‘คมนาคม-คลัง’ร้าวลึก รื้อบอร์ดรสก.-ศึกชิงเค้กแสนล้าน

10 ส.ค. 2562 | 03:00 น.

รายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM ช่วงลึก แต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ และ วิลาสินี แวน ฮาเรน ดำเนินรายการออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 103.0-11.50 . ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้เจาะลึกถึงปมร้าวที่เกิดขึ้นในรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวง คมนาคมว่า เริ่มต้นจากการ ประชุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง

โดยไฮไลต์การประชุมนั้น เน้นให้เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ รัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่งเพราะเป็นขุมทรัพย์และแขนขาของรัฐบาล พร้อมเคลียร์ใจเรื่องการตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ” (บอร์ด รสก.) ในกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมว่า ไม่ควรเร่งรีบ

เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ในการประชุมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้สั่ง การให้เร่งการเบิกจ่ายงบแล้ว ยังได้ส่งสัญญาณกลางที่ประชุมว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สนองตอบต่อนโยบายซึ่งประกาศชัดว่า ในอดีตเป็นประเพณีที่ทำกันมา

 

‘คมนาคม-คลัง’ร้าวลึก  รื้อบอร์ดรสก.-ศึกชิงเค้กแสนล้าน
 

คลิป "คมนาคม-คลัง"ร้าวลึก รื้อบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ชิงเค้กแสนล้าน

 

ในสัปดาห์หน้าจะรู้เรื่องการรื้อบอร์ดรสก.ในสังกัดก.คมนาคม การเข้ามาดูบอร์ดรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมนั้น ไม่ใช่เป็นการรื้อแต่เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องประเมินผู้บริหารและบอร์ดซึ่งมีเคพีไออยู่แล้ว ถือเป็นหลักการง่ายๆ

ในขณะที่มีรายงานภายในว่า นายศักดิ์สยามได้สั่งการเป็นนโยบายไปที่ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เข้าไปดูแลรัฐวิสาหกิจทั้ง 15 แห่งของ .คมนาคมอย่างชัดเจนว่า รัฐวิสาหกิจใดที่มีกำไรอยู่แล้ว บอร์ดไปต่อได้ แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดขาดทุนก็ไม่ควรอยู่ เพื่อเปิดทางให้คนอื่นเข้ามาทำงานซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำให้รวดเร็ว

เกิดเป็นคำถามตั้งข้อสังเกตกันว่า .คมนาคมเตรียมรื้อบอร์ดรัฐวิสาหกิจในสังกัดของตัวเอง ทั้งยังมีพรายกระซิบส่งเสียงบอกไปถึง ประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่นั่งอยู่ว่า ให้ลาออก เพราะท่านรมต.จะแต่งตั้ง ปธ.บอร์ดรัฐวิสาหกิจในสังกัดก.คมนาคมใหม่ทั้งหมด นำมาซึ่งกรณีที่ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานบอร์ดการบินไทยฯ เกริ่นในงานเปิดศูนย์คุณธรรมที่การบินไทยฯว่า ต่อไปเจอหน้าก็ทักทายกัน ผมอยู่ที่นี่ในเวลาอันสั้น เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป นักข่าวจึง ไปถามทางก.คลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด

 

กระทั่งในการประชุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมานายสมคิด รองนายกฯ บอกว่า จะยังไม่รื้อบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ยืนยันว่า นายเอกนิติ ยังเป็นปธ.บอร์ดการบินไทยฯ รวมถึงนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดก.คลัง ที่ยังเป็นปธ.บอร์ดท่าอากาศยานไทยฯ

อย่างไรก็ดี มีกระแสข่าวที่ ปลัดก.คมนาคม มีสายตรงถึงปธ.บอร์ดในรัฐวิสาหกิจสังกัดก.คมนาคม ที่ให้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนั้น มีรายงานว่า นายสมศักดิ์ ห่มม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า ปธ.บอร์ดการท่าเรือฯได้ยื่นใบลาออกแล้ว ขณะที่นายเอกนิติ ปธ.บอร์ดการบินไทย ได้ส่งสัญญาณขอลาออก ส่วนนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดก.พลังงาน ปธ.บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ช่วงหารือเนื่องจากมาจากคำสั่งแต่งตั้ง .44 ของ คสช.

ขณะที่นายประสงค์ ปธ. บอร์ดท่าอากาศยานไทยฯ ยังไม่ยื่นหนังสือลาออก เข้าใจว่าเคลียร์กันได้เนื่องจากมาจากสายของนายเนวิน ชิดชอบ ส่วนนายไกรฤกษ์ อุชุกานนท์ชัย ปธ.บอร์ดรฟม.จากก.คลัง ก็ยังไม่ยื่น ขณะที่นายสุรงค์ บูลกุล ปธ.กก.การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังไม่ได้รับแจ้ง

พิธีกรทั้ง 2 ตั้งข้อสังเกตถึงงบการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่งว่า มีมูลค่ามหาศาลรวมกันมีมากถึง 3.34 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่างบของรัฐบาล หากเปรียบเทียบให้รัฐวิสาหกิจเป็นกระทรวงที่ 21 ของรัฐบาล งบการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะติดอยู่ในอันดับที่ 3 จากทั้ง หมด 21 กระทรวง หรือต้องนำงบของ .พาณิชย์ 7 พันล้าน .สาธารณสุข 1.3 หมื่นล้าน .อุตสาหกรรม 5 พันล้าน และก.แรงงานกว่า 5 หมื่นล้าน รวมกันจึงจะเท่ากับงบการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่ง

 

‘คมนาคม-คลัง’ร้าวลึก  รื้อบอร์ดรสก.-ศึกชิงเค้กแสนล้าน

 

อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้ยังไม่รวมกับงบลงทุนของบริษัทเครือ ปตท. ที่แต่ละปีรวมกันอยู่ที่กว่า 3 แสนล้านบาท ด้วยเหตุนี้รัฐวิสาหกิจจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล

และในบรรดา รสก.ทั้งหมด .คมนาคม เป็นกระทรวงเดียวที่มีขุมทรัพย์ที่รอการประมูลและควบคุมกำกับการลงทุนสูงที่สุด เมื่อนายศักดิ์สยาม เข้ามาจึงถูกโฟกัสเป็นพิเศษ มีรายงานว่า ปี 2562 รัฐวิสาหกิจในสังกัดก.คมนาคม มีงบลงทุนรวมกันกว่า 136,310 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 76,184 ล้านบาท 2.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 24,385 ล้านบาท 3.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 17,912 ล้านบาท 4.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กพท.) 6,203 ล้านบาท 5.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 2,010 ล้านบาท 6.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 1,986 ล้านบาท 7. บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 1,250 ล้านบาท และ 8.บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 6,380 ล้านบาท เป็นต้น

นายบากบั่น ให้ข้อมูลเชิงลึกว่า การบินไทย มีรายได้อยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท ขาดทุนสะสมอยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท มีแผนที่จะจัดหาเครื่องบิน 38 ลำ รวมมูลค่า 150,000-200,000 ล้านบาท โละเครื่องบินเก่า 19 ลำ ทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ปรับโครง สร้างพนักงานจาก 25,000 คนให้เหลือ 20,000 คน ส่วน รฟม. มีรายได้ 14,000 ล้านบาท กำไร 2,300 ล้านบาท  มีโครงการรอประมูล อาทิ โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ เงินลงทุน 120,000 ล้านบาท โครง การรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เงินลงทุน 111,112 ล้านบาท และมีแผนจะนำที่ดินที่เวนคืนตามเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย รวม 1,400 ไร่ มาให้เอกชนประมูลเพื่อการพัฒนา เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ผ่านมานั้นรัฐบาล พล..ประยุทธ์มีความพยายามที่จะรื้อบรรษัท หรือ โฮลดิ้งคัมปะนี ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลบริหารรัฐวิสาหกิจ และได้ยกร่างกฎหมาย การกำกับดูแลบริหารรัฐวิสาหกิจขึ้น อย่างไรก็ดีหมวดว่าด้วยบรรษัท หรือโฮลดิ้ง คัมปะนี ได้ถูกตัดออกในชั้นสนช. ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562

 

‘คมนาคม-คลัง’ร้าวลึก  รื้อบอร์ดรสก.-ศึกชิงเค้กแสนล้าน

 

สำหรับกฎหมายฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาล พล.. ประยุทธ์ ได้นำบทเรียนจากรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐบาลนายทักษิณ ที่ตั้งคนของตัวเอง และนักการเมืองเข้าไปนั่งกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ อาทิ ..ศิธา ทิวารี นั่งปธ.บอร์ด บริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ และนายสุธรรม แสงประทุม .. นครศรีธรรมราช นั่งปธ.บอร์ด อสมท. เป็นต้น

กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการ แต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ เอาไว้ คือต้องมาจากการสรรหาและการเสนอชื่อ ผ่านการพิจารณา คัดเลือกจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบัน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯเป็นประธาน พิจารณาคัดเลือกตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เห็นชอบรายชื่อ ก่อนเสนอ พล..ประยุทธ์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่ง นายอุตตม รมว.คลัง ให้ความเห็นเรื่องการแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจยุคนี้ว่า แตกต่างจากในอดีตแล้ว เพราะต้องเสนอ ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองฯ แล้วเสนอชื่อให้ พล..ประยุทธ์ พิจารณา

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3495 วันที่ 11-14 สิงหาคม 2562

‘คมนาคม-คลัง’ร้าวลึก  รื้อบอร์ดรสก.-ศึกชิงเค้กแสนล้าน