ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

18 ก.ค. 2562 | 10:36 น.

ธปท.เปิดใจรับศึกษา ลิบรา เตรียมชวนเฟซบุ๊ก-พันธมิตรพูดคุย ยันเปิดรับ แต่ต้องศึกษาความเสี่ยงใกล้ชิด รับกังวลเรื่องหลักเกณฑ์พิสูจน์ยืนยันตัวตน-กฏหมายฟอกเงิน ต้องมีวิธีปฏิบัติชัดเจนก่อนใช้ มั่นใจประเทศที่มีเสถียรภาพ-ค่าเงินไม่ผันผวน ลิบราเข้ามาแทนยาก

               นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวในงาน“Bangkok Fintech Fair 2019”ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อยู่ในช่วงเชิญเฟซบุ๊กและพันธมิตรต่างๆ เข้ามาพูดคุย โดยทางเฟซบุ๊กก็ต้องการพบธปท.เช่นกัน ซึ่งเรื่องของ “ลิบรา” Libra สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency) เป็นเรื่องที่ธปท.ติดตามใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่า มีหลักเกณฑ์การพิสูจน์และยืนยันตัวตน ไม่เป็นที่ฟอกเงิน เพราะวิธีปฏิบัติยังไม่ชัดเจน และในส่วนของการทำงานหลังบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ธปท.ให้ความกังวลและติดตามความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด แต่หากดูศักยภาพในเรื่องของการโอนเงินที่ถูกลง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดีขึ้น

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

               ดังนั้น สิ่งที่ธปท.ติดตาม คือ จะต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงได้ และสอดรับกับกฎหมายชำระเงิน อย่างไรก็ดีในแง่การเข้ามาทดแทนสกุลเงินใดๆนั้น จะขึ้นกับแต่ละประเทศ และการพัฒนาระบบการเงินมากน้อยแค่ไหน กรณีในประเทศที่มีเสถียรภาพระบบการชำระเงินที่แข็งแรง ธนาคารกลางมีความน่าเชื่อถือ สกุลเงินไม่ได้มีความผันผวน เชื่อว่าลิบราไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ แต่หากกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีเสถียรภาพ สกุลเงินมีความผันผวน ธนาคารกลางไม่ได้รับความไว้วางใจ มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ลิบราจะเข้ามาทดแทนได้

“ธปท.ติดตามใกล้ชิด เพราะเป็น Digital Asset เพราะเป็นเทคโนโลยีทางการเงิน จะต้องเข้าใจความเสี่ยงและติดตาม โดยให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนควบคู่กันด้วย”

               สำหรับนวัตกรรมทางการเงิน Fintech เป็นสิ่งที่ธปท.ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยเห็นเทคโนโลยีเกิดขึ้นหลายด้าน และพัฒนาได้ดีกว่าในภูมิภาค และเป็นผู้นำหลายอย่าง เช่น ระบบการชำระเงิน ทั้งในส่วนของบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ (พร้อมเพย์) ซึ่งเป็นประเทศแรกในอาเซียน และมีธุรกรรมโตเร็วสูงสุดในโลก ภายหลังจากเริ่มเปิดบริการ 2 ปี มีผู้ลงทะเบียนใช้ผ่านหมายเลขบัตรประชาชน โทรศัพท์มือถือกว่า 50 ล้านไอดี มียอดธุรกรรมกว่า 6 ล้านรายการต่อวันผ่านพร้อมเพย์ โดยมีบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ 750 ล้านรายการต่อเดือน หรือเฉลี่ย 25 ล้านรายการต่อวัน และการชำระเงินผ่าน QR Code ปัจจุบันมีธนาคารใหญ่และบริษัทฟินเทคมาต่อยอดการให้บริการ ซึ่งช่วยลดต้นทุน จะเห็นว่าถูกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

               นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น เนื่องจากไทยมีระบบการชำระเงินพื้นฐานที่สัดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ได้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาให้บริการออกหนังสือค้ำประกัน (L/G) ผ่านการร่วมมือของสถาบันการเงินและองค์กรกว่า 23 แห่งภายใต้ BCI ครั้งแรกของโลก ซึ่งทำให้ต้นทุนถูกลง ลดการปลอมแปลงเอกสาร เพราะเอกสาร L/G ถือเป็นเอกสารที่สำคัญของภาคธุรกิจ ซึ่งจะมาช่วยส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการ Fintech จะต้องก้าวต่อไป โดยต้องมีการสร้างระบบนิเวศ หรือ Ecosystem ให้เกิดขึ้น โดยมี 3-4 ข้อหลัก คือ 1.มีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากมีผู้เล่นรายเก่า-รายใหม่ใช้ได้ร่วมกัน และสามารถปฏิบัติตามกันได้ ตัวอย่างเช่น พร้อมเพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือ NDID ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญของไทยที่จะนำไปต่อยอดอย่างอื่นได้ 2.ผู้ให้บริการหลากหลาย จำเป็นจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน เพราะหากไม่เชื่อมต่อกันได้ ประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และเงินจะต้องเคลื่อนย้ายได้ เช่น QR Code เป็นมาตรฐานกลาง เพราะในโลกดิจิทัลเรื่องของข้อมูลสำคัญที่สุดทและมาตรฐานกลางเป็นเรื่องที่ต่างประเทศก็พูดคุยกันอยู่

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

               ส่วนข้อ 3.สร้างแรงจูงใจให้เหมาะสม ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีอย่างเดียว ซึ่งประชาชนต้องแน่ใจว่าปลอดภัยและเชื่อมั่น โดยฝั่งผู้ให้บริการต้องได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และมีการแข่งขันที่เหมาะสม และ 4.ผู้กำกับต้องมีกฎกติกาเท่าทัน และคล่องตัว ปรับเปลี่ยนสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง และสามารถดูแลความเสี่ยงใหม่ๆ ได้ ดังนั้น การสร้างระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เกิด Digital Economy

               “ธปท.ให้ความสำคัญกับการพัฒนา Fintech ต่อเนื่อง โดยต้องการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนทั้งอุตสาหกรรม และเพิ่มการแข่งขัน ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน เพราะมีคนบางกลุ่มที่เข้าไม่ถึง เพราะมีต้นทุนสูง แต่เทคโนโลยีเข้ามาทำให้ต้นทุนถูกลง ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงและสร้างภูมิต้านทานดีขึ้น โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ มาเป็นกลไกควบคุมความเสี่ยง แต่พัฒนาการด้าน Fintech ต้องก้าวต่อไป ซึ่งแบงก์มีการพัฒนาบริการใหม่ๆ เราจึงต้องส่งเสริมให้เกิด Ecosystem สร้างระบบนิเวศการเงิน”

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง

               สำหรับแนวทางการดูแลเรื่องของระบบขัดข้องของสถาบันการเงินนั้น จะเห็นว่าหลังจากเทคโนโลยีเกิดใหม่และมีผู้ใช้เยอะขึ้น ทำให้ระบบมีปัญหา ซึ่งเรื่องนี้ธปท.ได้กำชับธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มขนาดและกำลังรองรับ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่มีปัญหากำลังอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ ซึ่งธปท.ติดตามอยู่ว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแผนชัดเจนและจะไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยภายในเดือนสิงหาคมจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่ระบบมีปัญหา เช่น ธนาคารแห่งใด ช่วงเวลาใดที่มีปัญหา ซึ่งการเปิดเผยนี้จะคล้ายกับหลักเกณฑ์การให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) ซึ่งจะช่วยให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มีศักยภาพมากขึ้น

ธปท.เปิดใจ ศึกษาสกุลเงิน “ลิบรา” จ่อคุยเฟซบุ๊กดูความเสี่ยง