ไทยใช้มือถือ128ล้านเบอร์ ‘เอไอเอส’แชมป์ 44% ‘ทรู’ยึดหัวหาดเน็ตบ้าน

18 ส.ค. 2562 | 02:03 น.

กสทช.เผยผลสำรวจตลาดโทรคมนาคมไตรมาส 1/2562 ชี้คนไทยใช้มือถือ 128.21 ล้านเลขหมาย ส่วนเอไอเอสรั้งเบอร์ 1 ส่วนแบ่งตลาด 44.18%, ทรูอยู่ที่ 31.47% และดีแทค 22.07% ส่วนค่าบริการอยู่ที่ 234 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน ขณะที่คลื่น 2100 MHz ติดตั้งมากสุด

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้รายงานข้อมูลการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมไตรมาส 1/2562 โดยสภาพตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ประมาณ 128.21 ล้านเลขหมาย โดยกลุ่มบริษัท เอไอเอส มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอยู่ที่ 44.18% รองลงมาเป็นกลุ่มบริษัท ทรูฯ อยู่ที่ 31.47%, กลุ่มบริษัท ดีแทคฯอยู่ที่ 22.07%, แคทอยู่ที่ 2.14%และทีโอทีอยู่ที่ 0.14% ขณะที่รายรับเฉลี่ยอยู่ที่ 234 บาทต่อเดือนต่อเลขหมาย และอัตราค่าบริการเฉลี่ยประเภทเสียงนาทีละ 0.58 บาท

ขณะที่บริการอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ มีเลขหมายที่เปิดใช้บริการอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่แล้วทั้งหมด 74.25 ล้านเลขหมายและกลุ่มบริษัท เอไอเอสฯ มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอยู่ที่ 47.60% รองลงมาเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มบริษัท ดีแทคฯ อยู่ที่  29.26% และผู้ให้บริการในกลุ่มบริษัท ทรูฯอยู่ที่ 20.90% โดยมีอัตราค่า บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 0.15 บาทต่อเมกะบิตต่อวินาที

ส่วนอินเตอร์เน็ตประจำที่มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวน 9.36 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 1.81% เมื่อพิจารณาอัตราการเข้าถึงอยู่ที่ 43.38% ของครัวเรือน โดย ทรู มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด 37.84% รองลงมาเป็น 3BB อยู่ที่ 32.13% และ ทีโอที อยู่ที่ 16.68% ส่วนอัตราค่าบริการ ของ FTTX อยู่ที่ 0.01 บาทต่อกิโลบิตต่อวินาที


 

 

ขณะที่ตลาดบริการเข้าถึงบรอดแบนด์ อยู่ที่ 6,216.37 Gbps เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.51% ซึ่งมีแนวโน้มเข้าถึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับรายได้ จากบริการเข้าถึงบรอด แบนด์อยู่ที่ 28,126.42 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 2.49% แบ่งเป็นรายได้ที่ขายให้แก่บริษัทอื่น 16,011.30 ล้านบาท และรายได้จากการใช้เองและให้บริการบริษัทในกลุ่ม 12,115.12 ล้านบาท

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกว่า การขอพาดสายสื่อสาร ไตรมาสนี้มีการลงทุนโครงข่าย สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable: OFC) ไปทั่วประเทศมากที่สุดเป็นจำนวน 968,304 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 98.83% ของเทคโนโลยีการขอพาดสายทั้งหมด ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และไตรมาสนี้มีผู้ให้บริการขอพาดสายใยแก้วนำแสง 22,011 กิโลเมตร หรือลดลง 26.57% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีการลงทุน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ และภาคกลาง

 

ไทยใช้มือถือ128ล้านเบอร์  ‘เอไอเอส’แชมป์ 44% ‘ทรู’ยึดหัวหาดเน็ตบ้าน

 

หากพิจารณาสถานีฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว มีการ ลงทุนติดตั้งจำนวนสถานีฐาน คลื่นความถี่ 2100 MHz มากที่ สุด รองมาเป็นคลื่นความถี่ 1800 MHz และคลื่นความถี่ 900 MHz โดยมีจำนวนสถานีฐานประมาณ 74,067 สถานีฐาน 38,628 สถานีฐาน และ 37,087 สถานีฐาน

 

ด้านนายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ได้สร้างสถิติเร็วที่สุดขยายสถานีฐานทุกคลื่นรวมกันมากถึง 21,146 สถานีในปีเดียว (.. 61 - มิ.. 62) เร็วที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ทั้งนี้เมื่อเทียบกับรายงานข้อมูลจำนวนสถานีฐานในรายงานข้อมูลการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กสทช. ไตรมาส 4 ปี 2560 และ 2561 ของทุกเครือข่ายและทุกความถี่เฉลี่ยเท่ากับ 10,040 สถานี และ 9,411 สถานีฐานต่อปีตามลำดับ

โดยในไตรมาส 4 ปีนี้ ดีแทค จะนำคลื่น 900 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ตํ่ามาติดตั้งให้ลูกค้าได้ใช้งาน แต่เนื่องจากการจะเปิดใช้คลื่น 900 MHz ได้นั้นต้องมีการบริหารจัดการคลื่นย่านอื่นที่รบกวนก่อน ทั้ง ดีแทค, กสทช. และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกำลังหาทางแก้ไขร่วมกัน

เราเชื่อว่าจะร่วมมือกันจัดการปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนได้เสร็จสิ้น และจะสามารถนำคลื่น 900 MHz ให้บริการได้ภาย ในไตรมาส 4 ปีนี้ ดีแทคมีแผนจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ 900 MHz ควบคู่กับอุปกรณ์ 700 MHz เราคาดว่า กสทช. จะอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 700 MHz อย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ดีแทคมั่นใจในคลื่น 700 MHzซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ตํ่าจะมาเติมเต็มประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมการให้บริการ 4G เพื่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะนำไปต่อยอดการให้บริการ 5G ในอนาคตอีกด้วยนายประเทศ กล่าวในที่สุด

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3497 วันที่ 18-21 สิงหาคม 2562

ไทยใช้มือถือ128ล้านเบอร์  ‘เอไอเอส’แชมป์ 44% ‘ทรู’ยึดหัวหาดเน็ตบ้าน