ก.แรงงานจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ประชาคมอาเซียนและผลกระทบประกันสังคม

21 เม.ย. 2559 | 12:07 น.
Breaking-News ก.แรงงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก้าวสู่องค์กรประกันสังคมชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน”พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและผลกระทบด้านต่างๆ ต่อการประกันสังคม “รมว.แรงงาน” หวังระดมความคิด เพื่อยกระดับและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ สปส. ให้เป็นไปในทิศทางที่ เหมาะสมสอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียน

นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก้าวสู่องค์กรประกันสังคมชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน” (SSO Summit: Becoming the leading Social Organization in ASEAN Region) ซึ่งจัดโดยสำนักงานประกันสังคม ณ โรงแรมริชมอนด์ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี ว่า การประกันสังคมเป็นเรื่องที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อลูกจ้างและผู้ ประกันตนจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งจากการที่มีพระราชบัญญัติ ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุ เบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม  2558 คสช. ได้มีคำสั่งที่ 40/2558 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประกั นสังคมชุดใหม่ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ ยนแปลงและการวางรากฐานของการปฏิ รูประบบประกันสังคมเพื่อให้มี ความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นายจ้ าง ลูกจ้างและผู้ประกันตน สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติ การในครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มี การวางรากฐานระบบประกันสั งคมของประเทศไทยให้ไปสู่การเป็ นองค์กรประกันสังคมชั้นนำในภูมิ ภาคอาเซียน ซึ่งการที่จะกำหนดแผนการก้ าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้ นนำของภูมิภาคได้นั้น มีความจำเป็นต้องมีความรู้ มีความเข้าใจเรื่องของการเป็ นประชาคมอาเซียน เพื่อรับมือกับผลกระทบและความท้ าทายจากการรวมตัวของอาเซียน โดยเฉพาะผลกระทบจากการเคลื่อนย้ ายแรงงาน รวมถึงการเคลื่อนย้ ายของสถานประกอบการต่างชาติที่ จะเข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทย หรือมีการย้ายฐานการผลิ ตไปในประเทศอื่น

ทั้งนี้ ในการเตรียมการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน กระทรวงแรงงานได้มีการดำเนิ นการตามนโยบายของรัฐบาลเพื่ อรองรับแผนการจัดตั้ งประชาคมอาเซียน โดยได้กำหนดนโยบายเพื่อให้มี ความเชื่อมโยงกั บแผนประชาคมอาเซียนดังกล่าว  อาทิ การพัฒนาแรงงานของภาคอุ ตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ทั้งแรงงานวิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานทั่วไป โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิ ดผลในทางปฏิบัติโดยคำนึงถึ งความเป็นเอกภาพกั บระบบมาตรฐานฝีมื อแรงงานและมาตรฐานวิชาชีพใน 8 กลุ่มอาชีพที่มีข้อตกลงการเปิ ดเสรีในอาเซียนควบคู่ไปกั บการวางแผนด้านการผลิตเพื่อให้ มีจำนวนที่เพียงพอ กำหนดแผนงานการยกระดับฝีมื อแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี ศักยภาพและอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเข้มข้น การส่งเสริมการพั ฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมื อแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่ าจ้างแรงงาน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับนานาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทและการใช้ โอกาสของประเทศไทยในประชาคมอาเซ ียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิ ตประชาชนชาวไทยร่วมกั บประชาคมอาเซียน โดยกลุ่มที่ให้ความสำคัญคือกลุ่ มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาได้มีการหารือในระดั บทวิภาคีกับเอกอัครราชทูตในกลุ่ ม CLMV เพื่อขอรับทราบข้อมูลความคิดเห็ นเกี่ยวกับสภาพการทำงานของทั้ง 4 สัญชาติที่มาทำงานในประเทศไทย รวมทั้งได้มี การกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่ างกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกั น โดยได้มีการเร่งรัดจัดทำบันทึ กความเข้าใจ  (MOU) และข้อตกลง (Agreement) โดยได้มีการลงนามไปแล้วกั บประเทศเวียดนาม และกัมพูชา ส่วนเมียนมา และลาวอยู่ในระหว่างการดำเนิ นการ ที่ผ่านมาประเทศที่ไทยได้มี การหารือแล้ว กับ สปป.ลาว ในเรื่องของระบบประกันสังคม ในปีหน้าประเทศไทยจะเป็นเจ้ าภาพจัดการประชุมเรื่ องระบบประกันสังคมของอาเซียนทั้ งหมด อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญที่ ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างความคุ้ มครองทางสังคมให้มีความครอบคลุม ลดความเหลื่อมล้ำ และความแตกต่างระหว่างสิทธิที่ ได้รับจากระบบความคุ้มครองทางสั งคมของประชาคมกลุ่มต่างๆ ด้วย

“การนำไปสู่ความท้าทายในการสร้ างความสมดุลระหว่างสถานะกองทุ นกับการดูแลสิทธิประโยชน์ ของแรงงานและผู้ประกันตน การเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ เช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์ กรราชการหรือเอกชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้ องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถจั ดการกับปัญหาและสิ่งท้าทายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการปฏิรูป โดยผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกั นระดมความคิดเพื่อยกระดั บและกำหนดทิศทางการดำเนิ นงานของสำนักงานประกันสังคมให้ เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมสอดคล้ องกับการเป็นประชาคมอาเซียน โดยมียุทธศาสตร์อาเซียนที่สำนั กงานประกันสังคมได้จัดทำขึ้นเป็ นกรอบแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้ มีความเท่าเทียม ให้มีความรู้เท่าทัน เศรษฐกิจและการเมือง และมุ่งไปสู่การรวมตัวกันของภู มิภาคร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซี ยนได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งยุทธศาสตร์อาเซียนที่สำนั กงานประกันสังคมได้กำหนดสิ่งที่ ต้องทำ ขอให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าต้ องทำอย่างไร (How to do) เพื่อที่จะให้บรรลุสู่เป้ าหมายที่กำหนดไว้

“พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเสมอว่า หากปราศจากความร่วมมือของเรากั นเอง ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มแม่น้ำโขงหรือกลุ่ มประเทศในอาเซียนก็จะไม่ ประสบความสำเร็จ ทุกอย่างต้องเชื่อมโยงกันหมด ทุกคนว่าไม่มีใครนำใคร แต่เป็นการมาร่วมมือกันและเดิ นไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน เป็นการสร้างความเข้มแข็งตั้ งแต่ภายในออกไปสู่ภายนอก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่  1) ประชาคมการเมืองและความมั่ นคงอาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงหลายประการอันส่ งผลกระทบต่อระบบประกันสังคมในหลายด้าน ทั้งด้านการบริการ การให้ความคุ้มครอง รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ท้าทายได้อย่างทันท่วงที

อย่างไรตาม สำนักงานประกันสังคมยังได้มี การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ ยนแปลงของภูมิภาคอาเซียนในการเป็นประชาคมอาเซียน จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติ การในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  และนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของสำนั กงานประกันสังคมในทิศทางที่เหมาะสม และเป็นรูปธรรม