เอ็นจีโอ ชูหัวหินโมเดล สร้างมาตรการกฎหมายเข้ม

02 พ.ค. 2559 | 07:33 น.
Breaking-News นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวั งกลยุทธ์ธุรกิจเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์ กล่าวถึงเหตุการณ์นักท่องเที่ ยวโดนทำร้ายจากคนเมา ที่อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนเป็นข่าวเสื่อมเสียไปทั่วโลกว ่า จากกรณีดังกล่าวแท้จริงแล้วเป็ นหนึ่งในร้อยพันปัญหาระหว่ างเทศกาลสงกรานต์ ตามข้อมูลมีหลายจังหวัดที่เกิ ดเหตุบาดเจ็บล้มตาย จากการถูกทำร้าย อุบัติเหตุ ข่มขืนนักท่องเที่ยว ฯลฯ ชี้ให้เห็นปัจจัยที่เกิ ดจากผลของการดื่มเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์ กรณีที่หัวหินแม้จะเป็นกรณีเล็กแต่ สร้างภาพลักษณ์ส่งผลเสียต่อประเทศขยายกว้างไประดับชาติ ในการปล่อยปละละเลย ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งการจำหน่ายแอลกอฮอล์ หละหลวม จนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่สำคัญ ซึ่งยืนยันว่าเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์ไม่ใช่หัวใจของการท่ องเที่ยว เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดภั ยกับนักท่องเที่ยว และแนวคิดของผู้หลักผู้ใหญ่ ในประเทศที่ว่า ถ้าเราเข้มงวดการใช้กฎหมายต่อธุ รกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เสียบรรยากาศการท่องเที่ ยว จึงไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง เพราะต้องเข้าใจว่า นักท่องเที่ยวมากมายเขาไม่ได้ มากินเหล้า แต่เขามาดูความงามของธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมในประเทศ

“ผู้ว่าฯ ไม่ใช่แค่ตามหาเอาผิดคนถ่ายคลิป แต่ต้องทำให้ความจริงเปิดเผยต้ นตอ สาเหตุที่แท้จริงของพฤติ กรรมคนร้ายที่กระทำ คือต้องเอาบทเรียนเหตุการณ์ที่ หัวหินชูเป็นโมเดล คนที่มาเที่ยวต้องปลอดภัย รัฐจะต้องควบคุม กลไกรัฐต้องบังคับใช้เพื่ อลดและป้องกัน ขณะเดียวกันนักท่องเที่ ยวจะปลอดภัยได้อย่างไร เมื่อปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือเหล้า ยังไม่มีมาตรการที่จริงจัง แม้คนก่อเหตุสารภาพว่าเมา แต่ภาพลักษณ์ของประเทศเสี ยหายไปแล้วกู้คืนไม่ได้ และธุรกิจน้ำเมา รับเงินไป แต่ไม่เคยรับผิด หรือชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้ นกับประเทศ ฉะนั้นต้องมีมาตรการป้องกันเชิ งรุก ทั้งการจัดจำหน่าย การบริโภค การบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มข้น” นายคำรณ กล่าว

นายคำรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอตั้งขอสังเกตุการดำเนิ นงานนโยบายประชารัฐ ที่มีนายทุนน้ำเมาเข้ามาเป็นส่ วนหนึ่งในการผลักดันด้วยนั้น รัฐบาลเดินหน้าประชารัฐ ท่องเที่ยวปลอดภัย และต้องยั่งยืนถึงจะเข้มแข็ง แต่ปัจจัยกระตุ้นหลักความเข้ มแข็งของประชารัฐ ชูธงโดยเจ้าสัวธุรกิจน้ำเมา ซึ่งขณะนี้เรากำลังติดตามทุนน้ ำเมาที่เข้ามา ว่าหลังจากนี้ต่อไปจะมีผลต่ อกฎหมาย เพื่อหนุนการตลาดทางธุรกิจหรื อไม่ เพราะสังเกตได้ว่าตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีการตลาดเชิงรุกที่เห็นได้อย่ างสำคัญ เช่น การจัดคอนเสิร์ตลงไปในพื้นที่ ตำบล อำเภอทั้งที่ในอดีตจะเจาะแค่เมื องใหญ่ๆ และการจัดกิจกรรมการตลาด แข่งขันกันอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าชนหัวชนท้าย ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน อย่างไรก็ตาม ปรากฎการณ์เหล่านี้น่าจับตาเพื่ อช่วงชิงการถือครองการตลาด รักษายอดขาย หลังจากพวกนายทุนเข้ามาชู ธงแนวหน้าเคลื่อนงานประชารัฐ จะมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายหรื อไม่ ในเรื่องแอลกอฮอล์ การเข้ามาของเจ้าสัวน้ำเมา จะนำไปสู่การปฎิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เอื้อต่ อผลประโยชน์ของธุรกิจน้ำเมาหรื อไม่

ด้านนาย วิษณุ  ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิ งรุกเพื่อทดแทนธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หัวหิ นเป็นปัญหาร่วมของทั้งสังคม ส่วนใหญ่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีความกังวลเรื่องอุบัติเหตุ ความสูญเสียบนท้องถนน ตัวเลขบาดเจ็บเสียชีวิต แต่จริงๆแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสาเหตุหลัก คือ แอลกอฮอล์บนท้องถนน จนนำมาสู่ความรุนแรงสูญเสี ยจำนวนมากทุกๆปี ที่ผ่านมาเรามีโซนนิ่งพื้นที่ ปลอดภัย ห้ามขาย แต่ขณะนี้กลุ่มทุนปรับเปลี่ ยนกลยุทธ์การตลาดหันมาจัดกิ จกรรมในรูปแบบคอนเสิร์ตร่วมกั บห้างต่างๆในพื้นที่ใกล้ๆกับที่ จัดโซนนิ่ง ขณะเดียวกันยังทำกิจกรรมร่วมกั บดีลเลอร์ขายปลีกโดยตรง มีพริ้ตตี้ มีเพลง ในร้านเหล่านั้น ประกอบกับปีนี้อากาศร้อนจัด จึงมีการจัดสงกรานต์เล่นกลางคืน เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีเพราะเขาถื อว่าหมดเวลาปฎิบัติหน้าที่ และการตรวจคนเป็นพันๆในคอนเสิร์ ตก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆดังนั้ นควรยกเลิกการจัดงานสงกรานต์ช่ วงกลางคืน หามาตรการควบคุมเชิงรุก กับการจัดงานสงกรานต์ช่วงกลางคื น โดยเฉพาะการไม่อนุญาตให้ธุรกิ จแอลกอฮอล์จัดกิจกรรมส่งเสริ มการขายทุกรูปแบบในช่วงเทศกาลปี ใหม่และสงกรานต์ ซึ่งเป็นไปเจตนารมณ์ของพรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป้าหมายร่วมของสังคมหน่ วยงานต่างๆ ที่ผนึกกำลังทำงานอย่างหนักเพื่ อลดจำนวนคนเมาบนท้องถนน

“ความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่ มทุนน้ำเมาจะทำอย่างไร ที่เหล้าขวดเดียวกระทบภาพลักษณ์ ของประเทศขนาดนี้ อย่าลืมว่าประเทศไทยมีเรื่องอุ บัติเหตุถูกจัดเป็นอันดั บ2ของโลก แล้วมาพ่วงกับเรื่องไม่ปลอดภัย บ้านเราก็คงไม่ใช่ Land of smile แต่เป็น Land of dangerous แน่นอนว่า รัฐไม่สามารถให้ยุติการขายในช่ วงเทศกาลได้ แต่ต้องหนุนให้มีมาตรการโซนนิ่ง เพิ่มพื้นปลอดภัยกระจายไปให้ มากที่สุดเพราะมันช่วยควบคุมได้ จริง รวมทั้งส่งเสริมมาตรการชุมชนหยุ ดขาย1วัน ซึ่งชุมชนสามารถดำเนินการได้จริ งโดยมีตัวอย่างร้านค้าและผู้ ประกอบการในพื้นที่ จ.ตราด จ.สุรินทร์ จ.ชุมพร รวมทั้งในพื้นที่ Zoning เล่นน้ำและถนนตระกูลข้าวต่างๆ กว่า1,000 ร้าน ที่แสดงเจตจำนงค์ร่วมงดขายในปี นี้" นายวิษณุ กล่าว