อัตราเคลมจ่อเพิ่มทั้งระบบ สวนกระแสเบี้ยหดตัว

18 มิ.ย. 2562 | 08:05 น.

MSIG ชี้ ธุรกิจประกันวินาศภัยเตรียมตัวรับ Loss Ratio ทยอยเพิ่มขึ้นสวนกระแสเบี้ยที่ลดลง เหตุ ค่าใช้จ่ายเร่งตัว ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถกดดันบริษัทจ่ายเพิ่ม ดันอัตราเคมไตรมาสที่ 1 เพิ่มอยู่ที่ 62% จากปีก่อนอยู่ที่ 57% ลั่นปีนี้รักษาพอร์ตรถยนต์อยู่ที่ 50%

               นายคงพรรณ คงพินิจ Vice President Motor Claims บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป้าหมายธุรกิจปี 2562 บริษัทพยายามรักษาพอร์ตธุรกิจรถยนต์ (Motor) ให้อยู่ในระดับ 50% ของพอร์ตรวม จากปัจจุบันอยู่ที่ 51% และที่อีก 49% จะเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่รถยนต์ (Non Motor) รวมถึงตั้งเป้ากำไรที่ได้จากธุรกิจรับประกันภัย โดยปัจจุบันมีฐานมีลูกค้ากว่า 1 แสนกรมธรรม์ เบี้ยกว่า 2,000 ล้านบาท และอัตราการต่ออายุกรมธรรม์อยู่ที่ราว 70%

อัตราเคลมจ่อเพิ่มทั้งระบบ สวนกระแสเบี้ยหดตัว

ขณะที่ภาพรวมธุรกิจวินาศภัยในปี 2562 จะเห็นว่าบริษัทประกันภัยต้องยอมรับอัตราความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเคลมประกันสูงขึ้น ซึ่งสวนกระแสกับเบี้ยรับประกันที่ยังอยู่ในระดับเดิมและมีทิศทางปรับลดลง เช่น บาดเจ็บ-เสียชีวิต เดิมอัตราการจ่ายสินไหมจะอยู่ที่ 3-8 หมื่นบาทต่อราย ปัจจุบันขั้นต่ำอยู่ที่ 6 แสนบาทต่อราย รวมถึงลูกค้าเริ่มมีความรู้ความสามารถที่จะร้องเรียนมากขึ้นผ่านกระแสโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้การจ่ายเคลมสูงขึ้น กระทบต่อ Loss Ratio ที่จะปรับสูงขึ้น

ทั้งนี้ อัตราความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ของบริษัทไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 62% ปรับขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ 57% ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ แม้ว่าบริษัทจะจ่ายอยู่แล้ว แต่จากไม่มีขั้นต่ำและจำนวนวันในการกำหนด ทำให้บริษัทจ่ายค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้น จากเดิมเคยจ่ายอยู่ที่เฉลี่ย 200-300 บาทต่อวัน ปัจจุบันเริ่มเห็นอยู่ที่ 500-700 บาทต่อวัน และจำนวนวันที่เรียกร้องเริ่มเพิ่มเป็น 10-15 วัน แม้ว่าอู่ซ่อมรถจะประเมิน 4-5 วันก็ตาม ทำให้ Loss Of Use เพิ่มขึ้น โดยในปี 2561 เฉลี่ยจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์อยู่ที่ 20 ล้านบาท ปีนี้แนวโน้มน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ Loss Ratio ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก เนื่องจากบริษัทเจอเคสอุบัติเหตุใหญ่ๆ 3-4 เคส

               “เราไม่ได้เน้นเรื่องการเติบโตเบี้ยอย่างเดียว แต่เราเน้นเรื่องการบริการและกำไรจะต้องไปด้วยกัน เราได้ดึง NPS ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะบอกแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจได้ และยังช่วยลดข้อร้องเรียนเฉลี่ยปีละ 21% ได้ด้วย

อัตราเคลมจ่อเพิ่มทั้งระบบ สวนกระแสเบี้ยหดตัว