ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน

20 ส.ค. 2562 | 03:53 น.

ส่องศักยภาพประเทศเพื่อนบ้าน เปิดทางธุรกิจยาไทยปักหมุดลงทุน “อรรณพ มโนมัยวิบูลย์” ชี้โอกาส-อุปสรรคในตลาดเมียนมา เวียดนาม ลาว กัมพูชา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

แม้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ถูกยกมาเป็นหัวข้อสำคัญในการกรุยทางให้กับธุรกิจในอาเซียน แต่ทว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามาตรฐานทางการค้า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศ หลายภาคส่วน ในภูมิภาคถูกยกระดับมากขึ้นจากความร่วมมือดังกล่าว และเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจขยายตัวโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่เห็นศักยภาพการเติบโต จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้หลายผู้ประกอบการในกลุ่มเวชภัณฑ์ยาเริ่มมองหาโอกาสและเข้าทำตลาดอย่างจริงจังมากขึ้น

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน ดังนั้นการศึกษาและวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในแต่ละประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “อรรณพ มโนมัยวิบูลย์” ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด กูรูผู้ศึกษาตลาดในต่างประเทศมานานกว่า 30 ปี กล่าวถึงทิศทางและศักยภาพของธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ที่เป็นโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจยาและอื่นๆ ของไทย

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน

“อรรณพ” วิเคราะห์ให้ฟังว่า ประเทศในกลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และมีการเติบโต มีพัฒนาการที่โดดเด่นต่อเนื่อง ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย รวมถึงความพร้อมในหลายๆ ด้าน

“เมียนมา” เป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านบุคลากรในวงการแพทย์ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ประชากรสามารถสื่อสารได้หลายภาษา ทำให้เป็นประเทศที่มีผู้สนใจเข้าไปลงทุนมาก อย่างไรก็ดีความคุ้นเคยที่ชาวเมียนมามีต่อคนไทยทำให้เมียนมายอมรับและเชื่อถือในแบรนด์สินค้าของคนไทย และมองไทยเป็นเซ็นเตอร์ในการพัฒนาสินค้ายาและสินค้าอื่นๆ รวมถึงระบบโลจิสติกส์ที่วันนี้สามารถเดินทางเข้าออกได้หลากหลายช่อง ทาง จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในธุรกิจยาและสินค้าคอนซูเมอร์ในการรุกเข้าไปทำตลาด

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน ขณะที่อุปสรรคในการรุกขยายตลาดในเมียนมาคือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ยังไม่มีความพร้อมมากพอ ทำให้ชาวเมียนมาไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีคุณภาพได้ รวมถึงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มนักลงทุนจากจีนเข้าไปลงทุนจำนวนมากถือเป็นคู่แข่งสำคัญของผู้ประกอบการไทย

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน

“ตลาดขายส่งยาของเมียนมา เป็นเหมือนตลาดนัดที่ยังไม่ได้มาตรฐานและมีสินค้าทุกอย่างอยู่รวมกัน ทำให้ยังแออัด หากพัฒนาหรือขยายตัวมากขึ้นจะส่งผลดี และสร้างโอกาสในการขายได้อีกมาก”

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน “เวียดนาม” เป็นประเทศที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนอย่างมาก โดยปัจจุบันเวียดนามมีโรงงานยากว่า 500 แห่ง แต่ก็มีกฎหมายควบคุม โดยกำหนดให้ 1 โรงงานผลิตสินค้าได้เพียง 1 แบรนด์ 1 เคมีเท่านั้น เพื่อป้องกันยาจากต่างประเทศทะลักเข้าไปจำนวนมากเกินไป ถือเป็น Technical Barriers แม้วันนี้ สปป.ลาว จะมีจำนวนประชากรน้อย แต่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ซึ่งเป็นโนว์ฮาวที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาต่อยอด พร้อมเดินหน้าทางธุรกิจได้

“ช่วงที่ผ่านมาประเทศเวียดนามถือว่ามีการขยายตัวและเติบโตเร็ว โดยเฉพาะด้านการค้า ทำให้คนเวียดนามเองเปิดกว้างและต้องการยาที่ดี แต่ตลาดยาในเวียดนามเองยังไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับประเทศไทย จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการในการเข้าไปลงทุน แม้จะมีข้อจำกัดในด้านกฎหมาย ข้อกำหนดในการผลิตยา แต่ก็มีนักธุรกิจต่างชาติเข้าไปลงทุนจำนวนมาก”

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน

“อรรณพ” บอกว่า “สปป.ลาว” แม้จะเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย แต่มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่อุปสรรคในการเข้าไปทำธุรกิจยาคือ ชาวลาวยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยา แต่จุดเด่นของแบรนด์ยาไทยคือ มีความน่าเชื่อถือ และมีระบบโลจิสติกส์ที่ดีทำให้ขนส่งได้สะดวกในต้นทุนที่ตํ่า ขณะที่การ พัฒนาและเข้าไปลงทุนของกลุ่มนักธุรกิจจีน ทำให้ชาวลาวมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีกำลังซื้อที่ดีขึ้น

เช่นเดียวกับ “กัมพูชา” ที่พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยรูปแบบและการเติบโตที่ไปในทิศทางเดียว กับสปป.ลาว ทั้งในด้านโอกาสและอุปสรรค แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป จะเป็นโอกาสให้ธุรกิจยาและอื่นๆ ของผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำตลาดและสร้างตลาดให้เติบโตได้

 

ประเทศที่น่าจับตาคือ “อินโดนีเซีย” ซึ่งวางตัวเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาค ศักยภาพการจับจ่ายของประชาชนที่มีจำนวนมาก กว่า 240 ล้านคน และกลุ่มคนรวย ซึ่งมีความมั่งคั่งมากคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 10% หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรไทย ทำให้เป็นโอกาส ในการเข้าไปลงทุน แต่ก็มีข้อจำกัด ด้านกฎหมายที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนทุกๆ 5 ปี ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องของการดูแลสุขภาพ และพร้อมเปิดรับแบรนด์ใหม่ที่เข้ามา ทำให้มีผู้ประกอบการต่างชาติเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียจำนวนมาก การแข่งขันจึงรุนแรงตามไปด้วย

ใกล้เคียงกับ “ฟิลิปปินส์” ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในหลายๆ ด้าน แต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุน ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการวางรากฐานทั้งด้านการศึกษา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างมีระบบ ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างมาก ขณะที่อุปสรรคใหญ่คือการเข้าไปลงทุนของต่างชาติทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรง

“ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาบริษัทเริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดในประเทศซีแอลเอ็มวีและอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากมองเห็นศักยภาพทางการเติบโตในตลาดที่มีความพร้อมและมั่นคงเต็มที่แล้วปัจจัยหลักที่กลับมา เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโต มีระบบโลจิสติกส์ที่ไทยเป็นศูนย์กลางกำลังเข้าไปขยายตลาดง่ายมากขึ้น ทำให้มีความได้เปรียบในการขยายเข้าไปเมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม”

ส่องโอกาสทุนไทยปักหมุดตลาดยาอาเซียน

การขยายตลาดต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยไม่ใช่แค่ความเร็ว หรือความพร้อมของบริษัท แต่ต้องคำนึงถึงลูกค้าในแต่ละประเทศ การขยายตลาดในประเทศอื่นๆ ก่อนกลับมารุกประเทศเพื่อนบ้าน เพราะต้องการรอเวลา รอความพร้อมเพราะการเข้าไปเร็ว ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเร็ว 

หน้า 32 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3497 ระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม 2562