ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

06 ก.ค. 2562 | 23:40 น.

กำลังเป็นคำถาม สำหรับ กลุ่มผู้ประกอบการโทรคมนาคม กับกรณีค่าเช่าโครงข่ายสื่อสารลงใต้ดิน ระยะทาง 2,450 กิโลเมตร ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ได้คัดเลือก บริษัททรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด มารับสัมปทานเป็นระยะเวลา 30 ปี ด้วยมูลค่าโครงการ 2 หมื่นล้านบาท และจัดเก็บค่าเช่าสูงกว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช.ในฐานะองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องให้ใบอนุญาตและ กำหนดอัตราค่าเช่าท่อร้อยสาย

 

ทางออก

ทุกฝ่ายต้องหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้สิทธิทางสาย และผู้รับบริการ เรื่องนี้ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศเป็น
สิ่งสำคัญ

 

คำถามคือผูกขาดรายเดียว

ไม่เกี่ยวเพราะกรุงเทพธนาคมเปิดให้ใช้เพื่อสร้างผลประโยชน์ของประเทศ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้สิทธิในการบริหารท่อ 80% ส่วนอีก 20% กทม. จะคงไว้เพื่อใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการสื่อสารของภาครัฐ เช่น ด้านการจราจร กล้องวงจรปิด (CCTV)

ดังนั้นหลักเกณฑ์ของการให้บริการและสิทธิต่างๆ กีดกันไม่ได้ บรรดาผู้ร้องเรียนอาจได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนว่ากีดกันไม่ให้คนอื่นมาใช้หรือเก็บค่าเช่าแพง

เพราะค่าเช่าท่อร้อยสาย กสทช.กำลังหาจุดร่วมเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันราคาไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

 

ไขปม  ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร

 

อัตราค่าเช่าท่อสรุปแล้วหรือยัง

ยังไม่ได้มีการก่อสร้าง กสทช. จึงไม่สามารถประกาศอัตราค่าเช่าท่อร้อยสาย และโครงการนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของ กสทช. เพราะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ กทม. และ ธนาคม

สิ่งที่ผู้ประกอบการโทร คมนาคมออกมาคัดค้านเพราะเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ยังสามารถ ออก ม. 44 ได้

 

นำราคาของทีโอทีเปรียบเทียบ

กระทรวงดีอี (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) มีมติให้ ทีโอที, กสท, กฟน.และ รฟม. ร่วมกันดำเนินการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าและท่อร้อยสายสื่อสารโทรคมนาคมไปพร้อมกับการก่อสร้างสถานี รถไฟฟ้า และกระทรวงได้เห็นชอบตามที่ ทีโอที, กสท เสนอปรับลดอัตราค่าเช่าใช้ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินให้มีราคาเป็น 9,650 บาท/ท่อย่อย/กิโลเมตร/เดือน (เฉพาะโครงการมหานครแห่งอาเซียน)

 

ท่อร้อยสายของ ทีโอที ของเดิมสร้างอยู่เกาะกลางถนน แต่แนวคิดใหม่ของ กทม.วางท่อร้อยสายบนทางเท้า ที่สำคัญ กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่ และทำตามมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบให้ กทม. เป็นผู้ดำเนินการสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในพื้นที่ กทม.

 

ใบอนุญาตหมดก่อนสัมปทาน

ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสูงสุดอยู่ที่ 15 ปี แต่โครงการท่อร้อยสายมีระยะเวลา 30 ปี เมื่อใบอนุญาตหมดอายุสามารถมาต่อใหม่ได้ เพราะโครงการนี้ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ระยะเวาล 15 ปีคงไม่คุ้มทุน

“เอกชนที่ได้รับใบอนุญาตเมื่อสัญญาหมดลงสามารถขอต่อใบอนุญาตใหม่ได้” 

สัมภาษณ์ โดย ทีมข่าวไอที

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3485 ระหว่างวันที่ 7 - 10 กรกฎาคม 2562

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!

 

ไขปม  ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด