การค้าโลกฉุด MPI พฤษภาคม 62 หดตัว 3.99%

25 มิ.ย. 2562 | 06:39 น.

สศอ. แจงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 62 หดตัวลง 3.99% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ชี้ได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

การค้าโลกฉุด MPI พฤษภาคม 62 หดตัว 3.99%

นายณัฐพล  รังสิตพล  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  เปิดเผยถึงดัชนีอุตสาหกรรม (PMI) เดือนพฤษภาคมปี 2562 ว่า ตัว หดตัวลง 3.99% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ย. 2561 ที่เป็นปัจจัยภายนอก  ซึ่งมูลค่าการส่งออกโลกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง เมษายน 2562 หดตัว 1.01% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ MPI ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงพฤษภาคม 2562 หดตัว 0.63% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมหดตัวลง 3.99% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.63% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน

ทั้งนี้  อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนี MPI เดือนพฤษภาคม 2562 ได้แก่ ปุ๋ยเคมี รถยนต์ และเครื่องยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องประดับแท้ และ Hard Disk Drive สาเหตุหลักมาจากความต้องการบริโภคภายในประเทศและคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง

ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดในประเทศเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและการเร่งทำตลาดของผู้ผลิตโดยเฉพาะชนิดอินเวอร์เตอร์ และตลาดส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซียและญี่ปุ่น รวมถึงอินเดียที่เป็นลูกค้าใหม่ ,น้ำมันปาล์ม  ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.91% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบ  ที่ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การค้าโลกฉุด MPI พฤษภาคม 62 หดตัว 3.99%

,เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และน้ำดื่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  จากน้ำอัดลม  น้ำดื่มให้พลังงาน  และน้ำดื่มบริสุทธิ์ ได้อานิสงส์จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมถึงผู้ผลิตออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงการขยายตลาดในประเทศจีน  และเวียดนาม  โดยเบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การปรับเปลี่ยนรูปแบบและขนาดบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่ลดลง รวมถึงการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ที่ขยายตัว

,เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  จากผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนที่กลับมาผลิตปกติหลังจากผู้ผลิตหยุดผลิตชั่วคราว และผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย ได้มีการเร่งผลิตชดเชยการหยุดซ่อมบำรุงในเดือนก่อนของผู้ผลิต

การค้าโลกฉุด MPI พฤษภาคม 62 หดตัว 3.99%

                นายณัฐพล  กล่าวต่อไปอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตเดือนมิถุนายน 2562 ประกอบด้วย การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจากการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯที่มีต่อจีนโดยยังคงเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง  และติดตามอย่างใกล้ชิด  รวมถึงมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบหักทองเดือนพฤษภาคมติดลบ 2.3% ติดลบเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน  อาจส่งผลต่อ MPI ในช่วงเวลาข้างหน้า