รัฐเทงบกว่า2หมื่นล้านหนุนสตาร์ทอัพไทยสู่อินเตอร์

22 เม.ย. 2559 | 23:39 น.
IMG_20160422_121033 รัฐเตรียมจัดหนักงบกว่า 2 หมื่นล้าน ส่งมอบกระทรวงวิทย์และกระทรวงไอซีที ผลักดันสตาร์ทอัพไทย เดินหน้าสู่ตลาดอาเซียน และตลาดโลก รมว.กระทรวงวิทย์ จัดทำโครงการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ กับ "กองทุนหมื่นล้าน"ขณะที่กระทรวงไอซีที นำเสนอร่างพรบ.จัดสรรงบก้อนใหญ่ 2.5 หมื่นล้าน แบ่ง 1 หมื่นล้านตั้งกองทุนหนุนสตาร์ทอัพ และอีก 1.5 หมื่นล้าน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนกองทุนเพื่อการร่วมทุน กู้ยืมอละวิจัย หวังดันสตาร์ทอัพไทย เดินสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก

IMG_20160422_121108 ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า หลังจากได้จัดทำสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ หรือไทยเทคสตาร์ทอัพแล้ว ช่วงที่ผ่านมา งานด้านสตาร์ทอัพเริ่มเดินหน้าไปด้วยดี ถือเป็นความหวังใหม่ New Economic Platform หรือฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ เป็นมิติใหม่ที่เราจะก้าวหน้าไปอย่างมาก

"ตรงนี้เป็นทางออกของประเทศที่สำคัญ 1.เรามีพลังสมองมากมาย 2.ประชาชนของเราเข้มแข็ง ยิ่งมีเรื่องประชารัฐ ที่รัฐกับเอกชนมาทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเอกชน ตรงนี้เป็นมิติที่จะทำให้ไทยเข้มแข็ง ไม่ใช่เป็นแค่การวางแผน ถือเป็นการงานร่วมกัน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เกิดความยั่งยืน มีความหมายจริงๆ" ดร.พิเชษฐ กล่าว

IMG_20160422_121201 พร้อมกันนี้ยังสร้างสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาและปูพื้นฐานสตาร์ทอัพ ทำเป็น Eco System ที่ชัดเจน ซึ่งจะเสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้ จะเปนการเตรียมพร้อมด้านระบบทุน รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้จัดสรรกองทุนเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งคือ การใช้ธนาคารรัฐส่งเสริม เช่น ออมสิน กรุงไทย เอสเอ็มอีแบงค์ สนับสนุนเงินทุกส่วนหนึ่งเพื่อช่วยสตาร์อัพแห่งละ 2 พันล้านบาท อีกส่วนคือ มีกองทุนอื่นๆ ที่ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน เรียกว่า "กองทุนหมื่นล้าน" ที่กระทรวงการคลังกำลังเร่งพิจารณาระบบการจัดสรรงบ

รัฐบาลยังมีนโยบายและวางแผนจะทำเขต Startup หรือ Startup District ให้กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการเจรจาไปแล้วบงส่วน เช่น ที่ สยามสแควร์ วัน มีการจัดพื้นที่ให้นักลงทุนไ ด้พบปะกับบรรดาสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง หรือในส่วนภูมิภาค คือ ที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยหวังว่า จะช่วยผลักดันด้านการตลาดให้สตาร์ทอัพไทย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในประเทศ แต่สามารถขยายออกไปได้ทั้งในอาเซียน และระดับโลก

นอกจากนี้ ยังให้ภาคเอกชนมาลงทุนในระบบสตาร์ทอัพของภาครัฐด้วย ในส่วนที่เรียกว่า "ระบบ Venture Capital" ในส่วนนี้รัฐจัดสรร สิทธิประโยชน์จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ประสงค์จะเป็นผู้ลงทุนให้กับบรรดาสตาร์ทอัพ มีแรงจูงใจให้มาลงทุนได้ เป็นการเอื้ออำนวยทางด้านการเงิน เช่น มีการลดหย่อนจากภาษีจากการลงทุน หรือ ลดหย่อนภาษีในส่วน Capital Gain หรือกำไรจากการขายหลักทรัพย์

IMG_20160422_114831 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า การสนับสนุน Startup ในการดำเนินงานด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที โดยรัฐบบาลจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 2.5 หมื่นล้านบาท จากทั้งหมด 26 โครงการ ทั้งการวางระบบพื้นฐาน โครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน ที่มีงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ขับเคลื่อน ให้ประเทศไทยมีไฮสปีดอินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ครอบคลุมทั้ง 7.6 หมื่นหมู่บ้าน ภายใน 2 ปี

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 พระราชบัญญัติแผนแม่บทดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ซึ่งกระทรวงไอซีทีนำเสนอผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ผ่านการอนุมัติเรียบร้อย และในวันที่ 29 เมษายน 2559 นี้ จะนำเสนอวาระแรกต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ซึ่งจะนำเสนอก่อน 3 ฉบับ จากพ.ร.บ.ทั้งหมด 6-7 ฉบับ

IMG_20160422_120737 "คราวนี้ใช้จริง เมื่อกฎหมายแผนแม่บทฉบับใหญ่ออก แต่ละกระทรวงต้องทำแผนดิจิตอลให้สอดรับกับแผนใหญ่ มีคณะกรรมการดิจิตอลแห่งชาติที่จะเกิดขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมเข้ามา มีองค์กรใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และมีนโยบายชัดเจน เรื่องการบ่มเพาะการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งก็คือเรื่องสตาร์ทอัพ" ดร.อุตตม กล่าวและว่า

เมื่อกฎหมายแม่บทผ่าน ฉบับแรกที่เสนอ เกี่ยวกับการการตั้งกองทุนอีกหมื่นล้านบาท หรือเรียกว่า "กองทุนดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม" โดยเงินทุนส่วนหนึ่งมาจากงบสนับสนุนจากภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งมาจาก กสทช. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ เงินกองทุนส่วนนี้ จะใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมด้านดิจิตอลที่จะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม ก็คือ 1.การพัฒนาคนหรือสตาร์ทอัพนั่นเอง หรือคนที่ทำอยู่แล้ว ต้องการพิ่มทักษะเรื่องดิจิตอล 2.พัฒนาตัวเทคโนโลยี 3. การวิจัยพัฒนา ซึ่งรูปแบบการใช้กองทุน สามารถทำได้ทั้งการไปร่วมทุน กู้ยืม หรือให้เป็นเงินทุนวิจัย

ส่วนร่าง พ.ร.บ.อีก 2 ฉบับ คือ กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่เป็นกฎหมายเก่าที่ใช้มานาน จะมีการพัมนาปรับปรุงขึ้นใหม่ เพื่อให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ คาดว่ากฎหมายที่ 3 ฉบับ จะผ่านความเห็นชอบจาก สนช.และสามารถจัดตั้ง "กองทุนดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม" จำนวนหมื่นล้านบาท ได้ภายในสิ้นปีนี้

IMG_20160422_120716 ด้านโครงการบ่มเพาะพัฒนากำลังคนนั้น ขณะนี้กระทรวงไอซีทีได้มีการพูดคุยกัน 3 ฝ่าย ก็คือ กระทรวงวิทย์ สวทช. และเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาบางส่วน อาทิ คณวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจสนับสนุน ดิจิตอลครีเอทีฟด้านการแพทย์ สุขภาพ และการท่องเที่ยว, สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง สนใจเรื่องของหุ่นยนต์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สนใจเรื่อง การสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) หรือครีเอทีฟ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สนใจเรื่องครีเอทีฟคอนเทนต์ เป็นต้น

สำหรับการผลักดันในครั้งนี้ ถือเป็นการจับมือกันระหว่างกระทรวงต่างๆ 11 กระทรวง และภาคเอกขน เพื่อผลักดันสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่ โดยมีการจัดงาน “Startup Thailand 2016” ภายใต้แนวคิด “Unite to Rise” หรือ “รวมพลัง Startup เพื่อก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทย” ระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “วิสัยทัศน์และพลังสร้างชาติด้วย Startup Thailand” โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ “การขับเคลื่อน Startup Thailand : ฐานเศรษฐกิจใหม่ของไทย” โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ "Creative Economy : A Platform for Korean Startup Development" โดย ชเวยางฮี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวางแผนอนาคต ประเทศเกาหลีใต้ และยังเปิดเวทีสัมมนาโดยเชิญ Startup ที่มีเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศกว่า 10 ประเทศ อาทิ หัวข้อ “Startup & New Investment Opportunities in Asia” โดย นายเดฟ แมคเคลอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง “500Startups”รวมถึงหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ IMG_20160422_120627 IMG_20160422_120847 IMG_20160422_120915 IMG_20160422_121033