ข้อตกลงคุณธรรม ที่เริ่มจะไม่มีใครทำ

03 ก.ค. 2562 | 13:20 น.

ไม่รู้ใครเป็นเหมือนผมบ้าง ชอบติดตามความเคลื่อนไหวขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มาอย่างต่อเนื่อง และสนใจกับลีลาการขยับแข้งขยับขาด้วยท่วงท่าต่างๆ ขององค์กรนี้ โดยเฉพาะในรัฐบาลลุงตู่ 1 มาถึงรัฐบาลลุงตู่ 2

ที่สนใจเพราะ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้เชิญภาคีเครือข่ายขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน นั่งเป็นกรรมการ ใน คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)” ด้วยตัวเอง โดยมี พล..ประยุทธ์ เป็นประธานเองด้วย ตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของรัฐบาลลุงตู่ 1 แถมยังตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ขึ้นมาอีกชุดเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนชุดเล็ก

ทั้งในชุดเล็กและชุดใหญ่ ประกอบด้วยตัวแทนจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (...) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรมบัญชีกลาง และองค์กรอื่นๆ อีกเพียบ

แต่ทว่ากลไกนี้ถูกทิ้งร้างหยากไย่เกาะ ไร้การเรียกประชุมมานานข้ามปี จนไม่รู้ว่ายังมีโปรเจ็กต์ โครงการความร่วมมือการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ที่วางรูปแบบและแถลงกันสวยหรูนั้นยังหลงเหลือให้ขับเคลื่อนอีกหรือไม่

แต่เอาเถอะอย่างน้อยสิ่งที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ฝากผลงานผ่าน คตช. ตราไว้ในแผ่นดินคือข้อตกลงคุณธรรมแทบจะถูกแทรกซึมและบัญญัติอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศครอบคลุม อย่างเช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2550 แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ

 

ข้อตกลงคุณธรรม  ที่เริ่มจะไม่มีใครทำ

 

รวมทั้งยังล็อกไว้ด้วยมติครม. 3 กุมภาพันธ์ 2558 อีกชั้น ให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดให้มีการลงนามร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่าง 1. หน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้าง 2. ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมการเสนอราคา และ 3. ผู้สังเกตการณ์ (Observer)

โดยผู้สังเกตการณ์คัดเลือกมาจากสมาคมวิชาชีพ เช่น สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และมีความรู้ความสามารถในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่หน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการต้องเปิดเผยข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ตลอดเวลา ในทุกขั้นตอน หากพบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผมมีโอกาสได้คุยกับองค์กรที่เข้าไปร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม บ่นตรงกันว่าบางโครงการ อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไปร่วมหลังจากหน่วยงานเจ้าของโครงการทำทีโออาร์โครงการเสร็จแล้ว บางโครงการอนุญาตให้เข้าไปร่วมช่วงใกล้ๆ ประมูลแล้ว กล่าวคือถูกปิดกั้น การเข้าถึงข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการร่างทีโออาร์ด้วยซํ้า

เสียงของผู้สังเกตการณ์เหล่านั้น อาจจะไม่กล้าส่งเสียงแบบเปิดเผยตัวต่อสาธารณะ เพราะไม่อยากเปิดศึกกับหน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่ที่เข้าไปประมูลงานเม็ดเงินมหาศาล แต่เอาเป็นว่าถ้ารัฐบาลยังให้ค่ากับกลไกข้อตกลงคุณธรรมนี้ต่อไป ก็ลองขันน็อตที่หลวมให้แน่นอีกสักรอบจะเป็นไร

ดีกว่าให้เป็นแค่ตัวหนังสือที่อ่านแล้วดูเท่ในการจัดซื้อจัดจ้าง

อินไซด์สนามข่าว โดย จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3484 วันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2562

ข้อตกลงคุณธรรม  ที่เริ่มจะไม่มีใครทำ