อนาคตมือถือรายได้ลด AIS ต่อยอดเอ็นเตอร์ไพรส์-ไฟเบอร์

22 ส.ค. 2562 | 03:00 น.

 

แม้เทมาเสก โฮลดิ้งส์ ได้ขายหุ้นบิ๊กล็อตจำนวน 257.09 ล้านหุ้นราคาหุ้นละ 60.75 บาท รวมมูลค่า 1.56 หมื่นล้านบาท กำไรจากการขายหุ้นในรอบนี้รวม 2.95 พันล้านบาท นักวิเคราะห์ประเมินว่าเป็นเพราะธุรกิจมือถืออิ่มตัวก็ตาม

ก่อนที่ เทมาเสก ประกาศขายหุ้นใน อินทัช เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางฝั่งเอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2/2562 กำไร 7.7 พันล้านบาท

หลังจากประกาศผลประ กอบการผ่านไปไม่นาน เมื่อเร็วๆนี้ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร ของ เอไอเอส ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลกับนักลงทุนและนักวิเคราะห์หลังแจ้งผลประกอบการ พอสรุปได้ดังนี้

 

อนาคตมือถือรายได้ลด  AIS ต่อยอดเอ็นเตอร์ไพรส์-ไฟเบอร์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์


 

ย้อนรอยประมูลคลื่น

สมชัย บอกว่า เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารครบ 5 ปี วันแรกเข้ามารับตำแหน่งตั้งใจเข้ามาประมูลคลื่น 1800 MHz เพื่อลงทุนให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี เนื่องจากคู่แข่งได้ลงทุนไปก่อนแล้ว แต่ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เข้ามาบริหารประเทศเพียง 2 อาทิตย์ได้มีคำสั่งเลื่อนประมูลออกไป 1 ปี ทำให้อุตสาหกรรมมือถือพลาดโอกาสไม่สามารถประมูล 4 จี ต่อไปได้ ดังนั้นเอไอเอส จึงใช้วิธีขยายระบบ 3 จีต่อไปเรื่อยๆ

ช่วงระหว่างปี 2558-2559  เอไอเอส มีโอกาสได้คลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เข้ามา ในจังหวะนั้นมหัศจรรย์มากเนื่องจากราคาประมูลคลื่นสูง โดยคลื่น 900 MHz บริษัท จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ชนะประมูลในราคาที่สูงมาก แต่ก็ต้องออกไป

ในช่วงเวลานั้น เอไอเอส ก็เสี่ยง จากการไม่มีคลื่น 900 MHz จะถูกปิดเน็ตเวิร์กเพราะสัมปทานหมดแล้ว แต่สุดท้าย เอไอเอส รับคลื่นความถี่มาทำให้ไม่มีปัญหา

 
 

 

โครงสร้างเริ่มเข้าระบบ

สมชัย บอกต่ออีกว่า สิ่งที่ต่อเนื่องหลังประมูลคลื่น 1800 MHz และ 700  MHz โครงสร้างบริหารคลื่นความถี่เริ่มมีความชัดเจนขึ้น หลังประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz ราคาและงวดชำระค่าคลื่นสมเหตุสมผล

 

ธุรกิจโมบายหัวใจหลัก

ทิศทางบริษัท 3-5 ปีเป็นอย่างไร วันนี้เรายืนยันสิ่งที่ เอไอเอส ทำ 3 อย่าง คือ ธุรกิจโมบาย หัวใจสำคัญคือ โมบาย ทั้งวอยซ์และดาต้า แข็งแรงให้มากๆ เราต้องการให้แข็งแรงมาก รายได้มาก มาร์เก็ตแชร์ไม่ตกลง

ในระยะสั้นต้องรีบวางแผนในธุรกิจใหม่ ที่จับต้องได้เป็นรูปร่าง วันนี้มีคำตอบชัดเจน คือ รายได้ฟิกซ์บรอดแบนด์ โดยสิ้นปี 2562 เอไอเอส ไฟเบอร์ เพิ่มฐานลูกค้าเป็น 1 ล้านราย และ เอ็นเตอร์ไพรส์ ให้บริการกับกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้นหลายองค์กรอยากขอให้พัฒนา แอพพลิเคชัน แต่เอไอเอส มีจุดแข็งเรื่องโมบาย เรากำลังขยายคลาวด์ ดาต้า เซ็น เตอร์ ส่วนแอพ หรือไอซีที เลือกทำในเฉพาะพื้นที่ที่เข้มแข็ง เช่น การลงทุนทำ IoT

ระยะยาว เราไม่ปฏิเสธไปเป็นดิจิทัลเซอร์วิสโพรไวร์เดอร์ต้องอาศัยแอพพลิเคชัน เราจะสร้างเอกลักษณ์ เรื่องวิดีโอ โมบายมันนี่ เรื่อง ไอโอที ประมาณการว่าอนาคตถ้าเกิด เอไอเอส ไม่ตกขบวนรถไฟ ในเรื่องรายได้ตรงนี้

แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้  โมบาย ทำรายได้ 85%, เอ็นเตอร์ไพรส์ 10% และ ฟิกซ์บรอดแบนด์ 5% ต่อไปในอนคตโมบายลดน้อยลงโตแบบซิงเกิลดิจิทัล กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ใหญ่ขึ้น และฟิกซ์บรอดแบนด์ก็ต้องโตขึ้น

 

ตั้งเป้าสู่ดิจิทัลเซอร์วิสฯ

สมชัย ยังบอกถึงเป้าหมายตั้งแต่ 5 ปีที่แล้วว่า เอไอเอสประกาศตัวเองชัดเจนว่าอยากเป็น ดิจิทัล เซอร์วิส โพรไวร์เดอร์ มากกว่าการเป็น โมบาย โอเปอเรเตอร์ นั่นก็คือ การซื้อกิจการจากในซีเอสล็อกซอินโฟ เข้ามาเพื่อขยายธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ให้เด่นชัด ร่วมลงทุนกับแรบบิทไลน์เพย์ และลงทุน เอไอเอส ไฟเบอร์ ให้บริการสู่ตลาด

 

อนาคตมือถือรายได้ลด  AIS ต่อยอดเอ็นเตอร์ไพรส์-ไฟเบอร์

 

 

เครือข่ายไม่เคยแพ้ใคร

ผลประกอบการในครึ่งปีแรก ด้านรายได้ชัดเจน สิ่งที่อยากเน้นยํ้า กำไรก่อนหักค่าเสื่อมราคา(EBITDA) รักษารายได้อย่างน้อยให้เท่ากับปีที่แล้ว เหตุผลทำตามเป้าหมายเป็นลีดเดอร์ชิพ สร้างความแข็งแรง ในจุดแข็งของเรา โดยเฉพาะเน็ตเวิร์ก การันตีคุณภาพไม่เคยแพ้ใคร จากระบบ 4 จี ที่เปิดช้ากว่ารายอื่นทำให้การรับรู้ของลูกค้าด้านดาต้าน้อยกว่าคู่แข่ง แต่วันนี้กลับมาแล้ว รวมทั้งทำแบรนด์แข็งแรงมากขึ้น เรามีการวัดแบรนด์ของเราอยู่ตลอดเวลา ทุกแกนของ เอไอเอส สูงขึ้นแต่คู่แข่งตกลง

 

ชี้ 5จีลงทุนไม่สูง

เมื่อ 5 จีเกิดขึ้นลงทุนมากน้อยเท่าไหร่จากตัวเลขของ ITU (International Telecommunication Union : สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ) สิ่งที่คำนวณกันเมื่อมี 5 จี เกิดขึ้นการลงทุนรวมอยู่ประมาณ 17-18% เพราะเทคโนโลยีถูกขับเคลื่อนออกไปอย่างไม่น่ากังวล สิ่งที่สำคัญการลงทุน 5 จี รัฐบาลพยายามเร่งมาก

ผมมีความเชื่อส่วนตัวใน 5 จี ไม่ลงทุนแบบ 3-4 จี แต่ลงทุนเป็นจุดๆ ตามยูสเคสที่เกิดขึ้นมาเพราะฉะนั้นระบบ 5 จี เกิด 2 อย่าง คือ ประมูลความถี่ใหม่ กสทช.ประมูลแบบเป็นแพ็กคือ คลื่น 2.6 GHz และ 3.5 GHz รวมเป็นแพ็ก หรือ 2600-2800 MHz เกิดขึ้นเอามารวมเป็นแพ็ก มุมมองของผมเป็นเรื่องที่ดีนำมาประมูลเป็นเซตของ 5 จี เพราะคลื่นที่ได้รับกันไป คือ 700 MHz ได้รับคนละ 10 เมกะเฮิรตซ์ไม่เพียงพอต่อการทำ 5 จี

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3498 วันที่ 22-24 สิงหาคม 2562

อนาคตมือถือรายได้ลด  AIS ต่อยอดเอ็นเตอร์ไพรส์-ไฟเบอร์