กสทช.เสนอ 3 เงื่อนไขจัดเก็บรายได้ OTT  

19 ส.ค. 2562 | 07:05 น.

      กสทช.เสนอ 3 เงื่อนไขจัดเก็บรายได้ OTT  ในการประชุม ATRC ครั้งที่ 25 พร้อมแนะจัดตั้งศูนย์ ประสานความร่วมมือและยืนยันความถูกต้องป้องกัน กำจัดข่าวปลอม หนุนการทำงานภาครัฐ     

กสทช.เสนอ 3 เงื่อนไขจัดเก็บรายได้ OTT  

             นายฐากร ตัณฑสิทธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมในวันนี้เพื่อเป็นการเตรียมการเรื่อง  OTT  (Over The Top)  ก่อนที่จะนำเสนอในการประชุม 25th ASEAN Telecommunication Regulator’s Council (ATRC) and Related Meetings ในวันพรุ่งนี้ โดย สำนักงาน กสทช. ได้มีการเสนอแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ OTT ในอนาคต 3 เงื่อนไข คือ 1.  ผู้บริโภคจะต้องไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบ หรือไม่ควรผลักภาระให้ผู้บริโภคด้วยการเพิ่มราคา  2. รายได้ของแต่ละประเทศ ที่ผู้ให้บริการ OTT อาจจะสนับสนุนเศรษฐกิจโดยการนำส่งรายได้เข้ารัฐ  และ 3. ขอให้ผู้ให้บริการโอทีที ให้ความร่วมมือกับแนวทางของที่ประชุมด้วย   สำหรับการประชุม 2019 ATRC OTT Dialogue ในวันนี้มีผู้ให้บริการ OTT รายใหญ่ อาทิ Facebook, Line. Walt Disney, Amazon และ Netflix เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย

กสทช.เสนอ 3 เงื่อนไขจัดเก็บรายได้ OTT  

     นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้มีการเสนอต่อ OTT ให้มีการจัดตั้งศูนย์ ประสานความร่วมมือและยืนยันความถูกต้อง (Coordination and verification Center) เพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการป้องกันข่าวปลอม (Fake News) โดยเบื้องต้นได้มีการเสนอต่อที่ประชุมถึงความเป็นไปได้ ที่จะให้ OTT มอบหมายให้แต่ละประเทศมีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว เพื่อป้องกันข่าวที่สร้างสร้างความเสียหาย เนื่องจากกระบวนการในการตรวจสอบเดิมต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือน ซึ่งไม่ทันการเมื่อเกิดความเสียหาย แต่หากมีการจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นในประเทศจะช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบและป้องกันความเสียหายโดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน เบื้องต้นทางเฟซบุ๊กมีความเห็นต่อข้อเสนอดังกล่าวว่า ทางเฟซบุ๊กเองก็ได้มีขั้นตอนการดำเนินการในการตรวจสอบข่าวปลอมอยู่แล้ว และเชื่อมั่นในกระบวนการที่มีอยู่ แต่ก็ยินดีที่จะรับฟังข้อเสนอ และแนวทางจากทางสำนักงาน กสทช.ก่อนว่าจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงานอย่างไร 

"เมื่อมีเฟคนิวส์    มีการปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคล ในการแก้ไขปรับปรุงปกติต้องใช้เวลาเป็นเดือน เรามองว่ามันยังช้าสำหรับระยะเวลาการป้องกันข้อมูล   ซึ่งถ้าเป็นไปได้ อยากให้โอทีทีให้ความร่วมมือ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนการทำงานของทางกระทรวงดีอี ที่ได้มีการจัดตั้งศูนย์สกัดข่าวปลอม (Anti Fake News) ขึ้น"

             ขณะที่กระบวนการดำเนินการเบื้องต้น ทาง กสทช. อยากให้ OTT เลือกจัดจ้างบริษัทภายนอก (Outsource) เข้ามาดูแล เพื่อลดภาระให้กับ OTT โดยการมอบหมายให้กับเอาซอร์ซในแต่ะละประเทศดูแล ถ้าเห็นชอบ ก็จะนำเข้าที่ประชุม ATRC ในวันพรุ่งนี้ เพื่อออกเป็นมติที่ประชุมอาเซียนต่อไป   

            “รัฐบาลจะไม่มีอำนาจในศูนย์ดังกล่าว เนื่องจาก OTT เป็นผู้ก่อตั้งตัวแทนขึ้นมาเอง  ซึ่งถ้ามีศูนย์ฯ เกิดขึ้น ประชาชนก็สามารถติดต่อแจ้งปัญหาไปยังศูนย์ดังกล่าวได้เลย โอทีทีก็จะมีความเชื่อมั่น เพราะเป็นบริษัทที่เลือกมาด้วยตัวเอง”