สนข.เล็งชงนำร่อง 2 เส้นทาง อัพเกรดทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์

15 มิ.ย. 2562 | 06:27 น.

สนข.ไฟเขียวร่างศึกษาอัพเกรดถนนเส้นทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์หลังพบช่วยลดงบลงทุน-ลดผลกระทบการเวนคืน เล็งนำร่อง 2 เส้นทาง “สาย M71 ตอน 1 (กรุงเทพฯ-สระแก้ว) และสาย M5 ตอน 3 (นครสวรรค์-พิษณุโลก)” รวมวงเงินลงทุนกว่า 1.57 แสนล้านเดินหน้าเปิดรับฟังความเห็น 17 มิ.ย.นี้ก่อนเสนอรัฐบาลเร่งผลักดัน

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่าในการประชุมพิจารณาร่างรายงานฉบับสมบูรณ์(Draft Final Report) การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางหลวงสายหลักเดิมให้สามารถรองรับการขนส่งรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ดังกล่าว 

สนข.เล็งชงนำร่อง 2 เส้นทาง อัพเกรดทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ที่ปรึกษารับประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับปรุงในรายงานฉบับต่อไปก่อนที่จะนำร่างดังกล่าวเสนอกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เพื่อนำผลการศึกษาไปประกอบในการอนุมัติโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

 

“ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับเส้นบางปะอิน-นครสวรรค์ของกรมทางหลวงที่มีแผนเร่งประมูลในเร็วๆนี้แต่เป็นเส้นทางขยายต่อไปนอกจากนั้นในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ยังจัดเวทีรับฟังความเห็นโครงการดังกล่าววัตถุประสงค์เมื่อได้ข้อสรุปคอนเซ็ปต์ชัดเจนแล้วจะได้นำส่งกระทรวงคมนาคมเพื่อมอบให้กรมทางหลวงนำไปดำเนินการปรับในรายละเอียดโครงการต่างๆต่อไป

 

นายชยธรรม์กล่าวต่อว่าสำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯดังกล่าวถือเป็นการสนับสนุนแผนงานของโครงการตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวงพิจารณาการใช้พื้นที่ของเส้นทางหลวงสายหลักเดิมที่มีอยู่แล้วและมีแนวเส้นทางอยู่ใกล้เคียงกับแนวเส้นทางของแผนแม่บทของกรมทางหลวงและมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อลดต้นทุนของโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

 

ทั้งนี้จากการศึกษาความเหมาะสมโครงการและออกแบบเบื้องต้นของโครงการนำร่องจำนวน2 โครงการได้แก่1.สายM71 ตอน1 (กรุงเทพฯ-สระแก้ว) โดยจะใช้ทางหลวงหมายเลข 304 และหมายเลข 359 ระยะทาง 156 กม. วงเงินลงทุน 9.3 หมื่นล้านบาท และ2.สายM5 ตอน3 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) โดยจะใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ระยะทาง 110 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 6.4 หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นแนวเส้นทางที่กรมทางหลวงมีแผนดำเนินการไว้แล้วต่อเนื่องจากเส้นบางปะอิน-นครสวรรค์จึงต้องมาศึกษาว่ามีความเป็นไปได้อย่างไร

สนข.เล็งชงนำร่อง 2 เส้นทาง อัพเกรดทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์

“ตามความคิดของสำนักงบประมาณตามแผนที่กรมทางหลวงเสนอไปนั้นงบปรมาณภาครัฐคงมีไม่เพียงพอจึงหาวิธีที่จะปรับลดราคาลงได้ซึ่งสนข.ลงมาช่วยดูเนื่องจากเป็นหน่วยงานกลางว่าคอนเซปต์จะเป็นอย่างไรได้บ้างหากจะปรับลดราคาลงแล้วได้ผลประโยชน์เหมือนเดิมจึงสแกนเส้นทางหลวงทั้งหมดว่าเส้นทางใดจะสามารถนำไปดำเนินการได้บ้างต้องการทำให้เห็นว่าสามารถปรับลดงบลงทุนของโครงการลงได้จริงหรือไม่จึงต้องดำเนินการศึกษาออกแบบแล้วเปรียบเทียบกันโดยเฉพาะต้นทุนค่าเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างรวมทั้งเป็นการลดผลกระทบให้กับประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเวนคืนที่ดินซึ่งในภาพรวมคาดว่าจะสามารถลดงบลงทุนของโครงการตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองลงได้ไม่มากก็น้อย”

สนข.เล็งชงนำร่อง 2 เส้นทาง อัพเกรดทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ในส่วนของรายงานฉบับกลางการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางหลวงสายหลักเดิมให้สามารถรองรับการขนส่งรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองผลการศึกษาเบื้องต้นที่ปรึกษาได้เสนอแนวเส้นทางที่ทดแทนสร้างเป็นมอเตอร์เวย์ได้แล้วจำนวน 17 เส้นทางระยะทางรวม 2,795 กม.จา56 สายทางของกรมทางหลวงที่มีแผนสร้างมอเตอร์เวย์คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนก่อสร้างลงประมาณ 10% หรือประมาณ82,898 ล้านบาทจากแผนแม่บท20 ปี(2560-2579) ของโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์จำนวน21 เส้นทาง ระยะทาง 6,422 กม. วงเงิน2.14 ล้านล้านบาท

สนข.เล็งชงนำร่อง 2 เส้นทาง อัพเกรดทางหลวงเป็นมอเตอร์เวย์