งบพุ่งเกือบ4,000 ล้าน เลือก 2 รูปแบบปรับแนวรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต

20 มิ.ย. 2562 | 05:47 น.

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตสรุปงบพุ่งเกือบ 4 พันล้านบาทเตรียมชงครม.เคาะเปิดประมูลล่าสุดคมนาคมเลือก 2 จุดปรับแบบแนวเส้นทางหลังเจรจากรมทางหลวงได้ข้อยุติพร้อมเร่งแนบเรื่องเสนอขออีไอเอก่อนชงร่วมลงทุนพีพีพีเสนอรัฐบาลชุดใหม่

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยภายหลังกระทรวงคมนาคมได้ประชุมสรุปแนวทางการแก้ปัญหาแผนพัฒนารถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตระหว่างรฟม.และกรมทางหลวง(ทล.)เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยมีนายไพรินทร์ชูโชติถาวรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นประธานการประชุมว่ามติที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าแนวทางการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจ.ภูเก็ตช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงินลงทุน 3.9 หมื่นล้านบาทในการปรับแก้ไขแบบ 2 จุดคือ1.แยกบางคูจะเลือกใช้วิธีสร้างอุโมงค์ทางลอดสำหรับรถไฟฟ้าช่วงขาเข้าเมืองด้านเดียวระยะทางประมาณ2 กม.  ขณะที่ขาออกเมืองจะวิ่งระดับดินแบบแชร์เลนร่วมกับรถประเภทอื่นๆทั้งนี้มูลเหตุที่ต้องสร้างอุโมงค์ทางลอดขาเข้าเพียงอย่างเดียวนั้นเนื่องจากแยกบางคูปัจจุบันมีอุโมงค์ทางลอดสำหรับรถยนต์รองรับไว้แล้ว 

 

ในส่วนแนวทางที่  2 ช่วงแยกสนามบินจะใช้วิธีสร้างทางยกระดับสำหรับแทรมประมาณ1 กม. เพื่อเลี้ยวข้ามแยกในการหลีกเลี่ยงบริเวณจราจรบริเวณแยกสนามบินจากนั้นรถไฟฟ้าจะวิ่งระดับดินเข้าสู่สนามบินไม่ใช่รูปแบบเป็นทางยกระดับต่อเชื่อมสนามบินเพื่อประหยัดงบประมาณ

งบพุ่งเกือบ4,000 ล้าน เลือก 2 รูปแบบปรับแนวรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต

“การปรับแบบโครงการในครั้งนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายวงเงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากวงเงินลงทุนเดิมประมาณ10% หรือคิดเป็น 3.9 พันล้านบาทหลังจากนี้รฟม.จะเสนอข้อสรุปดังกล่าวเพื่อแนบเรื่องเสนอต่อการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ต่อไปหากได้รับอนุมัติแล้วจะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เปิดประมูลหาเอกชนร่วมบลงทุนคาดว่าใช้เวลาสร้าง2-3 ปีแล้วเสร็จอย่างไรก็ตามจากปัญหาสรุปแบบไม่ได้ข้อยุติจะทำให้กระทบแผนการก่อสร้างไว้หรือไม่นั้นยืนยันว่าจะไม่กระทบเพราะผู้ก่อสร้างสามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จทันตามแผนได้ในช่วงการก่อสร้างดังกล่าว”

 

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งกล่าวว่าหลังจากนี้บริษัทที่ปรึกษาจะต้องไปปรับแบบและออกแบบจุดทั้งหมดที่มีปัญหาหลังจากที่ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วในการประชุมครั้งนี้คาดว่าจะเสนอรูปแบบที่แก้ไขใหม่ให้รัฐบาลชุดใหม่ภายในปลายปี2562 นี้แต่ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดออกแบบขณะเดียวกันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) พิจารณาเนื่องจากมีผู้แทนกรมทางหลวง(ทล.) ได้แสดงความคิดเห็นยังไม่เห็นชอบบางรายการโดยผลประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปจะรายงานให้สผ. ทราบโดยเร็วต่อไป

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าสำหรับหลักการออกแบบนั้นจะใช้แนวเส้นทางบนถนนทางหลวง(ทล.) หมายเลข402 สายโคกกลอย–เมืองภูเก็ตหรือถนนเทพกระษัตรีซึ่งจะใช้พื้นที่เกาะกลางถนนโดยจะก่อสร้างเป็นทางระดับพื้นดินทางยกระดับและทางลอดและจะคงจำนวนช่องจราจร6 ช่องเท่ากับช่องจราจรก่อนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 

 

ขณะที่การแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกเข้าสนามบินระหว่างทล.หมายเลข402 ตัดกับทล. หมายเลข4026 (แยกเข้าสนามบินภูเก็ต) หลังทล. มีข้อคิดเห็นเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยรวมถึงมีอุโมงค์รถยนต์ด้วยจึงเสนอให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางทั้งนี้ที่ประชุมเห็นสมควรพิจารณาเลือกก่อสร้างทางตในบริเวณดังกล่าวพร้อมทั้งพิจารณาความสูงของเขตปลอดภัยบนทล.หมายเลข4031 

 

ด้านนางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตองจ.ภูเก็ตกล่าวว่าต้องการให้รฟม.เร่งดำเนินการด้านการออกพ.ร.ฎ.เวนคืนโดยเร็วเพื่อหยุดมูลค่าเพิ่มที่ดินในพื้นที่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการปรับราคาโครงการสูงไปมากกว่านี้พร้อมกับเร่งเคลียร์ปัญหาการเวนคืนทั้งพื้นที่ป่าตองและกะทู้เนื่องจากจะต้องหาแหล่งที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนในบางส่วน

งบพุ่งเกือบ4,000 ล้าน เลือก 2 รูปแบบปรับแนวรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต