ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

13 ก.ค. 2562 | 03:30 น.

แม้โครงการนำสายสื่อ สารลงใต้ดินที่กรุงเทพ มหานคร มอบหมายให้ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกดำเนินการ ระยะทาง 2,450 กม. เพื่อปรับภูมิทัศน์ กรุงเทพฯให้เป็นมหานครไร้สาย

กลับถูกตั้งคำถาม? ลงทุน  ซํ้าซ้อน ทั้งๆ ที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีท่อร้อยสายสื่อสารให้บริการแล้ว 2,500 กม.

แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า กรุงเทพธนาคม เลือก บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง ท่อร้อยสาย 80% เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมค่าดำเนินการติดตั้งและค่าทำการตลาดโครงการทั้งหมด 25,000 ล้านบาท ผูก ขาดแต่เพียงรายเดียว

นั่นจึงเป็นที่มาที่กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้ง 6 รายยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้าน ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้เกิดคำถาม? ทำไม และเพราะเหตุใด

ยิ่งทำให้ขบคิดขึ้นไปอีกเมื่อบิ๊กเนมออกมาสำทับไม่เห็นด้วยกับโครงการท่อร้อยสายแต่ทว่ากรุงเทพธนาคมยังเดินหน้าต่อเตรียมเซ็นสัญญาภายในเดือนนี้

ผูกขาดโดยธรรมชาติ

หลังกรุงเทพธนาคม เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือก ปรากฏว่า นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขียนเฟซบุ๊กส่วนตัวคัดค้าน เกิดแรงกระเพื่อมตามมาบรรดาบิ๊กกรุงเทพธนาคม ถึงขั้นเขียนบทความชี้แจงพร้อมกับเปิดโต๊ะแถลงข่าวกับสื่อว่าโปร่งใส

ท่อร้อยสายใต้ดิน  โอนผูกขาด  อำนาจรัฐสู่เอกชน

สวนทางกับประธานทีดีอาร์ไอ มองว่าท่อร้อยสายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติไม่ควรลงทุนซํ้าซ้อนกันหลายท่อ เหมือนกับสร้างสายไฟฟ้าหลายสาย หรือท่อนํ้าประปาหลายท่อต่อเข้าบ้านแต่ละหลัง

สิ่งที่ กทม. ดำเนินการจะสร้างปัญหาด้วย 2 เหตุผล คือ 1. โอนการผูกขาดของรัฐไปให้แก่เอกชน โดยเป็นการโอน 2 ต่อ ต่อแรกคือ โอนจากกทม.ไปให้กรุงเทพธนาคมที่เป็นบริษัทลูกที่แสวงหาผลกำไร ต่อที่ 2 คือ โอนจากกรุงเทพธนาคมไปให้แก่เอกชนอีกที

 

 

2. เอกชนที่ได้สิทธิผูกขาดยังเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งแข่งกับผู้ประ กอบกิจการโทรคมนาคมรายอื่นๆ ด้วย จึงเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันของผู้ประกอบการรายอื่น

เรื่องนี้มีทางออก คือ กทม. ควรเป็นผู้ให้บริการท่อร้อยสาย พร้อมไฟเบอร์ และให้เอกชนแต่ละรายสามารถมาเช่าใช้ได้อย่างเสมอภาค ในราคาที่เหมาะสมคือสอดคล้องกับต้นทุน ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช.

ยุติผูกขาด

ขณะที่ นายธีระชัย ภูว นาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า 1. ทำไม กทม. จะต้องมอบให้เอกชนเป็นผู้หาประโยชน์ ในเมื่อธุรกิจนี้เป็นของตาย

2. ทำไมต้องจัดตั้งบริษัทลูก ทั้งที่ กทม. สามารถจะเป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างทำเองการมีบริษัทลูก จะเหมาะสมเฉพาะถ้าหาก กทม. มีการร่วมบริหารกับเอกชน

ผมขอเสนอให้ กทม. พิจารณาทบทวน เพราะรัฐบาลนี้เน้นนโยบายการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้แก่นายทุนขนาดใหญ่และธุรกิจยักษ์ใหญ่ มากเกินไปอยู่แล้ว

ถ้า กทม. ไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่เอกชนทุกรายเสมอภาคกัน ก็จะถูกมองว่ารับใช้นายทุน เช่นเดียวกับที่มีคนวิจารณ์รัฐบาลนี้

 

อำนาจเหนือตลาด

ส่วนทางด้าน นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(กขค.) เปิดเผยว่า โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น สายส่งไฟฟ้า ท่อประปา และอื่นๆ ควรกำกับดูแลโดยภาครัฐ ไม่ควรให้เอกชนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เช่นเดียวกับโครงการท่อร้อยสายสื่อสารของกทม.ที่ควรดำเนินการโดยภาครัฐ เพราะหากยกให้เอกชนดำเนินการ อาจเป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์ เช่น เก็บค่าเช่าเพิ่มในราคาแพงได้ หรือใช้ข้ออ้างทางเทคนิคไปเก็บค่าบริการเพิ่มจากผู้ที่มาใช้บริการท่อร้อยสายเพิ่มเติมได้ทำให้ผู้ประกอบการรายดังกล่าวมีอำนาจตลาดเหนือรายอื่น เรื่องนี้มองว่าเป็นการโอนอำนาจการผูกขาดตลาดโดยรัฐไปอยู่ในมือเอกชน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3487 วันที่ 14-17 กรกฎาคม 2562

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● “สมเกียรติ”อัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทาน‘ทรู’ บิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!

ท่อร้อยสายใต้ดิน  โอนผูกขาด  อำนาจรัฐสู่เอกชน