ลักษณะต้องห้ามมิให้ติดต่อ กับผู้ลงทุนในธุรกิจตลาดทุน

05 ก.ย. 2562 | 04:40 น.

คอลัมน์ อุทาหรณ์จากคดีปกครอง โดย นายปกครอง

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3502 หน้า 7 วันที่ 5-7 กันยายน 2562

 

คดีปกครอง...ที่นายปกครองหยิบยกมาพูดคุยกันกับท่านผู้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามมิให้ติดต่อกับผู้ลงทุนในธุรกิจตลาดทุน ของผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ทำหน้าที่ติดต่อ ชักชวน ให้คำแนะนำ หรือวางแผนการลงทุนให้กับผู้ลงทุนในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือที่เรียกสั้น ว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนซึ่งผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวอาจถูกเพิกถอนมิให้ทำหน้าที่ได้ หากเข้าลักษณะต้องห้ามตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนในเรื่องลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน

เช่นในคดีนี้...ที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ความว่า... ตนเคยเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (...) กล่าวโทษผู้ฟ้องคดีต่อพนักงานสอบ สวนว่า ในขณะผู้ฟ้องคดีเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท . ได้ลงข้อความเท็จในเอกสารของผู้ประกอบธุรกิจ หรือที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นการบริหารงานที่หลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า .. 2542 และเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ในการเป็นบุคคลผู้มีอำนาจจัดการกิจการของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า

ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามในการเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน ตามข้อ 5 (4) ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่องลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เนื่องจากเป็นผู้ที่หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าพิจารณาว่า มีลักษณะต้องห้ามในการเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า

 

ลักษณะต้องห้ามมิให้ติดต่อ  กับผู้ลงทุนในธุรกิจตลาดทุน


 

 

โดยได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีคำสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ประเภท จนกว่าผู้ฟ้องคดีจะพ้นจากลักษณะต้องห้ามดังกล่าว อันส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจประกอบอาชีพในการติดต่อกับผู้ลงทุนได้ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพราะเห็นว่าตนยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาและไม่ได้กระทำผิดแต่อย่างใด

คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งพิพาท และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้พิจารณาไปบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้พิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า ซึ่งก็สอดรับกับการให้ถ้อยคำของผู้ฟ้องคดีต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ฟ้องคดีในขณะนั้นว่า มีการทำรายงานไม่ตรงกับการซื้อขาย

โดยเมื่อผู้ฟ้องคดีทราบเรื่องการจัดทำรายงานไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (4) ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่มีคำสั่งมิให้ผู้ฟ้องคดีติดต่อกับผู้ลงทุน จึงได้กระทำไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงในขณะนั้น อันเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ทั้งนี้ กระบวนการเกี่ยวกับการเพิกถอนการเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน เป็นการพิจารณาลักษณะต้องห้ามที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการพิจารณาใช้อำนาจทางปกครอง อันเป็นคนละส่วนกับกรณีการดำเนินการทางคดีอาญาแก่ผู้ฟ้องคดีในข้อหาที่ถูกกล่าวโทษ เมื่อปรากฏเหตุเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายและประกาศกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ย่อมมีอำนาจพิจารณาเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของผู้ฟ้องคดีได้ โดยไม่จำต้องรอผลของคดีอาญาของผู้ฟ้องคดีจนถึงที่สุดก่อน

 

อย่างไรก็ดี ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ปรากฏข้อเท็จจริงว่า อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ฟ้องคดีในข้อหาที่มีการกล่าวโทษ อันทำให้ข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองใช้เป็นฐานในการพิจารณามีคำสั่งไม่มีอยู่อีกต่อไป ข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ส่งผลให้การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กลายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ . 359/2562)

คดีดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง สามารถใช้อำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนได้ เมื่อขณะออกคำสั่งบุคคลดังกล่าวเข้าลักษณะต้องห้ามตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการดำเนินคดีอาญา แต่หากต่อมาเหตุที่ทำให้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวได้หมดไป เช่น อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องตามข้อหาที่ถูกกล่าวหา เช่นนี้...ผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ด้วยเหตุที่ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาออกคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว นั่นเองครับ!

(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)

 

ลักษณะต้องห้ามมิให้ติดต่อ  กับผู้ลงทุนในธุรกิจตลาดทุน