‘ทองเปลว’สั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง   

10 ก.ย. 2562 | 05:55 น.

ทองเปลวสั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ  ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง

 

‘ทองเปลว’สั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง   

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่าในสัปดาห์หน้าจะตั้งศูนย์บริหารน้ำมูลน้ำชีส่วนหน้าที่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยจะลงไประจำศูนย์ดัวยตนเอง เพื่อทำงานในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย  เนื่องจากในห้วงนั้นจะเป็นช่วงที่ปริมาณน้ำทั้งหมดจะมากองที่จังหวัดอุบลราชธานี จำเป็นที่ต้องบริหารอย่างใกล้ชิด เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนและเพื่อแก้ไขให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด

‘ทองเปลว’สั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง   

จะลงไปร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่พื้นที่ด้วยตัวเอง  ร่วมกับพี่น้องกรมชลฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันในช่วงที่วิกฤติที่สุด เพราะปลายแม่น้ำมูลที่ จ.อุบลฯสูงกว่าน้ำโขง เพราะฉะนั้นเรื่องเร่งระบายน้ำ  ผลักดันน้ำ ต้องไปช่วยกัน ต้องไปช่วยพี่น้องทำงานและอำนวยความสะดวกในการทำงานให้มากที่สุด เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ไม่ต้องมาตาม ให้ประจำพื้นที่ แต่จะประสานข้อมูลที่ศูนย์ส่วนหน้า” 

‘ทองเปลว’สั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง   

สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลของ พายุโพดุลและพายุคาจิกิกรมชลประทาน คาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกลงหนักลงมาเพิ่มเติม ในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีปริมาณน้ำสูงสุดจะไหลผ่านที่สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในช่วงกลางดึกของวันที่ 11 ก.ย. เวลาประมาณ 23.00 น. ถึงเวลาประมาณตี 1 ของวันที่ 12 ก.ย. นี้ ในเกณฑ์ประมาณ 4,500 – 4,600 ลบ.ม./วินาที หรือที่ระดับสูงสุดประมาณ 10.40 – 10.50 เมตร (ระดับตลิ่ง 7 เมตร) ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งประมาณ  3 เมตร จากปริมาณดังกล่าวคาดว่า ใช้เวลาประมาณ 10วัน  ระดับน้ำจะทยอยลดลงสู่ระดับตลิ่ง ในช่วงกลางดึกของวันที่ 25. - 26 ก.ย. 62

‘ทองเปลว’สั่งรับน้ำก้อนใหญ่ที่อุบลฯ ลุยเต็มสูบส่งน้ำลงโขง   
 

อย่างไรก็ดีทางกรมชลฯได้บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำมูล  ด้วยการใช้เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาเป็นอาคารควบคุม ชะลอการไหลของน้ำในแม่น้ำมูลที่จะลงมาสมทบกับลำน้ำชี โดย ระหว่างนั้นจะเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำชีลงสู่แม่น้ำโขงได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในแม่น้ำชีเอง ได้ลดปริมาณน้ำในแม่น้ำชีด้วยการหน่วงน้ำไว้ทางตอนบนของประตูระบายน้ำต่างๆ รวมทั้งลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำชี ก่อนจะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำมูลที่ จ.อุบลราชธานี ตามลำดับ ทั้งนี้ หากระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง จะส่งผลให้น้ำในแม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงได้เร็วขึ้นด้วย