สำหรับปะการังบนผืนทะเลอ่าวไทย

[caption id="attachment_51716" align="aligncenter" width="500"] โครงการปะการังเทียม โครงการปะการังเทียม[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,156 วันที่ 12 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559