นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

27 มิ.ย. 2562 | 05:05 น.

นักวิจัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ธัญบุรี โชว์งานวิจัยล่าสุด ”แนวคิดบ้านอัจฉริยะแบบใหม่” (New Smart Home Concept) หรือ “บ้านปราชญ์เปรื่องด้วยปัญญาประดิษฐ์”  

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ นักวิจัยเจ้าของผลงานบ้านปราชญ์เปรื่อง ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เปิดเผยถึงงานวิจัยชิ้นล่าสุด ‘บ้านปราชญ์เปรื่องด้วยปัญญาประดิษฐ์' หรือ "แนวคิดบ้านอัจฉริยะแบบใหม่” (New Smart Home Concept) ผลงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับทุนวิจัยจากโครงการขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในหัวข้อวิจัยเรื่อง “บ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 ปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย”

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

‘บ้านปราชญ์เปรื่องด้วยปัญญาประดิษฐ์' คือ การสร้างตัวบ้านให้เป็นอัจฉริยะ มีกระบวนการคิดและประมวลผลคำสั่งภายในตู้รวมไฟฟ้าก่อนการส่งคำสั่งไปดำเนินการด้วยปัญญาประดิษฐ์ เป็นการนำตู้รวมไฟฟ้าสมองกลอัจฉริยะที่เคยพัฒนามาระดับหนึ่งมาต่อยอดทำเป็นสมองหรือ CPU หลักของบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิด 1. ความปลอดภัย 2. ความสะดวกสบาย และ 3. การควบคุมสั่งการได้ด้วยไอคอนสัญลักษณ์ โดยบ้านปราชญ์เปรื่องด้วยปัญญาประดิษฐ์ คือ การทำให้ความเป็นอัจฉริยะของบ้านเกิดขึ้นในมุมมองของไฟฟ้ากำลัง คือ จับที่ตัวคลื่นไฟฟ้าโดยตรง การควบคุม ป้องกัน และจัดการไฟฟ้านั้น กระทำร่วมกับการอ่านข้อมูลที่ปรากฎในคลื่นไฟฟ้าที่จ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า ที่จะทำให้รู้ข้อมูลทุกอย่างด้านไฟฟ้า และการมีอยู่ในวงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ทำให้การจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างปลอดภัยเหนือกว่าบ้านอัจฉริยะ และสิ่งนี้คือการทำให้สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศมาบรรจบกัน (Electrical and ICT Convergence) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับโทรศัพท์บ้านที่มาสู่โทรศัพท์มือถือ 

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

การเปลี่ยนบ้านให้ปราชญ์เปรื่องและคิดได้เอง จะยุติการสั่งการที่ไม่ปลอดภัย แจ้งเตือน ดำเนินการทำงานตามคำสั่งที่ปลอดภัย และแสดงผลลัพธ์แบบที่เรียกว่าบ้านปราชญ์เปรื่อง เป็นการจัดการไฟฟ้าภายในบ้านด้วยสมองกล ฝังในบ้านที่ปลอดภัย ในขณะที่สร้างความสะดวกสบายและไม่สูญเสียการควบคุมแบบเดียวกับระบบบ้านอัจฉริยะ นั่นคือการทำทุกอย่างที่บ้านอัจฉริยะทำได้ แต่บ้านอัจฉริยะทำทุกอย่างที่เราทำไม่ได้ การที่ใช้คำว่า ปราชญ์ เจตนาเพราะการควบคุมสั่งการทางไฟฟ้าเกิดจากองค์ความรู้ในสมองของบ้าน นั่นเอง

ส่วน Google และกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีด้านบ้านอัจฉริยะหลายราย ทำในส่วนของการจัดการไฟฟ้า คือ การพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่ควบคุมสั่งการผ่านศูนย์อัจฉริยะ หรือ HUB และสั่งการปิดเปิดทางอ้อมผ่านสายข้อมูล หรือ Data Channel เพื่อไปสั่งเปิดปิดสวิทช์ไฟฟ้าแต่ละตัว โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ไปแตะในการตรวจสอบดูลักษณะรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าโดยตรง เป็นเพียงการนำข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่อ่านผ่านมิเตอร์มาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการประหยัดไฟฟ้าและการควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ ซึ่งหากสายข้อมูลผิดปกติส่งคำสั่งผิดก็จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ไฟฟ้า โดยระบบอัจฉริยะไม่รู้ถึงอันตรายนั้น หากพิจารณาการพัฒนาด้านดิจิตอลของผู้นำอย่าง Google กับบ้านอัจฉริยะในแง่ของความปลอดภัยทางไฟฟ้านั้น ยังขาดการวิเคราะห์เชิง Data Analytic ของคลื่นไฟฟ้า อันเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ไฟฟ้า

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

การออกแบบระบบปฏิบัติการบนตู้รวมไฟฟ้าที่เป็นสมองของบ้าน ทำให้สามารถเพิ่มเติมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยไม่กระทบต่อการใช้งาน Application บนเครื่องมือสื่อสารของผู้ใช้ไฟฟ้า แต่อย่างใด เนื่องจาก Application จะสั่งการผ่าน Management Layer และอุปกรณ์ที่ต่อเพิ่มเข้ามาในระบบไฟฟ้าจะเชื่อมต่อถึงกันในชั้น Device Connectivity Layer โดยมี  Device Functionality Layer ที่จะส่งการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบในรูปแบบของ Roles ให้กับ Application โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง Protocol หรือต่างระบบเนื่องจากตราสินค้า เช่น Role ที่มีชื่อว่าสวิตช์ไฟ ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์แบบไหนจากยี่ห้อสินค้าชนิดใด ก็จะมีการทำงานอยู่ 2 อย่างคือ ปิด เปิด เมื่อมีการสั่งการจาก Application เปิดไฟ Role ก็จะส่งคำสั่งไปที่ Port ที่ Role สวิตช์ไฟนั้นกำหนดไว้ เป็นต้น

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

แม้ Google Home Hub จะทำได้คล้ายๆ กัน แต่การส่งข้อมูลไปทุกคำสั่งต้องส่งผ่าน Data Channel โดยไม่สนใจสภาพของระบบไฟฟ้าว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ในขณะที่ตู้รวมไฟฟ้าของบ้านปราชญ์เปรื่องจะสั่งการโดยตรงไปยังอุปกรณ์ที่ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะหรืออุปกรณ์รุ่นเก่าได้ หรือจะส่งผ่าน Data Channel ก็ได้ และจะดำเนินการตามคำสั่งก็ต่อเมื่อสภาพของระบบไฟฟ้าปลอดภัย และหากมีอะไรไม่ปกติ ก็จะทำการสั่งตัดการจ่ายไฟฟ้าทันที ในแง่ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่สั่งการผ่าน Application ก็จะมองว่าบ้านปราชญ์เปรื่องกับบ้านอัจฉริยะเหมือนกันในแง่ของผลลัพธ์การสั่งการ แต่สำหรับการประมวลผลและการจัดการภายในระบบนั้นต่างกัน เพราะในระบบบ้านปราชญ์เปรื่อง บ้านช่วยเราคิดก่อนตัดสินใจ 

นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'

“ในฐานะเราคือหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านการทำการวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ในวันนี้เราจึงได้ร่วมมือทำงานกับทีมวิจัยสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาให้คำปรึกษากับภาคเอกชนในการผลักดันแนวคิดบ้านปราชญ์เปรื่องสู่พาณิชย์นี้ เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้พัฒนาบ้านอัจฉริยะทั่วไป” รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ กล่าว


นักวิจัยไทยท้าชน Google โชว์ผลงาน 'บ้านปราชญ์เปรื่องด้วย AI'