‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

10 ก.ย. 2562 | 05:25 น.

กรมปศุสัตว์เปิดแอฟตัวใหม่ อี -สมาร์ทพลัส จัดทำแผนที่เกษตรกรประเมินพื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ขณะนายกฯ หมูอีสานปลื้ม .ซีพี” ลุย 20 จังหวัดอีสานติวเข้มเกษตรกรรายย่อย มั่นใจป้องโรคสำเร็จยังไม่พบในไทย

 

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในช่วงนี้ทุกภูมิภาคของไทยเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวนทั้งเรื่องฝนตกและน้ำท่วมขัง ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ  กรมปศุสัตว์จึงต้องบูรณาการทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรค ASF ในสุกรอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ร่วมมือกับภาคเอกชน และชุมชน ลงพื้นที่สำรวจฟาร์มเกษตรกรรายย่อยโดยใช้แอพพลิเคชั่น e-Smart Plus (อี-สมาร์ทพลัส)​ เพื่อจัดทำแผนที่เกษตรกรรายย่อยในประเทศ และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ทันที ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ควบคู่กับการยกระดับระบบป้องกันโรคในฟาร์มของเกษตรกร

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

“กรมปศุสัตว์ ได้ระดมเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา นำแอพพลิเคชั่น  อี-สมาร์ทพลัสช่วยประเมินความเสี่ยงไปแล้วกว่า 66,500 ฟาร์ม คิดเป็นร้อยละ 60 ของเป้าหมาย และจะทำแผนที่ให้ครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

 

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

ระบบอีสมาร์ทพลัส ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น เพียงบันทึกข้อมูลในมือถือหรือแท็บเล็ต ก็สามารถทราบผลทันที ทำให้การวางแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการแจ้งข่าวสารและป้องกันโรค ASF ให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ยังไม่มีการรายงานพบโรคดังกล่าวในไทย

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ ได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคเอกชน รวมถึงสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดต่างๆ ในการยกระดับการป้องกันฟาร์มให้เคร่งครัด แม้ว่าฟาร์มของผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งหมดเป็นฟาร์มระบบปิดและมีการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดอยู่แล้วก็ตาม ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนยังสนับสนุนงบประมาณและกำลังคน ช่วยให้การป้องกันโรค ASF ในประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

ในส่วนของเกษตรกรรายย่อย กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือในการปรับปรุงฟาร์ม และกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การปรับปรุงรั้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นๆ เข้าในฟาร์ม การไม่นำเศษอาหารมาใช้เลี้ยงสุกร การฆ่าเชื้อก่อนนำเครื่องมือหรือยานพาหนะเข้าสู่ฟาร์ม การห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม การไม่เอาสุกรป่วยหรือตายออกนอกฟาร์ม รวมทั้ง ติดตามข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ ตลอดจนไม่ตื่นตระหนก หรือหลงเชื่อข่าวลือต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรในการผลิตสุกรอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารมากยิ่งขึ้น

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

ด้าน นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยว่า สมาคม ร่วมมือกับภาคเอกชน ซีพีเอฟ และบริษัทเวชภัณฑ์ จัดอบรมให้ความรู้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยได้ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคอีสานเป็นภูมิภาคแรกแล้ว ตระหนักดีถึงความสำคัญอย่างเร่งด่วนในการป้องกันโรค ASF ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรในภาคอีสาน ซึ่งมีพื้นที่หลายจังหวัดติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีจำนวนเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงหมูไม่เกิน 50 ตัวอยู่นับแสนราย จึงได้ผนึกกำลังกับภาคเอกชน และปศุสัตว์จังหวัด เร่งจัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจนครบ 20 จังหวัดในภาคอีสานแล้ว

‘ปศุสัตว์-ซีพี’ ป้องโรค ASF เข้าไทย

นับเป็นภูมิภาคแรกที่บูรณาการทุกภาคส่วนได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรรายย่อยร่วม 5,000 รายได้เข้าใจและช่วยยกระดับฟาร์มในการป้องโรค ASF อย่างเคร่งครัดขึ้น ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังคงเดินหน้าสนับสนุนภาครัฐดำเนินมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องทั้งการเฝ้าระวัง และการซ้อมแผนปฏิบัติการ รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจของกรมปศุสัตว์ที่มาปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังในพื้นที่ชายแดนและด่านประเพณีอย่างเข้มข้น ที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้สนับสนุนงบประมาณแก่สปป.ลาว ในการจัดจ้างพนักงานปฏิบัติหน้าที่ที่ด่านชายแดนลาว-เวียดนาม และค่าน้ำมันใส่เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยประเทศเพื่อนบ้านสกัดโรคเข้าประเทศอีกทางหนึ่งอีกด้วย