“นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก

28 ก.ค. 2562 | 08:13 น.

ประธานกฎบัตรนครสวรรค์ประกาศออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง บูรณาการรถ ราง สนามบิน สร้างระบบการเชื่อมต่อทุกโหมดการเดินทาง เพิ่มความสามารถการเข้าถึง ปรับปรุงฟื้นฟูการเข้าถึงพาสานด้วยสะพานเขียว เร่งเปลี่ยน “นครสวรรค์” เป็นศูนย์เศรษฐกิจไมซ์ การค้า และศิลปะนานาชาติ คาดจีพีเพิ่ม 3 เท่าใน 10 ปี

 “นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก

นายจิตตเกษมณ์   นิโรจน์ธนรัฐ  นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ในฐานะประธานกฎบัตรนครสวรรค์ กล่าวว่า คณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์ได้จัดประชุมอย่างเป็นทางการจำนวน 2 ครั้ง ไม่เป็นทางการ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อระดมความเห็นจากกรรมการรายสาขา ผู้แทนองค์กรทุกภาคส่วน องค์กรภาคประชาชน สถาบันการศึกษา ปราชญ์ท้องถิ่น  ศิลปินในพื้นที่และศิลปินจากส่วนกลาง มีความเห็นให้วางแผนปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างทางกายภาพและตำแหน่งของจังหวัดอย่างเป็นระบบ โดยร่วมมือทางวิชาการอย่างใกล้ชิดกับคณะผู้วิจัยโครงการ SG-ABC สมาคมการผังเมืองไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 

 “นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก

นอกจากนั้น ความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเชื่อมต่อหรือ connectivity เป็นภารกิจสำคัญที่กฎบัตรเร่งรัดให้เกิดการลงทุนและการปรับปรุงฟื้นฟู เนื่องจากปัจจุบันนครสวรรค์สามารถเข้าถึงได้เฉพาะการเดินทางถนน โดยการเข้าถึงจังหวัดด้วยระบบรางที่ได้มาตรฐานจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และยังต้องหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ปรับเปลี่ยนสถานีรถไฟความเร็วสูงจากสถานีนครสวรรค์มาเป็นสถานีปากน้ำโพ เนื่องจากสถานีนครสวรรค์ตั้งอยู่ห่างจากเมืองนครสวรรค์เกินกว่า 10 กิโลเมตร 

“หากพัฒนาเป็นสถานีรถไฟขนาดใหญ่จะเพิ่มภาระในการเดินทางเข้าสูตัวเมืองของประชาชนและนักท่องเที่ยว อีกประการคือ สถานีแห่งนี้ไม่มีความเหมาะสมในการพัฒนาตามเกณฑ์ TOD เนื่องจากบทบาทของพื้นที่โดยรอบไม่มีกิจกรรมเศรษฐกิจรองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมโรงแรมที่พัก หน่วยบริการพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากสถานีรถไฟปากน้ำโพ เทศบาลนครสวรรค์สามารถสนับสนุนงบประมาณและโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งเชื่อมต่อรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในเมืองในอนาคต ระบบขนส่งมวลชนรอง หรือแม้แต่การเชื่อมต่อทางน้ำซึ่งจะมีการพัฒนาในอนาคต” 

โดยการเชื่อมต่อด้านโครงข่ายคมนาคมในปัจจุบันมีทั้งรถไฟ และรถสองแถว ที่วิ่งให้บริการรอบเทศบาลนครสวรรค์ ทั้ง 8 เส้นทาง อีกทั้งยังมีโครงข่ายในอนาคตอันใกล้นี้ อาทิ  สนามบินนครสวรรค์ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ และการขยายทางหลวงเอเชีย ประการสำคัญเทศบาลยังเร่งดำเนินการสะพานคนเดินเชื่อมตลาดปากน้ำโพ พาสาน ศาลเจ้าแม่กวนอิม และสถานีรถไฟปากน้ำโพ

“การปรับปรุงฟื้นฟูระบบการเข้าถึงสถาปัตยกรรมพาสานพื้นที่วัฒนธรรมใหม่ของนครสวรรค์นั้น นายจิตตเกษมณ์ กล่าวยืนยันว่า เทศบาลอยู่ระหว่างการออกแบบปรับปรุงซึ่งคาดว่าจะสามารถก่อสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในปี 2563 พร้อมๆ กับการก่อสร้างรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมและภูมิทัศน์พื้นที่พาสานโดยรอบ” 

ด้านนายฐาปนา  บุณยประวิตร  นายกสมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้วิจัย SG-ABC สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อทางอากาศให้กับจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากระบบการเดินทางที่มีอยู่เดิมจำกัดการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจของจังหวัดให้อยู่แค่ระดับภาค 

“กฎบัตรนครสวรรค์ทั้ง 10 สาขานั้นได้กำหนดให้นครสวรรค์มีความสามารถเชื่อมต่อในระดับภูมิภาคและมีรัศมีทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 หมื่นกิโลเมตรหรือสามารถเชื่อมต่อทางอากาศกับทุกประเทศในภูมิภาคเอเซีย” 

สำหรับไฮไลต์ของการปรับปรุงพื้นที่ต่างๆของจังหวัดนครสวรรค์จุดเด่นนอกจากการปรับย้ายสถานีรถไฟแล้วยังเป็นการพัฒนาพื้นที่ท่าข้าวกำนันทรงให้เป็นศูนย์ประชุมและศูนย์ศิลปะนานาชาติ ที่จะเป็นจุดดึงดูดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดนครสวรรค์ได้อีกด้วย ทั้งนี้หากทำได้สำเร็จคาดจีพีเพิ่ม 3 เท่าใน 10 ปี

 “นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก

 “นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก

 “นครสวรรค์”ใช้กฎบัตรออกแบบเชื่อมต่อโลก