"กัปตันโยธิน" ล้วงตับ ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

10 ก.ย. 2562 | 07:16 น.

กัปตัน โยธิน ภมรมนตรี อดีตผู้บริหารระดับสูง บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ถึงต้นสายปลายเหตุที่ทำให้สายการบินแห่งชาติต้องขาดทุนอย่างหนักติดต่อกัน มาจากอะไรและใครต้องผู้รับผิดชอบ

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

        กัปตัน โยธิน ภมรมนตรี 

โดยระบุว่า โครงการจัดซื้อ เครื่องบิน ของบริษัท การบินไทยฯ เป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์ กันอย่างมากอยู่ขณะนี้ และความรู้สึกของคนส่วนมาก รวมทั้งพนักงานก็มีความห่วงใย ในฐานะการเงินของบริษัท ดังในไตรมาสที่ 2/2562 มีหนี้ถึง 245,133 ล้านบาท ใน ขณะที่ สัดส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 16,853 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน สูงถึง 14.55 เท่า การที่จะไปลงทุนซื้อเครื่องบินอีก 156,000 ล้านบาท จะเป็นการสร้างหนี้ขึ้นอีกมหาศาล ซึ่งจะยิ่งส่งผลต่อ ฐานะการเงินของบริษัทอย่างแน่นอน

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

‪ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 บริษัท การบินไทยฯ จะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ พนักงาน กว่า 2 หมื่นคนและประชาชนอีกหลายล้านคน คงไม่อยากให้ บริษัทฯ ต้องเกษียณอายุ ‬

บริษัทฯ ทำกำไรครั้งแรก ในปี 2506 และ ทำกำไรติดต่อกันเป็นเวลา 44 ปี จนถึงปี 2550 จากการบริหารโดย มดงาน ( ภาพ # 1 ) แต่หลังจาก การบริหารโดย สิงโต สรรหา ในระยะเวลา 9 ปี ขาดทุน - 44,797 ล้านบาท ( ภาพ # 2 ) และทุกครั้งที่ขาดทุน สิงโต สรรหา จะอ้าง เหตุผล ต่างๆ ที่ทำให้บริษัทฯ ขาดทุน เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้น การแข่งขันรุนแรง ค่าเงินบาทแข็งตัวทำให้รายได้จากต่างประเทศลดลง ปัญหาเครื่องยนต์ ต่างๆนานา เหตุผลที่แจ้งมานี้ เป็นเหตุผลที่พอฟังได้ เพราะ สายการบินอื่นๆ ล้วนประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน แต่ ส่วนมากยังมีกำไร ดังนั้น เพราะเหตุใด การบินไทยจึงขาดทุนและ มีหนี้ มากมาย ลองมาลำดับสาเหตุแห่งการเริ่มต้นขาดทุนดูจะเห็นว่า

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

สาเหตุส่วนใหญ่เกิด จากนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้เกิดความเสียหายต่อ องค์กรอย่างมหาศาล เช่น
1. การซื้อเครื่องบิน A340-500 จำนวน 4 ลำ แม้จะมีการทักท้วง จาก สภาพัฒน์ ผลที่ตามมาคือ ผลประกอบการขาดทุนมหาศาลจึงต้องหยุดทำการบิน เสียหายไป 20,928 ล้านบาท ( ภาพ # 3 ).

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน
2. การนำเครื่องบิน A340-600 จำนวน 6 ลำ ที่มีอายุใช้งานเพียง 10 ปี ออกจากฝูงบิน จอดตากแดดตากฝน เพื่อรอการขายมาตั้งแต่ ปี 2558 ตามนโยบายหดเพื่อโต โอกาสที่จะขายแทบไม่มีเพราะในโลกนี้ ยังมี A340-600 อีก 68 ลำ ในสภาพยอดเยี่ยม เสนอขายอยู่ขณะนี้ ดังนั้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณของทุกปี และยังขายไม่ได้ ก็ต้องเสีย ค่าด้อยไปแล้ว 20,955 ล้านบาท ( ภาพ # 4 )

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

3. นำเครื่องบิน B747-400 ที่มีอายุ ใช้งาน 20 ปี ไปตัดแปลงเป็น เครื่องบินขนส่งสินค้า ผลการศึกษาของที่ปรึกษา จุดคุ้มทุน อยู่ที่ 4 ปี และอัตราผลตอบแทน ( IRR ) อยู่ ที่ 12.5 บินไปได้ ปีกว่า ขาดทุน จึงหยุดทำการบิน เสียค่าดัดแปลงไป 1,500 ล้านบาท ( ภาพ # 5 )

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน
4. เสียค่าบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมัน ในปี 2558 ไป 18,154 ล้านบาท สูงกว่าปี 2557 ถึง 6,460% และ ในปี 2559 เสียหายไปอีก 6,604 ล้านบาท รวม 3 ปี เสียหายไป 25,039 ล้านบาท ( ภาพ # 6 )

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน
5. ผลการศึกษาในการจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ ว่าจะทำกำไรติดต่อกัน 4 ปี เป็นเงิน 7,020 ล้านบาท แต่ผลประกอบการ ขาดทุนทุกปี จนถึงปัจจุบัน ผลการขาดทุนรวมแล้ว เกือบหนึ่งหมื่น ล้านบาท ( ภาพ # 7 )

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน
6. ซื้อระบบ สำรองที่นั่ง ให้สายการบินไทยสมายล์ ซึ่งเป็นคนละระบบกับการบินไทย ทำให้ไม่สามารถ เชื่อมต่อกับระบบของการบินไทยได้ จึง ต้องเลิกใช้ระบบ ดังกล่าว เสียหายไป 500 ล้านบาท ( ภาพ # 8 )

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน  "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน
รวมค่าเสียหายคร่าวๆ ที่ประเมินได้ คือ 78,900 ล้านบาท
ส่วนความเสียหาย ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ คือ โครงการ จัดตั้งสายการบิน นกสกู๊ต ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ ถือหุ้น 49% ในขณะที่ การบินไทยถือหุ้น 19% ( ภาพ # 9 ) เนื่องจาก เป็นจากเป็นค่าเสียหายที่ไม่มีวันสิ้นสุด และเป็นค่าเสียหายที่ประเมินค่ามิได้ต่อประเทศชาติ มากกว่า การบินไทย ซึ่งเป็นเหยื่อ หรือ ผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหายดังกล่าว

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า สาเหตุของความเสียหายเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาด ดังนั้น
* กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีเสียงข้างมาก ทำการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริษัท
* การสรรหา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ตาม พ ร บ รัฐวิสาหกิจ ปลัดกระทรวงการคลังเป็น ประธานสรรหา และ เสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้เห็นชอบ
นโยบายต่างๆที่ฝ่ายบริหารได้รับมาปฎิบัติ ก็มาจากคณะกรรมการบริษัท ดังนั้น ผู้ที่ต้องรับผิดชอบตามความเห็น ท่าน นายกรัฐมนตรี ที่ท่านได้ ประกาศ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ว่า “ ต้องไป โทษ ผู้บริหาร โทษ ซีอีโอ โทษ บอร์ด “ ( ภาพ # 10 ) แต่ทุกครั้งพอประสบปัญหาขาดทุน สิ่งแรก ที่ทำคือ จะลดจำนวนพนักงาน หรือไม่ก็ลดเงินเดือนพนักงาน

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

กระทรวงการคลังถือ หุ้น 1,114 ล้านหุ้น ที่ราคา หุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 11,114 ล้านบาท ในช่วงที่บริหารด้วย มดงาน บริษัทได้เสียภาษี ให้รัฐ กว่า 2 หมื่นล้านบาท จากผลประกอบการที่ทำกำไร นอกจากนี้ รัฐยังได้ ภาษีจาก รายได้ของพนักงาน ทุกปี ตั้งแต่เปิดบริษัท
ในเมื่อรัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ กรรมการเป็นผู้กำหนดนโยบาย ต่างๆที่ได้กำหนดมา ให้สิงโต สรรหา เชิด เอ้ยยยย ปฏิบัติตาม ทำให้บริษัท ขาดทุน และเป็นหนี้เป็นสิน รัฐบาลจึงควรต้องรับผิดชอบ โดยการเพิ่มทุน ให้บริษัท ตามจำนวนของค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นใครเห็นด้วย ยกมือขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

● "ถาวร" เดินหน้า บี้บอร์ด‘TG’ ประเมินตัวเอง

 

 "กัปตันโยธิน" ล้วงตับ  ทำไม การบินไทย จึงขาดทุน

 ● “ถาวร” เขย่าเก้าอี้บอร์ดบินไทย