อย. เปิดรับความเห็นร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ หลังใช้นานกว่า 50 ปี

17 ส.ค. 2562 | 06:47 น.

อย. เปิดแสดงความเห็นร่างกฎหมายลำดับรองของ พ.ร.บ. ยา ฉบับแก้ไข หลังใช้มานานกว่า 50 ปี มุ่งประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา

อย. เปิดรับความเห็นร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ หลังใช้นานกว่า 50 ปี

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่ พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มีการใช้บังคับมานานกว่า 50 ปี ทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาในบางประเด็นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการวิจัยยา รวมถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมยา ซึ่งขณะนี้ พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 6)  พ.ศ. 2562 ผ่านขั้นตอนทางกฎหมายและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2562 นี้เป็นต้นไป    

อย. เปิดรับความเห็นร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ หลังใช้นานกว่า 50 ปี

ทั้งนี้ อย. เห็นถึงความจำเป็นในการชี้แจงและทำความเข้าใจถึงเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไขนี้ จึงได้จัดให้มีการชี้แจงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดรับฟังความเห็นต่อร่างกฎหมายลำดับรองอีก  4 ฉบับ ได้แก่ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา (ฉบับที่ 2), (ร่าง) กฎกระทรวงการขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทบทวนทะเบียนตำรับยาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว และ (ร่าง) กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ในวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ณ กระทรวงสาธารณสุข

อย. เปิดรับความเห็นร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ หลังใช้นานกว่า 50 ปี

สำหรับ พ.ร.บ. ยา ฉบับแก้ไข เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณสำหรับสัตว์ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ องค์กรภาคเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับยา สมาคมที่เกี่ยวข้องด้านยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณเข้ารับฟังการชี้แจงและแสดงความคิดเห็นทั้งในห้องประชุมและทางออนไลน์ เช่น Facebook เว็บไซต์สำนักยา

 

“อย.จะเปิดรับฟังความเห็นผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวจนถึง 30 สิงหาคม 2562 และจะดำเนินการรวบรวมนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากการรับฟังความเห็นในครั้งนี้มาประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายลำดับรองให้เกิดความสมบูรณ์เหมาะสม เพื่อให้การกำกับดูแลระบบยาของประเทศครอบคลุมการคุ้มครองผู้บริโภคและประขาชนมีกระบวนการพิจารณาอนุญาตด้านยาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นคงทางยาให้แก่ประเทศต่อไป”