ประกบคู่ 2 ซีอีโอค่ายมือถือหลัง 4G แจ้งเกิด

20 เม.ย. 2559 | 06:00 น.
ถึงวันนี้ต้องบอกว่าการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีในประเทศไทยแจ้งเกิดแล้วเป็นการแจ้งเกิดจากการที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2100,1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์

อย่างไรก็ตามวันจัดสัมมนา 4จีมาใครได้ประโยชน์? ซึ่งหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจได้จัดสัมมนาไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสองบิ๊กค่ายมือถือ คือ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้สะท้อนถึงทิศทางหลังจากการเปิดให้บริการ 4 จี โดยมี นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ เอไอเอส และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู ติดตามอ่านจากบรรทัดถัดจากนี้

 ทิศทางธุรกิจของเอไอเอส

วันนั้น"สมชัย" ระบุชัดเจนว่าเอไอเอส เป็นผู้นำโมบาย มาตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ว่าวันนี้ตัวเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปเป็น ดังนั้น เอไอเอส จะเป็นผู้นำโมบายอย่างเดียวไม่เพียงพอ เอไอเอส ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้ให้บริการโมบายเป็นดิจิตอลไลฟ์ ทั้งกับคู่ค้า ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำเอาเรื่องดิจิตอลต่างที่เกิดขึ้นในโลกส่งผ่านไปยังผู้ใช้บริการของเรา

โดยสิ่งที่ เอไอเอส ทำด้วยกัน 3 ก้อน คือ ก้อนแรกทำธุรกิจโมบายให้แข็งแรง และเพิ่มเติมฟิกบรอดแบนด์จากอดีตไม่เคยทำเลยแต่ตอนนี้เราต้องทำฟิกบรอดแบนด์เข้ามาเสริม เมื่อลูกค้ากลับบ้านมีฟิกบรอดแบนด์ไว้ใช้งานได้ ก้อนที่สองถือว่าเป็นก้อนสำคัญ คือ ดิจิตอลคอนเทนต์แอนด์แอพพลิเคชัน จำเป็นอย่างยิ่งต้องมี ถ้าเรามีอินฟราสตรักเจอร์ของโมบายและฟิกบรอดแบนด์ที่แข็งแรงแล้ว แต่ถ้าขาดคอนเทนต์หรือแอพที่ดีการขับเคลื่อนจะไม่มีเลย

แต่สิ่งที่ เอไอเอส จะทำจะไม่ลงทุนทำคอนเทนต์ด้วยตัวเองจะสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ทำดิจิตอลคอนเทนต์และดิจิตอลแอพพลิเคชัน สามารถนำพาสินค้าเข้ามาส่งผ่านเข้ามาได้ เราเองมีความเชื่อมว่าเราไม่มีโอกาสมากเพียงพอในเรื่องคอนเทนต์หรือแอพพลิเคชัน ที่สำคัญมีมากมายหลากหลาย วันนี้ปัจจุบันในคลาวด์คอมพิวติ้งในโลกนี้มีเป็นล้านล้านแอพ มีคนโหลดใช้พันล้านครั้งเราไม่สร้างแต่เลือกหรือทำเองได้ และก้อนสุดท้าย เราจะสร้างแพลตฟอร์มดีที่สุดเพื่อส่งเสริมให้เอาสิค้าและบริการเข้ามาเราสนับสนุนคอนเทนต์โพรไวเดอร์ และ ส่งเสริมสตาร์ตอัพ ลำพังออย่างเดียวไม่เพียงพอรัฐต้องเข้ามาเติมในส่วนนี้ จะทำให้คอนเทนต์แข้งแรงขึ้น

 4 จี ถึง 5 จีเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

ขณะที่ฟากทรูโดย "ศุภชัย" กล่าวว่า กสทช. บอกว่าการประมูลคลื่นความถี่จะไม่มีที่สิ้นสุด ในอีก 4 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีคลื่นความถี่ 5 จะจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่คลื่นความถี่ต่ำเป็นคลื่นคุณค่าสูงมาก แม้คลื่นความถี่ 5 จี ที่ย่านความถี่ 2300 และ 2600 คลื่นความถี่ยิ่งสูงมีลักษณะคล้ายไว-ไฟ คือขนาดเล็กลง แต่คลื่นความถี่ต่ำมีคุณสมบัติดีมากในการทะลุทะลวง การลงทุนให้เหมาะสมและพื้นที่ที่ต้องการ คือ ประหยัดการลงทุนสูงมาก ตรงนี้ทุกโอเปอเรเตอร์ต้องพิจารณาเมื่อมีคลื่นความถี่ต่ำออกมา คลื่น 2300-2600 มีเยอะไปเรื่อยๆ แต่คลื่นความถี่ต่ำไม่มีเยอะ เป็นสิ่งที่โอเปอเรเตอร์ต้องพิจารณาผมเรียนว่าเรื่องของ 4 จี ต่อไปถึง 5 จีเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญแต่ละผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความพร้อม

 แนะรัฐแจกสิทธิพิเศษดึงทุนนอก

หากแต่โครงสร้างพื้นฐานต้องควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะดาต้าเซ็นเตอร์ ทุกวันนี้ประเทศไทยไทยใช้ ยูทูบ , เฟซบุ๊ก และกูเกิล เป็นต้น การใช้งานสูงเป็นที่ 2 ในเอเชียปริมาณการใช้งานรองจากประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียว นั่นหมายความว่าคนไทยมีพฤติกรรมปรับตัวได้เร็ว แต่ปรากฏว่าข้อมูลต่าง ๆ ของเราที่ส่งผ่านดาต้าเซ็นเตอร์ส่งไปยังสิงคโปร์ และ มาเลเซีย

ดังนั้นภาครัฐควรสนับสนุนส่งเสริมให้สิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับกลุ่มทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยการดึงศูนย์คอมพ์ขนาดใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาตั้งสำนักงานในเมืองไทยให้ได้ ซึ่งตรงนี้จะทำให้ประเทศไทยก้าวกระโดด

เร่งพัฒนาและส่งเสริมคนในประเทศ เพื่อแข่งขัน เพราะคนไทยมีความพร้อมหลายๆ ปัจจัย วัฒนธรรมของประเทศไทยคนทั่วโลกอยากมาอยู่อยากมาร่วมลงทุน ถ้าคนเก่งมาทุนมาด้วยต่อไปหาทุนใหม่ไม่ต้องไปถึงสิงคโปร์ อยากหาทุนทำสตาร์ตอัพ ซอฟต์แวร์ บินมาประเทศไทยไทย รัฐบาลดึงคนมีความสามารถเข้ามาในเมืองไทย เช่น ดึงเหล่าบิ๊ก บอย มาตั้งศูนย์ พัฒนาวิจัยตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เมื่อ บิ๊กบอย มาลงทุนเสนอสิทธิพิเศษให้เป็นแพ็กเกจ จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ของ เออีซี เมืองไทยเป็นมิตรทุกประเทศ โอกาสเป็นศูนย์กลางของ เออีซีสูงมาก ถ้าเดินได้เร็วผลประโยชน์ก็ไม่ยากด้วยการจัดกองทุน และ สิทธิภาษี อย่างเช่น อมซอนดอทคอม ลงทุนทุกไตรมาสละ 1 พันล้านเหรียญอย่างต่อเนื่อง

"ทุกวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น คือ โครงสร้างพื้นฐาน เสาสัญญาณการใช้คลื่น เมื่อนำสู่การเขียน คลาวด์ เขียนโปรแกรมดึงข้อมูลมีคุณค่ามาใช้ ประเด็นทั้งโอเปอเรเตอร์มาคิดรัฐบาลต้องคิด ดึงศูนย์คอมพ์ขนาดใหญ่มาตั้งเมืองไทย ตัวนี้จะทำให้ระบบดิจิตอลสมบูรณ์ก้าวกระโดด"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,149 วันที่ 17 - 20 เมษายน พ.ศ. 2559