พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

08 ก.ย. 2562 | 09:05 น.

พลิกไปพลิกมา สำหรับคดีข้าวรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ในรอบแรก โดยก่อนหน้านี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาตัดสิน(25 สิงหาคม 2559)ให้นางประพิศ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียเม้ง จำกัด หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในฐานความผิดร่วมกันสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ในคดีอาญากลุ่มผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ (นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวก) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต กรณีการระบายข้าวจีทูจี ให้กับรัฐบาลจีน และได้ยกฟ้องนางประพิศระบุหลักฐานไม่เพียงพอ

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ศาลฯได้อ่านคำพิพากษาวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ให้นางประพิศ มานะธัญญา ผู้บริหารบริษัทเจียเม้ง ผู้ผลิตข้าวถุงแบรนด์คิวไรซ์ (Q Rice)  4 ปี และปรับ 2.5 หมื่นบาท และชำระเงิน 55 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา เป็นเวลา 3 ปี

 

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

ก่อนหน้านี้“ฐานเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์พิเศษ “ประพิศ  มานะธัญญา” ช่วงปิดโครงการจำนำว่าจะต้องเริ่มตั้งหลักใหม่ เพราะก่อนหน้านั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้หันไปเป็นลูกจ้างรัฐบาลแบบเต็มตัว อาทิ รับจ้างเป็นผู้รับจ้างปรับปรุงข้าวบรรจุถุง ตรา อคส. และตราถูกใจ จึงทำให้ไม่ได้ติดต่อกับลูกค้าต่างประเทศเดิมเลย คาดว่าจากนี้ไปจะต้องปรับตัว  (ก่อนรัฐบาลมีโครงการรับจำนำข้าวเจียเม้งเคยส่งออกข้าวได้สูงสุดปีละประมาณ 4 แสนตัน ) แต่หลังมีโครงการรับจำนำได้หันมาทำธุรกิจให้รัฐเช่าคลังเก็บข้าว และรับจ้างกระทรวงพาณิชย์ในการปรับปรุงข้าวเพื่อทำข้าวถุงขายให้ประชาชน โดยเจียเม้งมีคลังให้รัฐบาลเช่าเก็บข้าวจำนวน 6 คลัง

 

หลังจากนั้นบริษัทโดนมรสุมต่างๆ ทำให้ภาพลักษณ์เสียหาย ธุรกิจก็เสีย เพราะจากที่โดน ป.ป.ช.ชี้มูลธุรกิจเรื่องคดีข้าวจีทูจี แบงก์ตัดวงเงินกู้หมด จากธุรกิจมีความเสี่ยง จากเป็นคดีอาญาที่อาจจะติดคุกได้ นี่คือผลกระทบอย่างรุนแรง!!

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

อย่างไรก็ดีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ตัดสิน“ยกฟ้อง”นางประพิศ และบริษัทเจียเม้ง สาเหตุที่ยกคำร้อง จากถูกชี้มูลว่าไปสนับสนุนจำเลยคนอื่น ๆ ที่กระทำความผิด แต่เมื่อพิสูจน์ว่าทำมาค้าขายปกติ ว่าซื้อข้าวจากโกดังที่เหลืออยู่ ซึ่งไม่ทราบว่าข้าวจากโกดังเหล่านี้ที่มาอย่างไร ราคาต่ำหรือสูง เพราะซื้อในราคาตลาด และซื้อตามจำนวนที่ต้องการใช้ แค่หมื่นกว่าตัน เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็ส่งออกหมด พิสูจน์ได้หมด เอกสารครบ ว่าไม่ได้สนับสนุน

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

คดีความคลี่คลาย แต่ดูเหมือนคราวเคราะห์ยังไม่จบสิ้น มรสุมซัดอีกระลอก เจียเม้ง ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตนเองนับจาก 15 กรกฎาคม 2559 จากมีหนี้รวม 4,480 ล้านบาท มีเจ้าหนี้ 37 ราย ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน 7 แห่ง เงินรวม 3,480.5 ล้านบาท และเจ้าหนี้การค้าและหน่วยราชการ 30 ราย รวม 996.3 ล้านบาท โดยมีเจ้าหนี้ 12 รายได้ยื่นคัดค้านแผนพื้นฟูกิจการ อาทิ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, บจก.เอกอุดมค้าข้าว, นายมาโนชญ์ โสภณัตถกิจ, บจ.โกลบอลโพรเคียวเม้นท์ พีทีวาย, บจก.โรงสีชัยวาณิชย์วัฒนา, หจก.โรงสีท่าแหสมบูรณ์ทรัพย์, นายวิรัช ฐิติโภคา, หจก.ข้าวไทยรุ่งเรือง, น.ส.สวิตา จามสุวรรณ, นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนกุล, กรมการค้าต่างประเทศ และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

ทั้งนี้  ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่เจียเม้งอ้างว่ามีหนี้สินจำนวนมากเกิดขึ้นหลังจากการทำธุรกิจข้าวที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวไม่น่านำมาเป็นเหตุผล เพราะประเมินได้อยู่แล้วว่าโครงการรับจำนำข้าวเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล ถือว่ามีความเสี่ยงอีกด้านก็มีผู้ยื่นคัดค้านการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด 12 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเจ้าหนี้การค้า และมีกรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานราชการเพียงหนึ่งเดียวที่มายื่นค้าน ส่วนสถาบันการเงิน มีเพียง 2 รายที่ยื่นค้าน คือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย 

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

ดังนั้นเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการก็มีปัญหาล่าสุดถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 4 ปี (รอลงอาญา) พ่วงถูกปรับทางแพ่งอีก หนทางข้างหน้าของอดีตหนึ่งในบิ๊กค้าข้าวจึงเป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่าที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องติดตาม

 

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

อนึ่ง จำเลยทั้ง 28 คนประกอบด้วย นายภูมิ สาระผลอดีต รมช.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เป็นจำเลยที่ 1 ,นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุ กก.พิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 2 , พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ หรือหมอโด่ง วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการ รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 3 , นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 4 , นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 5 , นายอัครพงศ์ ช่วยเกลี้ยงหรือทีปวัชระ อดีต ผอ.สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ จำเลยที่ 6

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

นายสมคิด เอื้อนสุภา จำเลยที่ 7 , นายรัฐนิธ โสจิระกุล จำเลยที่ 8 , นายลิตร พอใจ จำเลยที่ 9 , บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด จำเลยที่ 10 ,น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง จำเลยที่ 11 , น.ส.เรืองวัน เลิศศลารักษ์ จำเลยที่ 12 , น.ส.สุทธิดาหรือสุธิดา ผลดีหรือจันทะเอ จำเลยที่ 13 , นายอภิชาติ หรือเสี่ยเปี๋ยง จันทร์สกุลพร นักธุรกิจค้าข้าวคนสำคัญ จำเลยที่ 14  , นายนิมล หรือโจ รักดี จำเลยที่ 15 , นายสุธี เชื่อมไธสง คนสนิทของนายอภิชาติหรือเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 16  , นางสุนีย์ จันทร์สกุลพร ญาติเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 17 , นายกฤษณะ สุระมนต์ จำเลยที่ 18

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

นายสมยศ คุณจักร จำเลยที่ 19 , บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดหรือบริษัท สิราลัย จำกัด จำเลยที่ 20 , น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร บุตรสาวเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 21 , ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร จำเลยที่ 22 , นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 23 , บริษัท กิจทวียโสธรไรซ์ จำกัดโดยนายทวี อาจสมรรถ กรรมการ จำเลยที่ 24 , บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด จำเลยที่ 25 , นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท จำเลยที่ 26 , บริษัท เจียเม้ง จำกัด จำเลยที่ 27 และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัท จำเลยที่ 28

เปิดแฟ้มคำพิพากษา

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว

พลิกปูม ‘เจียเม้ง’ ศาลสั่งคุก 4 ปี จำนำข้าว