สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

16 ก.ย. 2562 | 04:45 น.

กรมอุตุฯแจ้งเตือน 18-22 ก.ย.รับมือฝนตกหนัก สทนช.เปิดชื่อเขื่อนเข้าขั้นวิกฤติ ฝนจ่อพายุส่อซ้ำ  8 เขื่อนน้ำเกิน 80%  ขณะที่ 5 หมู่บ้าน ตราด/ระนอง สั่งอพยพประชาชน พื้นที่เสี่ยงระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม ส่วนแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลฯเริ่มลดลงต่อเนื่อง

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานสถานการณ์ ณ วันที่ 16 กันยายน 2562  เฝ้าระวังฝนตกหนักมาก 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ  จ.อุบลราชธานี  ทางกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์มีปริมาณฝนลดลงในระยะนี้ ในช่วงวันที่ 18 - 21 ก.ย. บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคอื่นๆมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (มม.) มีฝนตกหนักมากบริเวณ อ.บ่อไร่ (211) อ.คลองใหญ่ (204) อ. เกาะช้าง (165) จ.ตราด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี (159) อ.เมือง (107) อ.กะเปอร์ (92) จ.ระนอง เขตจตุจักร กทม. (91)

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

ส่วนแม่น้ำสายหลัก คาดระดับน้ำในแม่น้ำยม มูล ชี มีแนวโน้มลดลง สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในหลายพื้นที่ ได้แก่ แม่น้ำยม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แม่น้ำชี อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด อ.เมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี แม่น้ำมูล อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ อ.พิบูลมังสาหาร อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ลำเซบาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร อ.เขื่องใน   จ.อุบลราชธานี ลำเสียวใหญ่ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด แนวโน้มน้ำลดลง และแม่น้ำโขง ระดับน้ำที่ทุกจังหวัดริมลำน้ำโขง แนวโน้มลดลง 0.2-1.0 ม. ยกเว้น เชียงคานและหนองคาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.2-0.5 ม.ใน 3 วันข้างหน้า

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

สำหรับปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ มีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 52,177 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ต้องเฝ้าระวัง 8 แห่ง ได้แก่ แม่จาง (81%) หนองหาร (112%) ลำปาว (84%) สิรินธร (92%) ศรีนครินทร์ (84%) วชิราลงกรณ (89%) แก่งกระจาน (82%) และเขื่อนปราณบุรี เฝ้าระวัง น้ำน้อย 9 แห่ง โดยมีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 28 แห่ง ซึ่งถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงแหล่งน้ำรวม 20,505 ล้าน ลบ.ม. ระบายออกรวม 13,215 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำขนาดกลาง เฝ้าระวังน้ำน้อย 61 แห่ง มีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 53 แห่ง แหล่งน้ำที่เสี่ยงน้ำมากกว่าความจุ 75 แห่ง ได้แก่ เหนือ 4 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 68 แห่ง ตะวันออก 3 แห่ง

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

เขื่อนเจ้าพระยา ปรับแผนการระบายน้ำ ลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 7.44 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 5,062 ล้าน ลบ.ม. (28%) และเก็บน้ำสำรอง 4,740 ล้าน ลบ.ม. ช่วยชะลอน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มชี-มูล 8 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 4.11 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 1,911 ล้าน ลบ.ม. (32%) และเก็บสำรองน้ำเพิ่ม 1,554 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้บริหารจัดการฤดูแล้ง 62/63 ลุ่มภาคตะวันออก 6 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 0.92 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 542 ล้าน ลบ.ม. (38%) และเก็บน้ำสำรอง 464 ล้าน ลบ.ม.

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

ขณะที่ เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม มีทั้งหมด 5 หมู่บ้านมีการแจ้งเตือน อพยพ ได้แก่  ในพื้นที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด (4 ม.) เฝ้าระวัง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง (1 ม.) ปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จ. (ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อํานาจเจริญ อุบลราชธานี)

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

สทนช.ชี้ระดับน้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง ส่งผลให้แม่น้ำมูล จ.อุบลฯ ลดลงต่อเนื่อง คาดสถานี M.7 อีก 24 วัน ลดเท่าระดับตลิ่ง ประเมินมวลน้ำคงค้าง จ.อุบลฯ 2,700 ล้าน ลบ.ม. หลังทุกหน่วยระดมเร่งผลักดันน้ำไหลลง พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางระยะสั้นและเร่งด่วน 4 แนวทางหลัก คือ 1.การเฝ้าระวังพื้นที่ ที่มีการไหลย้อนของแม่น้ำมูลตามลำน้ำสาขาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก 2.ติดตามข้อมูลฝนในเขต จ.อุบลราชธานี และพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงมูลล่างและในพื้นที่มูลล่าง พร้อมเฝ้าระวังในกรณีร่องมรสุมที่ตกแช่ในพื้นที่หลายวัน และในกรณีพายุพัดผ่าน  

สทนช.เฝ้าระวัง 8 เขื่อนวิกฤติหนักน้ำทะลักเกิน 80%

3.นำแผนที่เส้นชั้นความสูงทุกระยะ 2 เมตร วิเคราะห์ทิศทางของพื้นที่น้ำท่วมตามการคาดการณ์ระดับน้ำ เพื่อใช้ในการเตือนภัย การเตรียมความพร้อม การอพยพ ประชาชน และ 4.เร่งพร่องน้ำในแม่น้ำมูล เพื่อลดระดับน้ำให้ลดลงต่ำ เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในช่วง กย-ตค โดยการลดน้ำหลากจากตอนบนเร่งระบายน้ำท้ายน้ำ