วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

21 สิงหาคม 2562

พลิกตำนานยางโลกย้อนหลังกว่า 30 ปี “มาเลเซีย”เคยผงาดรั้งเบอร์ 1 แต่ต้องโบกมือลาสู้ต้นทุนไทย -อินโดฯ ไม่ไหว จำต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่ พลิกปาล์มน้ำมันปั้นเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ขณะที่ไทยก้าวขึ้นแท่นแทน สปอตไลท์ส่อง “วงศ์บัณฑิต” กลายเป็นผู้นำโลก วงการชี้ยักษ์ใหญ่ส่อล้มสะเทือนความมั่นคง ด้านประธานไทยรับเบอร์ฯ รับเข้าใจหัวอกเดียวกัน เผยปีนี้ขาดทุนอ่วม ระบุไทยยังครองแชมป์ “มีพื้นที่ยาง-ราคาแพง” ที่สุดในโลก

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

หากย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ ในขณะนั้นประเทศมาเลเซียเป็นเบอร์ 1 ของโลก ส่งออกประมาณ 1.5 ล้านตัน  โลกใช้ยางแค่ 4 ล้านตัน  ยางพาราทั้งโลก 95% มาจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย  ส่วนเบอร์ 2 ยางโลกเป็นประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 1 ล้านตันกว่า  ขณะที่ไทยส่งออกยางเพียง 7-8 แสนตันเท่านั้น “มาเลเซีย”ขายยางแผ่นแพงกว่าไทย ประมาณ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เพราะลูกค้าจะอ้างว่ายางมาเลย์ฯคุณภาพดีกว่าไทย

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

“ในขณะนั้นหากเปรียบเทียบคนที่อยู่เตี้ยกว่าจะมองคนที่สูงกว่าเขาเก่งกว่าเรา เราอิจฉา แต่อีกด้านหนึ่งก็ลืมไปว่าเค้าลำบาก ราคายางในขณะนั้น 14-15 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมาเลเซียไม่พอกิน ประกอบกับมาเลเซียมีพืชเศรษฐกิจเป็นทางเลือกใหม่ก็คือ “ปาล์มน้ำมัน” ส่วน “ยางพารา”  ราคาถูกมองว่าไม่มีอนาคตประกอบกับต้นทุนสู้ประเทศไทยกับอินโดนีเซียไม่ได้ เพราะต้นทุนถูกกว่า ถ้าฝืนทำยางพาราต่อมีปัญหาแน่นอน รัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้นก็โค่นยางพาราทิ้ง ทำให้ธุรกิจเกี่ยวข้องกับยางพาราก็ปิดกิจการลงไป”

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

แล้ววันนี้สถานการณ์ไทยเป็นเบอร์ 1 ของโลกแทน “มาเลเซีย นอกจากนั้นยังมีคู่แข่ง “เวียดนาม”,  “กัมพูชา”  “เมียนมา”  “ลาว” และแอฟริกาเติบโตขึ้น ไทย”  ขายยางแพงกว่ามาเลย์ และอินโดนีเซียกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขายแพงกว่าเวียดนาม 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน แพงกว่ากัมพูชาและเมียนมากว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน นี่คือปัญหา  ในขณะที่คุณภาพใกล้เคียงกันผู้ส่งออกจะทำอย่างไรให้อยู่รอด “ขายแพงก็ไม่ซื้อ ขายถูกกว่านั้นเกษตรกรก็อดตาย” เรียกว่า เดินหน้าก็ตายถอยหลังก็ตาย จะมีอนาคตได้อย่างไรไร  แต่ไทยมีนัยต่อตลาดโลกยางทั้งโลก ยางไทย มี 38% ส่วน 62% ไปซื้อที่อื่นก่อน เพราะฉะนั้นที่ทำได้ก็คือต้นน้ำไม่พอกิน กลางน้ำประคอง ประเทศอื่นปลูกทดแทนมาของไทยทำแทนได้แล้ว จะไปขายยางได้ง่ายหรือไม่

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

แหล่งข่าวในวงการยางพารา กล่าวว่า “วงศ์บัณฑิต" เป็นความมั่นคงของวงการยางโลก เคยเป็นเบอร์ 1 ของโลก ไม่ใช่ของไทยอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นบริษัทโนเนม นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าถามคนในวงการแปลกใจหรือไม่ ก็ไม่แปลกใจ เพราะเห็นความสั่นคลอนมาในระยะหลัง 3-4 ปีแล้ว ซึ่งเป็นข่าวไม่ใช่เชิงบวกและก็เริ่มหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่ามีเรื่องโน้นเรื่องนี้โผล่มาก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็คือว่า "สั่นคลอน" ทำให้พอมีเวลาอะไรมาบอก "ก็คิดว่า สักวันหนึ่งก็คงมาถึง เปรียบเทียบเหมือนกับคนป่วยที่เข้าโรงพยาบาล พอวันหนึ่งก็จากไป ...ไม่ได้แปลกใจ เพียงแต่ เอ้า! ไปแล้วหรือ แต่ก็ตกใจว่าเร็วนะอย่างนั้นมากกว่า"

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

สอดคล้องกับนาย วรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป กล่าวว่า นับว่าเป็นข่าวใหญ่ หากปิดกิจการลงกลางน้ำไปไม่รอดแล้ว ปีนี้ทั้งปีผู้ประกอบการก็ขาดทุน ไม่ใช่เกษตรกรจะขายของถูกอย่างเดียว เรียกว่า “ซื้อของแพงขายของถูก” เพราะ ราคาต่างประเทศถูกมากที่สำคัญโดนเวียดนามกับจีนขายราคาถูกกว่าไทย กิโลฯละ 6-10 บาท  ไทยขายของไม่ได้เลยถูกกดราคา ในประเทศยังซื้อแพงอยู่

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

“เวลารัฐบาลเรียกผู้ประกอบการไปประชุมจะรู้สึกจุกพูดไม่ออกว่าจะทำราคายางขึ้นอย่างไร เราพูดไม่ออกจริง ๆ เพราะราคายางพาราขณะนี้ผู้ส่งออกยังจะตายเลย ปัจจุบันมี ไทยครองแชมป์ ก็คือมียางพาราที่มีมากที่สุดในโลก และราคายางพาราที่สูงสุดในโลก ดังนั้นไม่ใช่คุณหมอ(พงษ์ศักดิ์)เจ้าเดียวที่มีปัญหา หลายบริษัทก็มีปัญหาขายขาดทุนก็ลำบากเพียงแต่เค้าไม่พูดกันเท่านั้นเอง อย่างบริษัทนี้เป็นมหาชนได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไปแล้วว่าประสบภาวะการขาดทุนเช่นกันไม่น้อย เพราะประสบปัญหาเดียวก็คือซื้อในประเทศแพง ต้องไปขายแข่งกับเวียดนามที่ตัดราคาขายแข่งไทย ก็จำเป็นต้องแก้เกมโดยการขายขาดทุน ซึ่งผมเข้าใจก่อนหน้านี้เลยว่าทำไมบริษัทวงศ์บัณฑิต ตอนแรกถึงประกาศหยุดการรับซื้อวัตถุดิบ เรียกว่า “ซื้อไปเท่าไรก็ขาดทุนเท่านั้น”

วงการตื่น "วงศ์บัณฑิต" ยักษ์ใหญ่ยางโลกส่อล้มครืน!

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● ช็อกโลก!! สะพัดวงการยาง ‘วงศ์บัณฑิต’ ปิดกิจการ?

● ‘พงษ์ศักดิ์’ แจง'วงศ์บัณฑิต'แค่ลดกำลังการผลิตไม่ได้ปิดกิจการ

● “วงศ์บัณฑิต”อ่วมปี’61ขาดทุน1.2พันล.ทยอยปิดบริษัทย่อย