นักศึกษาสจล.สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม

19 มิ.ย. 2562 | 08:14 น.

“ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร” (Ocean Killer) ผลงานชิ้นเอกที่ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์กับการปล่อยภาพ 4 ภาพแรกก่อนจะนำเสนอในนิทรรศการศิลปนิพนธ์ประจำปี2562 นี้ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร(Ocean Killer) เป็นผลงานการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในทะเลโดยเล่าเรื่องผ่านภาพทั้งหมด6 ภาพที่บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านสัตว์นักล่าอย่าง“ฉลาม” ยังต้องยอมสยบให้กับฆาตรกรไร้ชีวิตอย่าง“ขยะพาสติก”

นักศึกษาสจล.สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม

​พีรพัฒน์ประสานพานิชนักศึกษาชั้นปีที่4 สาขานิเทศศิลป์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เจ้าของผลงาน“ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร” หรือOcean Killer หนึ่งใน42 ผลงานศิลปนิพนธ์ของภาควิชานิเทศศิลป์สจล. ที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษาโดยผลงานศิลปนิพนธ์เหล่านี้ล้วนบอกเล่าเรื่องราวและแง่มุมต่างๆที่สะท้อนมุมมองของสังคมและพูดถึงหนทางสู่วันข้างหน้าที่ดีกว่าผ่านงานออกแบบสร้างสรรค์

นักศึกษาสจล.สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม

“ผมเกิดและเติบโตในพื้นที่ที่มีทะเลได้เห็นพัฒนาการของทะเลในห้วง10 – 20 ปีที่ผ่านมาความเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นแต่กลับทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วจากการใช้ประโยชน์อย่างไม่ระมัดระวังและไม่ได้คิดถึงอนาคตสู่การเริ่มต้นการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านภาพเพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความรุนแรงจากขยะที่มีต่อท้องทะเล”

นักศึกษาสจล.สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม

​ทะเลไทยถูกจัดอันดับให้เป็นทะเลที่มีขยะมากที่สุดในโลกอันดับที่6 จากตัวเลขของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยขยะที่พบมากที่สุดในทะเลไทยคือถุงพลาสติก18% แก้วหรือขวดพลาสติก17% โฟมหรือภาชนะใส่อาหาร9% หลอด7% เศษเชือกหรือเศษอวน5% และกระป๋องน้ำ4% ซึ่งที่มาของขยะกว่า80% มาจากแหล่งทิ้งขยะบนฝั่งบริเวณท่าเรือหรือชุมชนริมทะเลรวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเลนิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษาจะพาไปเปิดความหมาย3 ภาพหยุดความรู้สึกกับความเจ็บปวดของสัตว์ทะเลจากฆาตกรแห่งห้วงสมุทร

​มัจจุราชพลาสติก“ฉลาม” สัตว์ที่ถูกยกให้เป็นนักล่าแห่งท้องทะเลถูกนำมาประกอบในภาพนิทรรศการในครั้งนี้โดยบอกเล่าผ่านความเจ็บปวดของนักล่าที่ถูกคุกคามจากฆาตกรไร้วิญญาณอย่างขวดน้ำหรือแก้วน้ำพาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลจากพฤติกรรมมักง่ายของมนุษย์ซึ่งขวดน้ำพาสติกเหล่านี้ต้องการเวลาสำหรับย่อยสลายตัวเองยาวนานถึง450 ปีหรือกว่า4 เท่าของชีวิตคนหนึ่งคนและสัตว์ทะเลมักเข้าใจผิดว่าขยะเป็นอาหารของพวกเขาแต่แท้จริงแล้วคือมัจจุราชที่จะมาปิดชีวิตไปตลอดกาล

นักศึกษาสจล.สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม

​หญ้าทะเลไร้ชีวิตหลอดกับเต่าทะเลถูกรณรงค์คู่กันมาเป็นระยะเวลายาวนานผ่านทั้งภาพเสียงวิดีโอเรื่องเล่าฯลฯถึงมหันตภัยที่มักจะกลืนกินชีวิตจากแสนยาวนานของเต่าทะเลให้สั้นลงชั่วข้ามคืนข่าวความสูญเสียของเต่ากับหลอดเราพบเห็นได้ตลอดเวลาแม้ปัจจุบันจะมีการรณรงค์อย่างจริงจังในการห้ามการใช้หลอดพาสติกบริเวณริมทะเลและชายหาดภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าความยากลำบากในการใช้ชีวิตของเต่าทะเลที่สุดท้ายหลอดกับหญ้าทะเลเต่าเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกได้แล้วมนุษย์อย่างเราจะหยิบยื่นหลอดให้เต่ากินได้ลงคอหรือ

 

​โซ่ตรวนตัดชีวิตจากการสำรวจพบว่า“แมวน้ำ” เสียชีวิตจากเศษซากอวนและเชือกจากการทำประมงของมนุษย์สูงที่สุดภาพนี้ถูกสื่อสารให้เห็นถึงความรุนแรงที่สัตว์เหล่านี้ถูกกระทำจากการใช้ชีวิตปกติของพวกเขาความรุนแรงเหล่านี้มาจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของมนุษย์แต่ได้ทำลายชีวิตของสัตว์ไปนับไม่ถ้วนภาพเหล่านี้จึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวดจากฆาตกรเลือดเย็นแทนสัตว์ทะเลเหล่านี้

 

​ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.อันธิกาสวัสดิ์ศรีคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สจล. ได้ออกแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงในสิ่งที่แต่ละบุคคลสนใจและความถนัดที่แตกต่างกันสิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงความสามารถและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาสร้างประโยชน์สู่สังคมโลกการถ่ายทอดข้อความใดๆก็ตามสักหนึ่งข้อความไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การเขียนหรือการเล่าแบบออกเสียง“ภาพ” ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายเช่นเดียวกันหัวใจหลักของการออกแบบสารหรือข้อความเพื่อสื่อสารกับสังคมนั้นคือการออกแบบให้เข้าถึงและกุมความรู้สึกของผู้รับสารภาพเหล่านี้ถูกนำเสนอแทนเสียงร้องของสัตว์ทะเลต่อการคุกคามและหยิบยื่นความแต่แก่พวกเขาโดยมนุษย์ผู้ไร้ความรับผิดชอบ

 

​สจล. ต้องการสร้างบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบไม่เพียงแค่การมีวิชาความรู้ติดตัวไปสู่โลกแห่งการทำงานแต่นิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่4 คณะสถาปัตย์พระจอมเกล้าฯลาดกระบังได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าตลอด4 ปีที่ผ่านมาสถาบันฯได้หล่อหลอมให้พวกเขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและมนุษยชาติตั้งคำถามและออกแบบสร้างสรรค์สังคมตามความถนัดของพวกเขาคิดค้นและพัฒนาสิ่งต่างๆรอบตัวและใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาช่วยแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของการเป็นสถาบันฯรากฐานนวัตกรรมเพื่อสังคมจากฝีมือคนไทยผศ.ดร.อันธิกากล่าวทิ้งท้าย