อากาศร้อนจัด การใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 28,351.7 เมกะวัตต์

19 เม.ย. 2559 | 11:16 น.
Breaking-News กฟผ. เผยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดทำลายตั วเลขพีคเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2559 ที่ 28,351.7 เมกะวัตต์ สาเหตุสำคัญมาจากอากาศที่ร้ อนอบอ้าวกว่า 36.6 องศาเซลเซียส ขอความร่วมมือประชาชน “ปิด – ปรับ – ปลด เปลี่ยน” ลดการใช้ไฟฟ้าหน้าร้อนนี้

นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า วันนี้(19 เมษายน 2559) เวลา 14.17 น.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ พีค (Peak) อยู่ที่ 28,351.7 เมกะวัตต์ ทำลายตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุ ดในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 จากพีคครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 27,639.3 เมกะวัตต์ สาเหตุสำคัญมาจากสภาพอากาศที่ร้ อนอบอ้าว โดยวันนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 36.6 อาศาเซลเซียส และเป็นช่วงวันทำงานปกติหลั งจากการหยุดเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคอุ ตสาหกรรม บริการ และบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม กฟผ.ได้เตรียมกำลังผลิตไฟฟ้ าและเชื้อเพลิงเพียงพอกับความต้ องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือประชาชนช่วยกั นประหยัดไฟฟ้าตามมาตรการ “ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน” วันละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 20 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2559 โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรั บอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ ใช้งาน และเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ที่ ประหยัดไฟฟ้า ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่ วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้ าของประเทศได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 21.00 น. พีคของภาคใต้ 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาอยู่ที่ 2,630 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 5 หรือ 125 เมกะวัตต์ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าว มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้ น และการใช้ไฟฟ้าใน 14 จังหวัดภาคใต้ ส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยทำลายสถิติเดิมมาแล้วถึง 10 ครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้าสู งสุด ได้แก่ สงขลา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่ ในส่วนของระบบผลิตไฟฟ้า ได้มีการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ าในภาคใต้ จำนวน 2,225 เมกะวัตต์ และรับซื้อไฟฟ้าจากภาคกลาง อีกจำนวน 375 เมกะวัตต์ ซึ่งในขณะนี้ยังสามารถรองรั บความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ แต่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุ ดของภาคใต้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่ อง และคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้ นอีกในอนาคต ภาคใต้จึงจำเป็นต้องมีแหล่งผลิ ตไฟฟ้าในพื้นที่โดยใช้เชื้อเพลิ งที่เหมาะสม โดยไม่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติ หรือเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ งมากเกินไป เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเป็ นสำคัญ