สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

16 ก.ย. 2562 | 08:35 น.

สทนช. ผวาแม่น้ำมูลย้อนตามลำน้ำสาขา 'ฝั่งตะวันออก-ฝั่งตะวันตก ' เฝ้าระวังเข้ม ระบุระดับน้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง แต่ยังระบายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง  พร้อมประเมินมวลน้ำคงค้าง จ.อุบลฯ 2,500 ล้าน ลบ.ม. เร่งทุกหน่วยระดมผลักดันน้ำไหลลงโขง

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย.62 ที่ผ่านมา ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานในพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในภาคอีสาน และประเมินแนวทางแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน โดยแจ้งสถานการณ์น้ำในภาพรวมว่า ระดับน้ำจากต้นน้ำทั้งแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลลดลง ขณะเดียวกัน ระดับน้ำมูลในแม่น้ำมูลที่อุบลราชธานีก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ สทนช.ได้เสนอแนวทางระยะสั้นและเร่งด่วนต่อที่ประชุม 4 แนวทางหลัก คือ 1.การเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีการไหลย้อนของแม่น้ำมูลตามลำน้ำสาขาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

แม้ว่าขณะนี้ระดับน้ำจะลดลงแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนยังมีโอกาสรับฝนจากร่องมรสุมและพายุที่ผ่านพื้นที่ จึงยังคงต้องติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เหล่านี้ โดยฝั่งตะวันตกมีการไหลย้อนตามลำน้ำสาขามูลน้อยและห้วยแจระแม ท่วมสูงกว่าระดับอ่างห้วยแจระแมประมาณ 2 เมตร ดังนั้น พื้นที่เฝ้าระวังในบริเวณนี้คือ พื้นที่ขอบอ่างห้วยแจะแม ถนนบายพาสฝั่งตะวันออก ถนนแจ้งสนิทที่ตัดห้วยแจระแม สวนสัตว์อุบลราชธานี บ้านเรือนชุมชนตามริมขอบลำน้ำมูลน้อยและห้วยแจระแม เป็นต้น  ส่วนในฝั่งตะวันออก น้ำมูลไหลย้อนตามลำน้ำห้วยวังนองและท่วมล้นคันทำนบดินอ่างห้วยวงนองประมาณ 20 ซม.  ทำให้ทางสัญจรรถเล็กผ่านไม่ได้ พื้นที่เฝ้าระวังในบริเวณชุมชนรอบอ่างห้วยวังนอง ร่องน้ำห้วยที่เชื่อมห้วยวังนองกับสนามบิน และโรงพยายาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ด้วย

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

2. การติดตามข้อมูลฝน นอกเหนือจากการติดตามฝนที่สถานีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ควรติดตามเป็นกลุ่มพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงมูลล่างและในพื้นที่มูลล่าง  และเฝ้าระวังในกรณีร่องมรสุมที่ตกแช่ในในพื้นที่หลายวันและพื้นที่ฝนตกเป็นพื้นที่กว้างขวาง และในกรณีพายุพัดผ่าน  3.การแปลระดับน้ำมูลที่ M.7  กับขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมถึง และทิศทางของพื้นที่น้ำท่วมตามการคาดการณ์ระดับน้ำ เพื่อใช้ในการเตือนภัย การเตรียมความพร้อม การอพยพ ประชาชน โดยสทนช.ได้ใช้ข้อมูลแผนที่เส้นชั้นความสูงทุกระยะ 2 เมตรของกรมพัฒนาที่ดินมาสร้างเสนชั้นความสูงทุกระยะ 1 เมตร จากระดับขอบตลิ่ง 112 ม.รทก ไปจนถึงระดับ 118 ม.รทก ที่ครอบคลุมระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี พ.ศ.2521  โดยได้มอบแผนที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในที่ประชุมเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน เช่น ปภ. กรมชลประทาน ตำรวจ เป็นต้น 4.การเร่งพร่องน้ำในแม่น้ำมูล เพื่อลดระดับน้ำในแม่นำมูลให้ลดลงต่ำ เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในช่วง กย-ตค โดยการลดน้ำหลากจากตอนบน เร่งระบายน้ำท้ายน้ำ 

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

สำหรับแนวทางระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวหลังผ่านอุทกภัยแล้ว เป็นแนวทางการซ่อมแซมอาคารคันกั้นน้ำที่ชำรุด การติดตั้งสถานีวัดน้ำเพิ่มเติมในลำมูลมูลและสาขาที่จะช่วยให้เฝ้าระวังและคาดการณ์ เช่น ปริมาณน้ำหลากเข้าพื้นที่ ตามลำน้ำสาขา และการระบายน้ำผ่านแก่งสะพือ  การตัดยอดน้ำหลากจากแม่น้ำชีโดยการผันน้ำชี-มูล เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งสทนช.จะศึกษาเป็นแผนพัฒนาลุ่มน้ำชีล่าง-มูลล่างในปี พ.ศ.2563 โดยเร่งด่วนด้วย

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สถานการณ์น้ำแม่น้ำมูลขณะนี้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สทนช. ได้ติดตามระดับน้ำปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้ม 3 วันข้างหน้า พบว่า แม่น้ำมูล สถานี M.5 อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ. เวลา 14.00 น. ระดับน้ำ 8.28 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.18 เมตร แนวโน้มจะลดลง 5 – 7 ซม. สถานี M.182 อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เวลา 14.00 น. ระดับน้ำ 10.68 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.08 เมตร แนวโน้มลดลง 15 – 20 ซม. สถานี E.98 อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เวลา 14.00 น. ระดับน้ำ 11.59 ม. สูงกว่าตลิ่ง 1.59 เมตร สถานี M.7 อ.วารินชำราบ จ. อุบลฯ  14.00 น. ระดับน้ำ 10.71 ม. สูงกว่าตลิ่ง 3.71 เมตร อัตราการไหล 4,875 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มลดลง 30 – 40 ซม.

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

“ทิศทางระดับแม่น้ำมูลขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง จากปัจจัยหลักที่มีการจัดจราจรน้ำทั้งในแม่น้ำมูลตอนบนและแม่น้ำชี รวมถึงกรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงหน่วยทหาร และจิตอาสา ร่วมกันเร่งผลักดันน้ำ สูบน้ำลงสู่แม่น้ำสายหลัก เพื่อผลักดันมวลน้ำที่คงค้างในพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำทยอยไหลลงแม่น้ำโขง ทั้งนี้ คาดว่ายอดมวลน้ำปัจจุบันคงเหลืออยู่ประมาณ 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และระดับน้ำในแม่น้ำโขงเมื่อเทียบกับระดับน้ำที่

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง

อ.วารินชำราบ ต่ำกว่าประมาณ 14 เมตร ซึ่งไม่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำจากแม่น้ำมูลลงโขง อย่างไรก็ตาม คาดว่าระดับน้ำแม่น้ำมูลจะใช้เวลาลดลงอีกประมาณ 20-25 วัน ระดับน้ำจะเท่ากับตลิ่ง ที่สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.วารินชำราบ ซึ่งเป็นจุดเฝ้าระวังระดับน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม สทนช. จะติดตามประเมินสภาพอากาศและฝนที่อาจจะตกลงมาเพิ่มในช่วงนี้อย่างใกล้ชิดด้วย” ดร.สมเกียรติ กล่าว

สทนช.เฝ้าระวังแม่น้ำมูลไหลย้อนเร่งดันลงโขง