โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

12 ก.ย. 2562 | 18:30 น.

โรงงานกะทิแย่งซื้อมะพร้าวดันราคาพุ่ง 11 บาท วงในเผย ประจวบฯ เคยผลิตเต็มที่วันละ 8 แสนถึง 9 แสนลูก ปัจจุบันเหลือกำลังการผลิตแค่ 30%  ด้าน “อำนาจ” จับไต๋เล่ห์พ่อค้าขอนำมะพร้าวไปกะเทาะนอกโรงงาน ชงเสนอส่งการบ้านให้กรมการค้าต่างประเทศทำแผนเข้มคุมลักลอบได้หรือไม่ ลั่น! ผลผลิตในไทยมีเพียงพอ

โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

แหล่งข่าวโรงงานกะทิสำเร็จรูป เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันราคามะพร้าวราคามะพร้าว วันที่ 11 กันยายน 2562ราคาผู้รวบรวมมะพร้าวผลใหญ่12 - 13 บาท/ผล มะพร้าวผลกลาง  6-8 บาท/ผล มะพร้าวผลคละ 11  บาท/ผล เนื้อมะพร้าวขาว 23-25  บาท/กก. เนื้อมะพร้าวแห้ง 8  บาท/กก. ราคาโรงงาน มะพร้าวผลคละ 12 บาท/ผล เนื้อมะพร้าวขาว 26 บาท/กก. ส่งปลายทาง 27 บาท/กก.เนื้อมะพร้าวแห้ง 9.50–10 บาท/กก. น้ำมันมะพร้าว17-18 บาท/กก.

โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

“สำหรับประจวบคีรีขันธ์ มีโรงงานอยู่ 14 ราย รวบรวมโควตาทั้งหมดปกติที่จะต้องผลิต 285 ตัน/วัน จะต้องใช้มะพร้าวประมาณ 8 แสนผล-9 แสนผลต่อผล แต่ขณะนี้โรงงานรวบรวมมะพร้าวขาวแค่ 30% ส่งผลทำให้ราคาขยับพุ่งขึ้นส่อขาดแคลนหนัก”

โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

ด้านนายอำนาจ มณีแดง กรรมการคณะอนุกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องมะพร้าวและสับปะรด ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาราค่าพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ สภาผู้แทนราษฎร เผยถึงผลผลิตในประเทศมีเพียงพอ หากโรงงานไหนต้องการมะพร้าวก็ให้เปิดจุดรับซื้อโดยตรงเลย เชื่อว่าจะมีคนมาขายเป็นจำนวนมากส่งตรงถึงโรงงาน  แต่ถ้าต้องการให้เกษตรกรผลิตมะพร้าวมีคุณภาพถูกสุขลักษณะแบบไหนอย่างไร โรงงานก็มาอบรมให้ทุกอย่างก็จบเลยซึ่งจะแก้ปัญหาโดยที่โรงงานไม่ต้องนำเข้ามะพร้าวนอกแล้วมาร้องขอให้ไปกะเทาะนอกโรงงานเลย

โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

อย่างไรก็ดีในระหว่างนี้ทางคณะอนุฯมีมติเห็นชอบให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไปทำแผนการควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบจะทำอย่างไรไม่ให้มีการจำหน่าย จ่ายโอน ถ้าเกิดมีการจำหน่ายจ่ายโอนจะมีบทลงโทษอย่างไร

โรงงานกะทิแข่งเดือดดันราคามะพร้าวพุ่ง 11 บาท

อนึ่ง กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการขอและออกหนังสือรับรองได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษี เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าว ที่นำเข้าตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน มีผลบังคับใช้ 1 มกราคา 2562 สาระสำคัญ ให้ผู้นำเข้ามะพร้าวต้องรายงานแปรสภาพมะพร้าวนำเข้ามาใช้ในกิจการของตนเองไม่มีการรั่วไหล ห้ามกะเทาะนอกโรงงานเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกพักหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ไม่ได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเพื่อนำเข้ามะพร้าว ไม่น้อยกว่า 5 ปี